งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ฐิติกร บัวใหญ่ และ | ปีที่พิมพ์ 0 | อ่าน 89087 ครั้ง ดาวน์โหลด 20 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้สารสกัดไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี
ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล
Comparison of Chemical Fertilizer and Chitosan Efficiency
On Growth and Yield of Apples Cantaloupe
โดย นายฐิติกร บัวใหญ่
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้สารสกัด
ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล และ เพื่อหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ล โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 38 ต้น ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ชุดควบคุม ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 และสูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการปลูกแคนตาลูปพันธุ์แอปเปิ้ลได้ เนื่องจากมีแนวโน้มน้ำหนักเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย และเส้นผ่าศูนย์กลางผลเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 65.95 กรัม 1149.7 กรัม และ 4.46 เซนติเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับ
ไคโตซาน (อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) ทำให้มีความยาวเถาเฉลี่ย จำนวนดอกที่ติดผลเฉลี่ยมากที่สุดคือ 80.38 เซนติเมตร และ 23.83 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) มีแนวโน้มให้น้ำหนักเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย จำนวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย เส้นผ่าศูนย์กลางผลเฉลี่ยต่ำที่สุด และให้ผลผลิตตกเกรดมากที่สุด เท่ากับ 53.79 กรัม 603.7 กรัม 14.91 เปอร์เซ็นต์ 2.70 เซนติเมตร และ 13.73 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ผู้วิจัย สุภาพร ขจรเพ็ชร และ ใหญ่ ละม่อม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89608 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะการบรรจุชาใบย่านางที่เหมาะสมและสามารถชะลอการสูญเสียคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ในชาใบย่านางระหว่างการเก็บรักษาและการยอมรับของผู้บริโภคต่อชาใบย่านางสภาวะการบรรจุแบบต่างๆ โดยศึกษาปัจจัยสภาวะการบรรจุชาใบย่านางแบบที่มีตัวดูดซับออกชิเจนและแบบไม่มีตัวดูดซับออกชิเจนเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 40 และ 50 องศาเซลเซียสนาน 6 สัปดาห์ทำการวิเคราะห์ค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณความชื้น ค่าสี L* a* b* และการประเมินการยอมรับของผู้บริโภคผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระได้แก่ ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษาและระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกได้แก่ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษา oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษาปัจจัยที่มีผลต่อความชื้นได้แก่ ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษา oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อค่าสี L* ได้แก่ ชนิดของถุง oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อค่าสี a* ได้แก่ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษา oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อค่าสี b* ได้แก่ชนิดของถุง อุณหภูมิการเก็บรักษา oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา ปัจจัยที่มีผลต่อความชอบโดยรวมได้แก่ oxygen absorber และระยะเวลาการเก็บรักษา นอกจากนี้การเก็บรักษาชาใบย่านางที่ 6 สัปดาห์มีสภาวะการบรรจุชาใบย่านางที่บรรจุด้วยถุง PE 40°C (Y) และถุง PE 50°C (Y) เป็นสภาวะการบรรจุที่เหมาะสมสำหรับการเก็บรักษาชาใบย่านางมากกว่าถุงที่บรรจุแบบชนิดอื่นๆ โดยมีความชื้นถึง 7% ในสัปดาห์ที่ 6 และมีอายุการเก็บรักษาได้นานถึง 6 สัปดาห์ที่อุณหภูมิห้อง 25°C ซึ่งมีค่ากิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 88.62 % การยับยั้งและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 8.46 และ 8.98 มิลลิกรัมสมมูลย์กรดแกลลิค/กรัมน้ำหนักแห้ง ค่าสี a* ของชาใบย่านางที่บรรจุด้วยถุง PE 40°C (Y) และถุง PE 50°C (Y) มีค่าเท่ากับ 1.44 และ 1.62 ตามลำดับและการยอมรับของผู้บริโภคต่อชาใบย่านางที่สภาวะการบรรจุแบบที่มีตัวดูดซับออกชิเจนที่ดีที่สุดบรรจุด้วยถุง PE 40°C (Y) และถุง PE 50°C (Y) มีค่าเท่ากับ 7.30 และ 7.23 ตามลำดับ
ผู้วิจัย ชฤทธิ์เดช แก่นจาปา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88888 ครั้ง ดาวน์โหลด 56 ครั้ง
ทดลองปลูกสลัดแก้วเพื่อศึกษาผลของการพรางแสงและสีตาข่ายพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสลัดแก้ว ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2556 –มกราคม 2557 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 กลุ่มทดลองคือ ไม่คลุมตาข่ายพรางแสง คลุมตาข่ายพรางแสงสีดา 50% คลุมตาข่ายพรางแสงดา 60% คลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% และคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60% ผลการทดลองพบว่า ผักสลัดแก้วที่ปลูกโดยไม่คลุมตาข่ายพรางแสงให้ น้าหนักสดเฉลี่ยของผลผลิตรวมมากที่สุดคือ 41.33 กรัม ส่วนการปลูกสลัดแก้วโดยคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% มีแนวโน้มจะให้ความกว้างของทรงพุ่มและความสูงมากที่สุดเท่ากับ 21.67และ 27.50 เซนติเมตร ตามลาดับ รองลงมาคือตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60%
ผู้วิจัย อุบล พุ่มจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90241 ครั้ง ดาวน์โหลด 190 ครั้ง
ศึกษาอิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีผลต่อการขยายพันธุ์ม่วงเทพรัตน์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 7 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 14 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 5 ซ้ำ ๆ ละ 1 ขวด ผลการทดลองพบว่า เมื่อนำชิ้นส่วนตายอดและตาข้างของม่วงเทพรัตน์มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0, 0.5, 1, 1.5, 2, 2.5 และ 3 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็นเวลา
4 สัปดาห์ (28 วัน) ชิ้นส่วนและสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงม่วงเทพรัตน์และพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ คือ ชิ้นส่วนตาข้างที่ไม่เติม BA มีจำนวนยอดใหม่มากที่สุด
(5.20 ยอด/ชิ้นส่วน) และมีการพัฒนาของต้นกล้าอย่างรวดเร็ว มีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า
มากที่สุด (2.48 เซนติเมตร) และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงที่สุด (100%) รองลงมาได้แก่
การใช้ชิ้นส่วนตายอดร่วมกับ BA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีการแตกยอดและเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตปานกลาง ได้แก่ 3.60 ยอด/ชิ้นส่วนและ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