งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93038
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93005
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92378

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในคน ของสารสกัดใบแคป่า
ผู้วิจัย วิภารัตน์ พิจารณ์ และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88672 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการหาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด    ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดใบแคป่า โดยใช้ 95%       เมทานอลเป็นตัวทำละลาย ผลผลิตร้อยละของสารสกัดแคป่าอยู่ที่ 29.52 ผลการศึกษาการหาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดอยู่ที่ 9.59±0.2362 mg GAE/g ของสารสกัดหยาบและปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดอยู่ที่ 5.04±0.20 mg QE/g ของสารสกัดหยาบ การศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH· และ reducing power ของสารสกัดจากใบแคป่า พบว่าสารสกัดแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยมีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ DPPH·โดยมีค่า IC50 อยู่ในช่วง 168.50±1.17 mg/L ความสามารถในการรีดิวซ์พบว่า สารสกัดใบแคป่ามีความสามารถในการรีดิวซ์เหล็กและมีฤทธิ์เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นที่ใช้ การทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Agar well diffusion พบว่า สารสกัดใบแคป่ายังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบางตัวได้ไม่ดี แต่เชื่อว่าสารประกอบจากใบแคป่าน่าจะได้รับการพัฒนาเป็นยารักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระได้

คำสำคัญ : สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และ

    ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

 

 

 

Title                       Antioxidant Capacity and Antibacterial Activity of Against Some Selected Human Pathogenic Khae-Pa Leave Extracts

Authors                  Wipharat  Phijan

Mathawee  paisawang

Thanyarat  Thammarot

Advisor                   Dr.Nualyai  Yaraksa

Co-adviser               Dr. wareerat  sanmanoch

Degree                    Bachelor of Science (Chemistry)

Year                       2015

 

ABSTRACT

 

The objectives of this research are to investigating the total phenolics content, total flavonoids content, antioxidant activity and antibacterial activity of leaves khae-pa extracts. The solvent used for extraction was methanol. The yields of crude extracts were 29.52 Total phenolics and total flavonoid contentswere 9.59±0.24 mg GAE/g crude extracts and 5.04±0.20 mg QE/g crude extracts, respectively. The antioxidant capacity of crude extracts was determined by using 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH·) and reducing power assay and antibacterial activity of crude extracts was test against some selected human pathogenic bacteria by using Agar well diffusion method. The result found that the crude extract showed antioxidant activity with IC50 168.50±1.17 mg/L for which DPPH assay. For the reducing capability of crude extracts with reducing power assay, it showed the reducing antioxidant activity and possessed concentration dependence.For antibacterial activity determination, the crude extracts could not inhibit all test bacteria.

 

Keyword : Total phenolic, Total flavonoids, Antioxidant activity and Antibacterial

                 activity

 

 



ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนู พันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ
ผู้วิจัย ธนาวุฒิ โคกโพธิ์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88606 ครั้ง ดาวน์โหลด 53 ครั้ง

                        ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพ

หลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ

Effect of Hot Water Dip Combined with Chitosan Coating   Subtances on Postharvest Quality of Super Hot Bird Chilli (Capsicum frutescens Linn.) in Green Stage

โดย                              นายธนาวุฒิ  โคกโพธิ์

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร. วิรญา  ครองยุติ

 

   การศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการ   เก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ โดยนำผลพริกไปจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 55°C และน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 4 นาที พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45°C นาน 4 นาที สามารถลดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด ลดการเสียหายของผลพริก และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 12 วัน และการทดลองที่ 2) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการ     เก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลดิบ พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45°C นาน 4 นาที ร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานความเข้มข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด ลดการเสียหายของผลพริก และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ12วัน ตลอดจนมีคะแนนการยอมรับของผู้บริโภคต่อลักษณะที่ปรากฏของผลพริกขี้หนูสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างการจุ่มน้ำร้อนและการเคลือบผิวด้วยไคโตซาน สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทได้

 



ประสิทธิภาพของสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้ง
ผู้วิจัย อิทธิพล สุขเกิด | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91524 ครั้ง ดาวน์โหลด 197 ครั้ง

ศึกษาประสิทธิภาพของสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 11 กลุ่มทดลอง จำนวน 5 ซํ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้งของสมุนไพรทั้งหมด 10 ชนิดได้แก่ เตยหอม มะกรูด พริกไทย อบเชย ขิง ตะไคร้ หนอนตายหยาก ขมิ้น ดีปลีและพริก ผลการทดลองพบว่า พริกไทยทำให้มอดแป้งตายได้ดีที่สุดคือ 100% รองลงมาคือดีปลี พริก ตะไคร้ ขิง ขมิ้น อบเชย ใบมะกรูด และเตยหอม ทำให้มอดแป้งตายได้เท่ากับ 98%, 92%, 30%, 28%, 22%, 18%, 14% และ 14% ตามลำดับ และหนอนตายหยากทำให้มอดแป้งตายน้อยที่สุดคือ 10% ดังนั้นพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ พริกไทยซึ่งมีประสิทธิภาพควบคุมมอดแป้งได้ 100% และจะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อการตายของมอดแป้งในช่วงชั่วโมงที่ 96 ทำให้มีผลวัดค่าและเป็นตัวชี้วัดได้ว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่น



การเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยแช่อิ่มอบแห้ง เสริมโพรไบโอติก
ผู้วิจัย นางสาวศิรินภา มหิศยา และ นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89926 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง

บทคัดย่อ
หัวข้อปัญหาพิเศษ การเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริมโพรไบโอติก
นักศึกษา นางสาวศิรินภา มหิศยา
นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิราศ กิ่งวาที
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยน้ำว้าแช่อิ่มอบแห้ง
ว่าในกระบวนการแช่อิ่ม อบแห้ง และอุณหภูมิในการเก็บรักษา จะมีผลต่อการเหลือรอดของ
เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกหรือไม่ โดยการแช่อิ่มกล้วยด้วยสารละลายน้ำตาล 30 °Brix ที่มีเชื้อจุลินทรีย์
L. acidophilus เริ่มต้น 8 log cfu/ml แช่อิ่มเป็นระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง พบว่าที่ 24 ชั่วโมง
มีการเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.19 log cfu/g จากนั้นศึกษาอุณหภูมิใน
การอบว่า มีผลต่อการเหลือรอดของจุลินทรีย์ โดยใช้ตัวอย่างจากการแช่อิ่ม 2 ตัวอย่าง อบที่อุณหภูมิ
37 และ 55 °C พบว่าตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 37 °C มีการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์
โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.11 log cfu/g ส่วนในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 55 °C มีการ
เหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกน้อยที่สุด มีเชื้อ 5.42 log cfu/g ตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่
37 °C มีค่า aW สูง และศึกษาการเหลือรอดในระหว่างการเก็บรักษาของกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริม
โพรไบโอติก บรรจุแบบสุญญากาศ เก็บในอุณหภูมิที่แตกต่างกันคือ อุณหภูมิ 25 °C และอุณหภูมิ
4 °C พบว่าในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่ 37 °C เก็บรักษาในอุณหภูมิ 25 °C มีการเหลือรอด
ของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด


เข้าสู่ระบบ