งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
93046
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
93008
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92387

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การศึกษาชนิดของตัวทำละลายที่มีผลต่อปริมาณเบต้าแคโรทีน ของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว
ผู้วิจัย แพรวฤดี สีงาม และ พิไล ประสิทธิ์ศาล | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 91576 ครั้ง ดาวน์โหลด 178 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาชนิดของตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสีจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว โดยใช้ตัวทำละลายในการสกัด 3ชนิด คืออะซิโตน ปิโตรเลียมอีเธอร์และคลอโรฟอร์ม:เมทานอล (2:1) จากนั้นนำมาวัดปริมาณสารสกัดที่ได้ และวิเคราะห์ปริมาณของเบต้าแคโรทีนที่เหลืออยู่หลังการสกัดโดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงได้มากที่สุดของเบต้าแคโรทีน ด้วยวิธีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ พบว่าปริมาณสารสกัดหยาบที่สกัดด้วยอะซิโตนปิโตรเลียมอีเธอร์ และคลอโรฟอร์ม:เมทานอล (2:1) มีค่าเท่ากับ 269346 และ 265 มิลลิกรัม ต่อ กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ และปริมาณของเบต้าแคโรทีน มีค่าเท่ากับ 539.12 428.29 และ 614.44 ppm ตามลำดับ ซี่งคุณสมบัติของตัวทำละลาย ในแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการสกัดที่แตกต่างกัน แต่คลอโรฟอร์ม:เมทานอล(2:1) ได้ปริมาณเบต้าแคโรทีนมากกว่า อะซิโตน และปิโตรเลียมอีเทอร์12.26% และ30.3% ตามลำดับ ดังนั้น จากการทดลองพบว่าการสกัดหาปริมาณเบต้าแคโรทีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว เพื่อให้ได้ปริมาณเบต้าแคโรทีนมากที่สุด คือใช้คลอโรฟอร์ม:เมทานอล(2:1)เป็นตัวทำละลายในการสกัด



ผลของโพแทสเซียมไนเตรทต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกขี้หนู พันธุ์จินดา
ผู้วิจัย สิทธิชัย วรสุข | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89734 ครั้ง ดาวน์โหลด 34 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของโพแทสเซียมไนเตรทต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกขี้หนู
พันธุ์จินดา
Effect of Potassium Nitrate on Seed Germination and Seedling
Growth of Jinda Chilli (Capsicum annuum L.)
โดย นายสิทธิชัย วรสุข
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาความเข้มข้นและระยะเวลาที่เหมาะสมของสารละลายโพแทสเซียมไนเตรทต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้าพริกขี้หนูพันธุ์จินดา โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 4 Factorial in Completely Randomized Design เปรียบเทียบกับการใช้เป็นวัสดุเพาะแทนน้้า การแช่น้้ากลั่น 24 ชั่วโมง และการไม่ท้าลายการพักตัว ทั้งหมด 12 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้้าๆ ละ 25 เมล็ด เป็นเวลา 26 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลายโพแทสเซียมไนเตรทความเข้มข้น 0.2 เปอร์เซ็นต์เป็นวัสดุเพาะแทนน้้า มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีอัตราเฉลี่ยในการงอกเร็วที่สุด คือ 4 วัน มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด 97 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดมีพัฒนาการเป็นต้นกล้าอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ โดยมีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า และความสูงเฉลี่ยของต้น-กล้ารวมรากสูงที่สุด คือ 4.91 เซนติเมตร และ 8.48 เซนติเมตร ตามล้าดับ มีเปอร์เซ็นต์การตายของเมล็ดน้อยที่สุด คือ 3 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ การใช้สารละลายโพแทสเซียมไนเตรท ความเข้มข้น 0.3 เปอร์เซ็นต์ เป็นวัสดุเพาะแทนน้้า ในขณะที่ การแช่เมล็ดในสารละลายโพแทสเซียมไนเตรท 0.3 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ไม่แนะน้าให้ใช้ เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดตายมากที่สุด คือ 44 เปอร์เซ็นต์ และ ต้นกล้าที่ได้อ่อนแอไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ เมื่อย้ายปลูกในสภาพแวดล้อมภายนอก
คาสาคัญ เมล็ดพริกขี้หนูพันธุ์จินดา โพแทสเซียมไนเตรท การท้าลายการพักตัว



