งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย พวงผกา อ่างมณี | ปีที่พิมพ์ 2553 | อ่าน 91353 ครั้ง ดาวน์โหลด 68 ครั้ง
การทดสอบประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งในน้อยหน่า มีวัตถุประสงค์เพื่อหาชนิดและอัตราสารที่เหมาะสมในการป้องกันกำจัดเพลี้ย แป้งในน้อยหน่า ซึ่งยังไม่เคยมีคำแนะนำมาก่อน ทำการทดลอง 4 แปลงทดลอง ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 – เดือนกันยายน 2553 ที่แปลงเกษตรกรอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในปี 2551 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร imidacloprid (Provado 70% WG), thiamethoxam (Actara 25% WG), dinotefuran (Starkle 10% WP) และ white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 2 กรัม, 20 กรัม และ 100 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร การพ่นไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae (Weiser) (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ในปี 2552 และ 2553 วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสาร thiamethoxam (Actara 25% WG), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC), thiamethoxam (Actara 25% WG) + white oil (Vite oil 67% EC) และ thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC) + white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 15 มิลลิลิตร, 2 กรัม + 50 มิลลิลิตร และ 10 กรัม + 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ การพ่นไส้เดือนฝอย S. carpocapsae (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร ทั้งสี่แปลงทดลองมีการพ่นสารตามกรรมวิธี 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยบนผลก่อนพ่นสาร และหลังพ่นสาร 3, 5 และ 7 วัน โดยสุ่มนับผลน้อยหน่าจำนวน 10 ผล/ต้น ให้กระจายทั่วทั้งต้น ตรวจนับเพลี้ยแป้งทั่วทั้งผลพบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารสามารถลดปริมาณการระบาดของเพลี้ยแป้งได้ โดยหลังการพ่นสารพบจำนวนเพลี้ยแป้งน้อยกว่าและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติกับกรรมวิธีไม่พ่นสาร การพ่นสาร imidacloprid (Provado 70% WG), thiamethoxam (Actara 25% WG), dinotefuran (Starkle 10% WP), thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC), thiamethoxam (Actara 25% WG) + white oil (Vite oil 67% EC) และ thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Eforia 247ZC 14.1/10.6% ZC) + white oil (Vite oil 67% EC) อัตรา 2 กรัม, 2 กรัม, 20 กรัม, 15 มิลลิลิตร, 2 กรัม + 50 มิลลิลิตร และ 10 มิลลิลิตร + 50 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้ง ส่วนกรรมวิธีการพ่น white oil (Vite oil 67% EC) มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้ปานกลาง ขณะที่ไส้เดือนฝอย S. carpocapsae (NEMA-DOA 50 WP) อัตรา 5.0 x 10(7) ตัว/น้ำ 20 ลิตร ให้ผลไม่ชัดเจนในปี 2553 และจากการเก็บผลน้อยหน่าที่พ่นไส้เดือนฝอยมาตรวจในห้องปฏิบัติการไม่พบ ไส้เดือนฝอยจากเพลี้ยแป้งที่ตายในกรรมวิธีดังกล่าว การตรวจการเป็นพิษของสารทดลองต่อพืช ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารไม่ก่อความเป็นพิษกับต้นและผลน้อยหน่า
ผู้วิจัย ยุทธิชัย มาลาสาย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88034 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไคติน-ไคโตซานจากเปลือกหุ้มลาตัวสัตว์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว
พื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่ง
Effects of Chitin-Chitosan from Animal Shells on Growth and Yield of
Indigenous Hawm Thung Rice
โดย นายยุทธิชัย มาลาสาย
