งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93054
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93016
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92397

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนู พันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ
ผู้วิจัย ธนาวุฒิ โคกโพธิ์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88624 ครั้ง ดาวน์โหลด 53 ครั้ง

                        ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพ

หลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ

Effect of Hot Water Dip Combined with Chitosan Coating   Subtances on Postharvest Quality of Super Hot Bird Chilli (Capsicum frutescens Linn.) in Green Stage

โดย                              นายธนาวุฒิ  โคกโพธิ์

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร. วิรญา  ครองยุติ

 

   การศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการ   เก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ โดยนำผลพริกไปจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 55°C และน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 4 นาที พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45°C นาน 4 นาที สามารถลดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด ลดการเสียหายของผลพริก และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 12 วัน และการทดลองที่ 2) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการ     เก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45°C นาน 4 นาที ร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด ลดการเสียหายของผลพริก และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ12วัน ตลอดจนมีคะแนนการยอมรับของผู้บริโภคต่อลักษณะที่ปรากฏของผลพริกขี้หนูสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างการจุ่มน้ำร้อนและการเคลือบผิวด้วยไคโตซาน สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทได้

 



ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2
ผู้วิจัย ธีระโชติ ขูลีลัง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88831 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง

ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์             ซุปเปอร์ฮอท2
                            Effect of  Wild Spikenard Bush-Tea  Extracted on Growth and Yield of                        Super-Hot 2 Bird Chilli

โดย                  นายธีระโชติ  ขูลีลัง

ชื่อปริญญา       วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา       2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ประภัสสร  น้อยทรง

 

ศึกษาผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท2ซึ่งวางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 10 กระถางพบว่าการใช้สารสกัดแมงลักคา อัตราส่วน 1:1 มีความเหมาะสมมากที่สุด ในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2 เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด มีความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ยปานกลาง แต่มีจำนวนวันออกดอกเร็ว และมีจำนวนผลผลิตเฉลี่ย และความยาวเฉลี่ยของผลพริก ในการเก็บเกี่ยวพริก ชุดที่ 1 น้ำหนักผลสดปานกลาง คือมีค่า เท่ากับ 25.83 ซม.17.85 ซม.35.11 วัน 10.33 ผล ต่อต้น 4.06 ซม.6.07 กรัม ตามลำดับ แต่ถ้าใช้ในอัตราส่วนที่มากขึ้น หรือมีความเข้มข้นของแมงลักคาเพิ่มขึ้น พบว่า การเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่การไม่พ่นสารสกัดแมงลักคา มีความสูงเฉลี่ยของต้น และความกว้างของทรงพุ่มปานกลาง คือ 23.60 ซม.และ 18.60 ซม. ตามลำดับ และมีแนวโน้มใช้เวลาในการออกดอกนานกว่ากลุ่มทดลองที่ใช้สารสกัดแมงลักคาฉีดพ่น ส่วนด้านผลผลิต การเก็บเกี่ยวชุดที่ 1 จะมีจำนวนผลผลิตน้อยที่สุด (4 ผล/ต้น) แต่หลังจากนั้น จำนวนผลผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น และมีนำหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด

(9.43 กรัม) แต่ก็ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ จากกลุ่มทดลองที่ฉีดพ่นด้วยสารสกัดแมงลักคา

 



การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม
ผู้วิจัย จันทิมา ขันแข็ง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89378 ครั้ง ดาวน์โหลด 66 ครั้ง

การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม                                                   Using Coconut Husk to Substitute Sawdust for                                                         Oyster Mushroom(Pleurotusostreatus) Production                   โดย                              นางสาวจันทิมา ขันแข็ง                                                               ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)                                              ปีการศึกษา                   2556                                                                                        อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

ศึกษาการใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาการบ่มเชื้อของเห็ดนางรม การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อน้อยที่สุดคือ 17.13 วัน รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ยคือ 19.53  21.00  23.00 และ 27.26 วัน ตามลำดับ วัสดุเพาะที่ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยเท่ากับ 47.00  44.20  33.60  22.60 และ 18.40 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% ให้จำนวนน้ำหนักเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้     ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 376.80 373.8 173.00 47.70 และ 44.60 กรัม ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมของขุยมะพร้าวในการใช้เป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อย       คือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ใช้ขุยมะพร้าว 25%  สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมได้ดีที่สุด เนื่องจากมีจำนวนดอกเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดมีระยะเวลาในการบ่มเชื้อปานกลาง (19.53 วัน)

 



ผลของการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของแตงกวาลูกผสมไมโครซี 306
ผู้วิจัย นางสาวจตุพร บุญเลิศ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88702 ครั้ง ดาวน์โหลด 53 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                 ผลของการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงกวา  ลูกผสม ไมโครซี 306

Effects of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of  Hybrid Cucumber Micro C 306

โดย                  นางสาวจตุพร  บุญเลิศ

ชื่อปริญญา         วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2558

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ประภัสสร   สมบัติศรี

 

ศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงกวาลูกผสม ไมโครซี 306 โดยวางแผนทดลองแบบ Randomized Complete Block Design  (RCBD) ประกอบด้วย 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ใช้แปลงปลูกขนาด 1x10 เมตร จำนวน 12 แปลงๆ ละ 16 ต้น ประกอบด้วย กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลโค 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลสุกร 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยมูลสุกร 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชมากที่สุด ให้ความยาวเถาเฉลี่ย ความยาวผล น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อแปลง  น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อไร่  มากที่สุด และให้ผลผลิตเกรด A มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง เท่ากับ 18.65 เซนติเมตร 11.67 เซนติเมตร 100.81 กรัมต่อผล 4.85 กิโลกรัมต่อแปลง 775.33 กิโลกรัมต่อไร่ และ 2.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ความยาวเถาเฉลี่ย ความยาวผล น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อผล น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อแปลง  น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยกิโลกรัมต่อไร่ เท่ากับ 12.13 เซนติเมตร 11.08 เซนติเมตร 96.28 กรัมต่อผล 4.63 กิโลกรัมต่อแปลง และ 740.33 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และให้ผลผลิตเกรด A มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 27.17 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ในขณะที่ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เพียงอย่างเดียว ไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกแตงกวาลูกผสมไมโครซี 306 เนื่องจากมีแนวโน้ม ให้ความยาวเถาเฉลี่ย ความยาวผล และให้ผลผลิตเกรด A น้อยที่สุด คือ 14.87 เซนติเมตร 9.14 เซนติเมตร และ 1.63 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นในการปลูกแตงกวาพันธุ์ลูกผสมไมโครซี 306 แนะนำให้ใช้ ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยมูลสุกร หรือปุ๋ยมูลไก่


เข้าสู่ระบบ