งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย มนตรี แก่นคา และ ชฤทธิ์เดช แก่นจาปา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90374 ครั้ง ดาวน์โหลด 169 ครั้ง
อิทธิพลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตข้าวโพดหวานและข้าวโพดข้าวเหนียว โดยวางแผนการทดลองแบบ 2x4 Factorial in RCBDมี 2 ปัจจัย คือ ชนิดพืช และวัสดุคลุมดิน ผลการทดลองพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง( 85 วัน) เมื่อพิจารณาเฉพาะชนิดของวัสดุคลุมดิน พบว่า การใช้ชานอ้อยคลุมดินมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง (124.05 ซม.) จานวนวันออกดอกเฉลี่ยเร็วที่สุด (51.35 ซม.) จานวนผลผลิตต่อต้นเฉลี่ย น้าหนักผลผลิตฝักสดเฉลี่ย และการให้ฝักข้าวโพดคุณภาพระดับเกรด A มากที่สุด รองลงมาคือ การไม่ใช้วัสดุคลุมดิน ส่วนน้อยที่สุดคือ การใช้แกลบดิบคลุมดิน แต่เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดพืชกับวัสดุคลุมดิน พบว่า สาหรับข้าวโพดหวาน การใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง (129.44 ซม.) น้าหนักผลผลิตฝักสดเฉลี่ยมากที่สุด ( 826.67 กิโลกรัมต่อไร่) และให้คุณภาพข้าวโพดเกรด A ปานกลาง เกรด B มากที่สุด ส่วนข้าวโพดข้าวเหนียว พบว่า การใช้ชานอ้อนเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจาก มีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง (118.86 ซม.) จานวนวันออกดอกเร็วที่สุด (47.08 วัน) จานวนผลผลิตต่อต้นเฉลี่ยและน้าหนักของผลผลิตฝักสดเฉลี่ยมากที่สุด (1.20 ฝัก/ต้น และ 720 กิโลกรัม /ไร่ ตามลาดับ) นอกจากนี้ยังให้คุณภาพข้าวโพดเกรด A มากที่สุด
ผู้วิจัย นายกรวิทย์ จันสุตะ และ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88494 ครั้ง ดาวน์โหลด 46 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มในการควบคุมมอดแป้ง
Effect of Some Citrus Peel Powder for Red Flour Beetle Control
โดย นายกรวิทย์ จันสุตะ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของผงบดจากเปลือกพืชตระกูลส้มเพื่อควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 5 กลุ่มทดลอง จำนวน 10 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัวโดยใช้ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้ม 4 ชนิดได้แก่ มะกรูด มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มโอและชุดควบคุม โดยวิธีการคลุกเมล็ด เปรียบเทียบกับชุดควบคุม ผลการทดลองพบว่า ผงบดจากเปลือกมะกรูดทำให้มอดแป้งตายมากที่สุดที่ 240 ชั่วโมง (10 วัน) คือ 63% รองลงมาได้แก่ผงบดจากเปลือกส้มเขียวหวาน ส้มโอและมะนาวมีการตายของมอดแป้งเท่ากับ 32% 25% และ 19% ในขณะที่ชุดควบคุมมีประสิทธิภาพน้อยที่สุดมีการตายของมอดแป้ง 3% ดังนั้น ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ ผงบดจากเปลือก มะกรูด ซึ่งเปอร์เซ็นต์การตายของมอดแป้งเป็นตัวชี้วัดได้ดีว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มชนิดอื่นๆ
คำสำคัญ เปลือกพืชวงศ์ส้ม ควบคุม มอดแป้ง
ผู้วิจัย ธวัช บุตรศรี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88169 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์หอมนิลใน
สภาพนาชลประทาน
Study of Chemical Fertilizer Rate on Growth and Yield of Hom Nin
Rice Variety Under Irrigated Condition
โดย นายธวัช บุตรศรี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์หอมนิลในสภาพ
นาชลประทาน โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 กิโลกรัมต่อไร่ อัตรา 0 15 30 และ 45 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ในอัตรา 45 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ข้าวพันธุ์หอมนิล มีค่าความสูง 30 60 และ 90 วัน เฉลี่ยมากที่สุด คือ 77.5 46.7 และ96.4 เซนติเมตร รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ในอัตรา 30 และ 15 กิโลกรัมต่อไร่ คือ 45.4 77.3 96.3 และ 76.1 44 95.3 เซนติเมตร ในขณะที่กลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยมีค่าเฉลี่ยความสูงน้อยที่สุด คือ 43.1 74.4และ 93.8 เซนติเมตร นอกจากนี้การใส่ปุ๋ย 16-16-8ในอัตรา 45 กิโลกรัมต่อไร่ มี จำนวนรวงเฉลี่ยมากที่สุด คือ 15 รวงต่อกอ ผลผลิตเมล็ดข้าวสูงที่สุดคือ544 กิโลกรัมต่อไร่ และน้ำหนักเมล็ดข้าวจำนวน 100 เมล็ดสูงที่สุดคือ 2.69 กรัม รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ย 16-16-8 ในอัตรา 30 และ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ดังนั้น หากต้องการปลูกข้าวหอมนิลในนาชลประทานโดยใช้ปุ๋ยเคมี อัตราที่แนะนำ และมีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคือ ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 45กิโลกรัมต่อไร่
ผู้วิจัย นางสาวปิยณี ดาราช | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91363 ครั้ง ดาวน์โหลด 187 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของปุ๋ยน้าจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตของหอมแบ่ง
Effect Of Azolla Compost Fertilizer On Growth Of Onion
โดย นางสาวปิยณี ดาราช
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
การศึกษาผลของปุ๋ยน้าจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแบ่งโดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (RCD) มี 6 กรรมวิธีได้แก่ กรรมวิธีที่ 1.ปุ๋ยคอก+ปุ๋ยแหนแดง (2,000 กก./ ไร่ + 50 ซีซี / น้า 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน) กรรมวิธีที่ 2. ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยแหนแดง (50 กก./ ไร่ + 50 ซีซี / น้า 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน) กรรมวิธีที่ 3. ปุ๋ยน้าแหนแดง อัตรา 50 ซีซี / น้า 20 ลิตรพ่น กรรมวิธีที่ 4. ปุ๋ยคอก อัตรา 4 ตัน / ไร่ กรรมวิธีที่ 5. ปุ๋ยเคมีสูตร 20 - 10 - 20 อัตรา 100 กก./ ไร่ กรรมวิธีที่ 6. ไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) วัดความสูงของหอมแบ่งในช่วงระยะการเจริญเติบโตทุกๆ สัปดาห์และน้าหนักสดเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต ผลการทดลองพบว่า หอมแบ่งที่กรรมวิธีแตกต่างกันมีผลทาให้จานวนผลผลิตที่ได้แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญยิ่ง ส่วนจานวนหัวกลีบที่แตกกอพบว่า ที่กรรมวิธีปลูกแตกต่างกันไม่มีผลทาให้จานวนหัวกลีบที่แตกกอของหอมแบ่งแตกต่างกัน น้าหนักผลเฉลี่ยและน้าหนักสดเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่ 2. ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยแหนแดง (50 กก./ ไร่ + 50 ซีซี / น้า 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน) ส่งผลให้หอมแบ่งมีการเจริญเติบโต และ ให้ผลผลิตมากที่สุด