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลของไคติน-ไคโตซานจากเปลือกหุ้มลาตัวสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ สารไคโตซานจากเปลือกปู กุ้ง และหอย เปรียบเทียบกับสารไคโตซานจากท้องตลาด (Bio proroots) และปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Randomized Complete Block Design, RCBD) ทั้งหมด 5 กลุ่มทดลอง จานวน 5 ซ้า ซ้าละ 10 กระถาง ผลการทดลองพบว่า การฉีดพ่นสารไคโตซานจากเปลือกปู ส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตสูงกว่ากลุ่มทดลองที่เป็นสารไคโตซานจากเปลือกลาตัวสัตว์อื่นๆ และปุ๋ยอินทรีย์ โดยมีความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวมากที่สุดคือ 97.30 เซนติเมตร จานวนต้นต่อกอ 13 ต้น/กอ มีจานวนรวงต่อกอ 10.60 รวงต่อกอ เปอร์เซ็นต์เมล็ดเฉลี่ยทั้งหมดต่อรวง 136.10 เมล็ด เปอร์เซ็นต์เมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 75.40 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 26.30 เปอร์เซ็นต์ และมีน้าหนักเมล็ดดี 328.25 กรัม ตามลาดับ รองลงมาคือ การฉีดพ่นสารไคโตซานจากท้องตลาด มีความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวคือ 89.80 เซนติเมตร จานวนต้นต่อกอ 12.50 ต้น/กอ จานวนรวงต่อกอ 9.90 รวงต่อกอ เปอร์เซ็นต์เมล็ดเฉลี่ยทั้งหมดต่อรวง 118.10 เมล็ด เปอร์เซ็นต์เมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 77.50 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ 22.70 เปอร์เซ็นต์ และน้าหนักเมล็ดดี 262.60 กรัม ผลที่ได้จากการทดลอง พบว่า การใช้สารไคโต-ซานจากเปลือกปูมีแนวโน้มทาให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่งดีมากที่สุด
คาสาคัญ ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ไคโตซาน ผลผลิต การเจริญเติบโต
ผู้วิจัย อรพรรณ สีลาพร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88208 ครั้ง ดาวน์โหลด 15 ครั้ง
ผลของไคโตซานต่อการเข้าทำลายของมอดแป้ง
Effects of Chitosan Coating to Rust-red Flour Beetle Infestation
โดย นางสาว อรพรรณ สีลาพร
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลของไคโตซานต่อมอดแป้งแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บโดยการเคลือบภาชนะและให้มอดแป้งสัมผัสไคโตซาน วางแผนการทดลองแบบCompletely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 6 กลุ่มทดลอง ๆ 10 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว พบว่าชั่วโมงที่ 240 ทำให้มีอัตราการตายของมอดแป้งมากที่สุด โดยใช้สารละลายไคโตซานความเข้มข้น 1% รองลงมาคือ น้ำผสมน้ำส้มสายชู 5% สารละลายไคโตซานความเข้มข้น 0.10% 0.01% 0.001% และชุดควบคุม ตามลำดับ โดยมีจำนวนการตายของมอดแป้งที่ 5.3 2.9 2.7 2.6 2.1 และ 1.6 ตามลำดับ คิดเป็น 53% 29% 27% 26% 21% และ 16% ตามลำดับ ดังนั้นสารละลายไคโตซานความเข้มข้น 1% มีประสิทธิภาพในการควบคุมการเข้าทำลายของมอดแป้งได้ดีที่สุด
ผู้วิจัย อิทธิพล สุขเกิด | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91540 ครั้ง ดาวน์โหลด 197 ครั้ง
ศึกษาประสิทธิภาพของสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 11 กลุ่มทดลอง จำนวน 5 ซํ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้งของสมุนไพรทั้งหมด 10 ชนิดได้แก่ เตยหอม มะกรูด พริกไทย อบเชย ขิง ตะไคร้ หนอนตายหยาก ขมิ้น ดีปลีและพริก ผลการทดลองพบว่า พริกไทยทำให้มอดแป้งตายได้ดีที่สุดคือ 100% รองลงมาคือดีปลี พริก ตะไคร้ ขิง ขมิ้น อบเชย ใบมะกรูด และเตยหอม ทำให้มอดแป้งตายได้เท่ากับ 98%, 92%, 30%, 28%, 22%, 18%, 14% และ 14% ตามลำดับ และหนอนตายหยากทำให้มอดแป้งตายน้อยที่สุดคือ 10% ดังนั้นพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ พริกไทยซึ่งมีประสิทธิภาพควบคุมมอดแป้งได้ 100% และจะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อการตายของมอดแป้งในช่วงชั่วโมงที่ 96 ทำให้มีผลวัดค่าและเป็นตัวชี้วัดได้ว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่น