ผลของตัวทำละลายและอุณหภูมิที่มีต่อประสิทธิภาพการสกัด สารให้ความหวานจากหญ้าหวาน
ผู้วิจัย เยาวภา กลมพันธ์ และ อนุพงษ์ บุญทัน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91761 ครั้ง ดาวน์โหลด 241 ครั้ง

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ และอุณหภูมิในการสกัดที่มีผลต่อ %TSS และค่าสีL* a* b* ของสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน โดยแปรค่อัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำในสัดส่วนที่แตกต่างกัน คือ 1:20 (w/v) 1:30 (w/v)และ 1:40 (w/v) และแปรอุณหภูมิการสกัดที่50 60 และ 70 ºC ระเหยที่อุณหภูมิ 80 ºC เป็นเวลา2 3 และ4 ชั่วโมง ตามลำดับ วัด % TSS และวัดค่าสี L* a* b* และศึกษาความแตกต่างของผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยที่เติมน้ำตาลซูโครสและเติมสารสกัดจากหญ้าหวาน เพื่อทดสอบหาความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ จากการวิจัยพบว่า อัตราส่วนใบหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ และอุณหภูมิในการสกัด สกัดได้โดยมีค่าของแข็งที่ละลายน้ำอยู่ระหว่าง3.00ºBrix เมื่อผ่านการระเหยพบว่ามีค่าของแข็งที่ละลายน้ำเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 3.00–6.06ºBrix ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ การวัดค่าสี L*a*b* อัตราส่วนหญ้าหวานแห้งต่อน้ำ ที่แตกต่างกันมีผลทำให้ค่าสี L*a*b* ของสารให้ความหวานจากหญ้าหวานแตกต่างกัน อุณหภูมิที่แตกต่างกันในการสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน มีผลทำให้ค่าสี L*a*b*แตกต่างกัน และการประเมินความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยที่เติมน้ำตาลซูโครสตามท้องตลาดและเติมสารสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวานเพื่อประเมินความแตกต่างของผลิตภัณฑ์น้ำเก๊กฮวยพบว่า น้ำเก๊กฮวยที่เติมสารสกัดสารให้ความหวานจากหญ้าหวาน จำนวนผู้ทดสอบ 30 คน โดยผู้ทดสอบทั้ง 30 คน ตอบว่าแตกต่างกัน



การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม
ผู้วิจัย จันทิมา ขันแข็ง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89361 ครั้ง ดาวน์โหลด 66 ครั้ง

การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม                                                   Using Coconut Husk to Substitute Sawdust for                                                         Oyster Mushroom(Pleurotusostreatus) Production                   โดย                              นางสาวจันทิมา ขันแข็ง                                                               ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)                                              ปีการศึกษา                   2556                                                                                        อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

ศึกษาการใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาการบ่มเชื้อของเห็ดนางรม การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อน้อยที่สุดคือ 17.13 วัน รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ยคือ 19.53  21.00  23.00 และ 27.26 วัน ตามลำดับ วัสดุเพาะที่ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยเท่ากับ 47.00  44.20  33.60  22.60 และ 18.40 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% ให้จำนวนน้ำหนักเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้     ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 376.80 373.8 173.00 47.70 และ 44.60 กรัม ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมของขุยมะพร้าวในการใช้เป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อย       คือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ใช้ขุยมะพร้าว 25%  สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมได้ดีที่สุด เนื่องจากมีจำนวนดอกเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดมีระยะเวลาในการบ่มเชื้อปานกลาง (19.53 วัน)

 


เข้าสู่ระบบ