งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ชฤทธิ์เดช แก่นจาปา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88880 ครั้ง ดาวน์โหลด 56 ครั้ง
ทดลองปลูกสลัดแก้วเพื่อศึกษาผลของการพรางแสงและสีตาข่ายพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสลัดแก้ว ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2556 –มกราคม 2557 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 กลุ่มทดลองคือ ไม่คลุมตาข่ายพรางแสง คลุมตาข่ายพรางแสงสีดา 50% คลุมตาข่ายพรางแสงดา 60% คลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% และคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60% ผลการทดลองพบว่า ผักสลัดแก้วที่ปลูกโดยไม่คลุมตาข่ายพรางแสงให้ น้าหนักสดเฉลี่ยของผลผลิตรวมมากที่สุดคือ 41.33 กรัม ส่วนการปลูกสลัดแก้วโดยคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% มีแนวโน้มจะให้ความกว้างของทรงพุ่มและความสูงมากที่สุดเท่ากับ 21.67และ 27.50 เซนติเมตร ตามลาดับ รองลงมาคือตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60%
ผู้วิจัย นริศรา ชาวนา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88921 ครั้ง ดาวน์โหลด 95 ครั้ง
เรื่อง ผลของไคโตซานและปุ๋ยน้ำจากแหนแดงต่อผลผลิตของผักขึ้นฉ่าย
Effect of Chitosan and Azolla Aqueous Fertilizer on
Chinese Celery Yield
โดย นางสาวนริศรา ชาวนา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลของสารไคโตซานและปุ๋ยน้ำแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของขึ้นฉ่ายโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งเป็น 4 กลุ่มทดลองๆ ละ3 ซ้ำ ได้แก่ การใช้สารไคโตซาน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรการใช้ปุ๋ยน้ำแหนแดง อัตรา 1:100 การใช้ปุ๋ยเกร็ดเคมีสูตร 25-5-5 อัตรา 50กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตรและการใช้น้ำเปล่า หลังจากเก็บข้อมูลก่อนใช้สารและหลังใช้สารทุกๆ 7 วัน พบว่าการใช้สารไคโตซาน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีน้ำหนักผลผลิตสดต่อแปลง และต่อต้น รวมถึงจำนวนต้นต่อกอเฉลี่ยมากที่สุด คือ 7.9 กิโลกรัมต่อแปลง 320 กรัมต่อต้น และ 18.4 ต้นต่อกอ ตามลำดับ ส่วนความสูงเฉลี่ยของต้น มีค่าปานกลาง คือ 20.41 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ ปุ๋ยเกร็ดเคมีตราทุ่งเศรษฐี ในขณะที่การใช้ปุ๋ยน้ำแหนแดง มีค่าปานกลางในทุกดัชนีที่ใช้วัด และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ กับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช้สาร
ผู้วิจัย ธีระศักดิ์ สุวะชัย และ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89424 ครั้ง ดาวน์โหลด 55 ครั้ง
ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ด
และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52
ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง
Effect of Seed Priming with Salicylic Acid on Seed Germination
and Seedling Growth of Waxy Corn (Zea may var. Tian-lai 52)
Under Drought Stress
โดย นายธีระศักดิ์ สุวะชัย
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ
ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง การทดลองนี้แบ่งเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1) ศึกษาความเข้มข้นของกรดซาลิไซลิกต่อการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะ ที่ความเข้มข้น 0.25 0.5 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ พบว่าเมล็ดที่แช่ใน สารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีผลทำให้เมล็ดข้าวโพดมีการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะมากที่สุด และการทดลองที่ 2).ศึกษาผลของการแช่เมล็ดใน กรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้าในสภาวะแห้งแล้ง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ 1 แช่ในนํ้ากลั่นแล้วได้รับนํ้าตามปกติ กลุ่มที่ 2.แช่นํ้ากลั่นแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง และกลุ่มที่ 3.แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง นำไปปลูกในเรือนเพาะชำ โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับนํ้าปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 ทำให้อยู่ในสภาวะแล้งโดยงดรดนํ้าเป็นเวลา 7 วัน เมื่อปลูกครบ 2 สัปดาห์ พบว่าเมล็ดที่แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกมีความยาวลำต้นและรากสด น้ำหนักสดลำต้นและราก และน้ำหนักแห้งลำต้นและรากเพิ่มขึ้น และมีอัตราส่วนรากต่อลำต้นสดเท่ากับ 0.14 จากผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเมล็ดที่ผ่านการแช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทำให้ต้นกล้าข้าวโพดมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด
ผู้วิจัย นายกรวิทย์ จันสุตะ และ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88475 ครั้ง ดาวน์โหลด 46 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มในการควบคุมมอดแป้ง
Effect of Some Citrus Peel Powder for Red Flour Beetle Control
โดย นายกรวิทย์ จันสุตะ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของผงบดจากเปลือกพืชตระกูลส้มเพื่อควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 5 กลุ่มทดลอง จำนวน 10 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัวโดยใช้ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้ม 4 ชนิดได้แก่ มะกรูด มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มโอและชุดควบคุม โดยวิธีการคลุกเมล็ด เปรียบเทียบกับชุดควบคุม ผลการทดลองพบว่า ผงบดจากเปลือกมะกรูดทำให้มอดแป้งตายมากที่สุดที่ 240 ชั่วโมง (10 วัน) คือ 63% รองลงมาได้แก่ผงบดจากเปลือกส้มเขียวหวาน ส้มโอและมะนาวมีการตายของมอดแป้งเท่ากับ 32% 25% และ 19% ในขณะที่ชุดควบคุมมีประสิทธิภาพน้อยที่สุดมีการตายของมอดแป้ง 3% ดังนั้น ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ ผงบดจากเปลือก มะกรูด ซึ่งเปอร์เซ็นต์การตายของมอดแป้งเป็นตัวชี้วัดได้ดีว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มชนิดอื่นๆ
คำสำคัญ เปลือกพืชวงศ์ส้ม ควบคุม มอดแป้ง