งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92925
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92874
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92285

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2
ผู้วิจัย ธีระโชติ ขูลีลัง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88738 ครั้ง ดาวน์โหลด 4 ครั้ง

ผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์             ซุปเปอร์ฮอท2
                            Effect of  Wild Spikenard Bush-Tea  Extracted on Growth and Yield of                        Super-Hot 2 Bird Chilli

โดย                  นายธีระโชติ  ขูลีลัง

ชื่อปริญญา       วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา       2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ประภัสสร  น้อยทรง

 

ศึกษาผลของสารสกัดแมงลักคาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท2ซึ่งวางแผนการทดลองแบบ CRD (Completely Randomized Design) แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 10 กระถางพบว่าการใช้สารสกัดแมงลักคา อัตราส่วน 1:1 มีความเหมาะสมมากที่สุด ในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพริกหัวเรือพันธุ์ ซุปเปอร์ฮอท2 เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด มีความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ยปานกลาง แต่มีจำนวนวันออกดอกเร็ว และมีจำนวนผลผลิตเฉลี่ย และความยาวเฉลี่ยของผลพริก ในการเก็บเกี่ยวพริก ชุดที่ 1 น้ำหนักผลสดปานกลาง คือมีค่า เท่ากับ 25.83 ซม.17.85 ซม.35.11 วัน 10.33 ผล ต่อต้น 4.06 ซม.6.07 กรัม ตามลำดับ แต่ถ้าใช้ในอัตราส่วนที่มากขึ้น หรือมีความเข้มข้นของแมงลักคาเพิ่มขึ้น พบว่า การเจริญเติบโต และการให้ผลผลิต มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่การไม่พ่นสารสกัดแมงลักคา มีความสูงเฉลี่ยของต้น และความกว้างของทรงพุ่มปานกลาง คือ 23.60 ซม.และ 18.60 ซม. ตามลำดับ และมีแนวโน้มใช้เวลาในการออกดอกนานกว่ากลุ่มทดลองที่ใช้สารสกัดแมงลักคาฉีดพ่น ส่วนด้านผลผลิต การเก็บเกี่ยวชุดที่ 1 จะมีจำนวนผลผลิตน้อยที่สุด (4 ผล/ต้น) แต่หลังจากนั้น จำนวนผลผลิตก็เพิ่มสูงขึ้น และมีนำหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด

(9.43 กรัม) แต่ก็ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ จากกลุ่มทดลองที่ฉีดพ่นด้วยสารสกัดแมงลักคา

 



ผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและ ผลผลิตข้าวพื้นเมืองพันธุ์หอมทุ่งในสภาพแปลงทดลอง
ผู้วิจัย นายเอนกพงษ์ พรมชาติ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88851 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                   ผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพื้นเมือง

                          พันธุ์หอมทุ่งในสภาพแปลงทดลอง

                          Effects of Azolla Extract on Growth and Yield of Indigenous

                          Hawm Thung Rice in Plot Experiment

โดย                    นายเอนกพงษ์  พรมชาติ

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณฑิต  (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2558

อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

         งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองในสภาพแปลงทดลอง วางแผนการทดลองแบบ  Randomized Complete  Block  Design  (RCBD) ประกอบด้วย 4 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 5 ซ้ำ ขนาดแปลง 2 X 4 เมตร ผลการทดลองพบว่า สารสกัดแหนแดง (อัตรา 500 มิลลิลิตรต่อน้ำ 500 มิลลิลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีแนวโน้มให้จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ น้ำหนักเฉลี่ยต่อกอมากที่สุดและมี น้ำหนักต่อรวง น้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย (ก.ก/ไร่) ดีที่สุดคือ 4.26 ต้นต่อกอ 5.20 รวงต่อกอ 337.40 กรัมต่อกอ 96.80 กรัมต่อรวง 58.40 กรัมต่อเมล็ดดี 100 เมล็ด 2.28 กิโลกรัมต่อแปลง และ 456 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังให้ความสูงเฉลี่ย ระดับปานกลางคือ 67.96 เซนติเมตร รองลงมาคือ น้ำหมักชีวภาพแหนแดง

มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น มากที่สุดคือ 69.43 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ยต่อกอ และ     น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยปานกลางคือ 335 กรัมต่อกอ และ 1.70 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร

(336 กิโลกรัมต่อไร่) ในขณะที่ ปุ๋ยน้ำทางการค้า มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวน้อยที่สุดคือ 57.56 เซนติเมตร และให้น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ 1.60 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 8 ตารางเมตร

(320 กิโลกรัมต่อไร่) ดังนั้นการใช้สารสกัดหรือน้ำหมักชีวภาพจากแหนแดง ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มีผลช่วยส่งเสริม การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าว



ผลของการเสริมสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในสารละลายเจือจาง น้าเชื้อสดโค
ผู้วิจัย นางสาวริยากร ณุวงษ์ศรี และ นางสาวกาญจนา สุขชัย | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88331 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง

บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารแอนตี้ออกซิแดนท์เสริมในสูตรสารละลายเจือ
จางน้าเชื้อสดโตต่ออัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติของอสุจิ โดยใช้แผนการทดลอง
แบบ Randommized Complete Blok Design (RCBD) ใช้น้าจากพ่อพันธุ์ โฮสไตร์ฟรีเชี่ยน จานวน 1 ตัว
รีดน้าเชื้อทุกสัปดาห์ แบ่งน้าเชื้อออกเป็น 5 ส่วน เจือจางด้วยสารสารเจือจาง Egg-Yolk Tris ที่เสริมด้วย
กลุ่ม วิตามิน อี 10 μg/ml (กลุ่มควบคุม) หรือ น้ามันมะกอก 0.6 μg/ml หรือ น้ามันมะพร้าว 0.5 μg/ml
หรือ น้ามันงา 1 μg/ml หรือ น้ามันราข้าว 1μg/ml ทาการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ตรวจ
ทุกๆ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 วัน ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติ
ของอสุจิ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ที่ชั่วโมงที่ 0, 24, 48, 72, 96 และ 120
ค้าส้าคัญ: น้าเชื้อสด, แอนตี้ออกซิแดนท์, วิตามิน อี, น้ามันมะกอก, น้ามันมะพร้าว, น้ามันงา, น้ามันราข้าว
Abstract
The purposes of this study were to investigate the effects of supplementation of
antioxidant in bull liquid semen extender on sperm viability, sperm motility and normality.
Experimental design was conducted using Randommized Complete Blok Design (RCBD).
Semen was collected from one Holstein Friesian bull once a week for tour week and
divided into 5 portions for each treatment. Semen were diluted with egg-yolk tris diluted
supplemented with vitamin E 10 μg/ml (control) or olive oil 0.6 μg/ml or coconut oil 0.5 μg/ml
or sesame oil 1 μg/ml or rice bran oil 1 μg/ml. Diluted semen were stored at 5° C and
examined for semen quality every 24 hours for 4 days. It was found that there semen viability,
sperm motility and normality. Were not significant different among treatment (p> 0.05) on
days 0, 24, 48, 72, 96 and 120.
Keywords: liquid semen, antioxidant, vitamin E, olive oil, coconut oil, sesame oil, rice bran oil



ผลกระทบของพาราควอทต่อแมลงช้างปีกใส
ผู้วิจัย นายประวิช เพ็ชรโย | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88021 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                    ผลกระทบของพาราควอทต่อแมลงช้างปีกใส

                           Impacts of Paraquat on Green Lacewing

โดย                     นายประวิช  เพ็ชรโย

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต  (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2558

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

ศึกษาผลกระทบของพาราควอทต่อแมลงช้างปีกใส  เพื่อประเมินหาผลกระทบของสารพาราควอทต่อการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของแมลงช้างปีกใส มีการวางแผนการทดลองแบบ  Completely Randomized Design (CRD)  ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลอง ละ 5 ซ้ำ  ซ้ำละ 10 ตัว พบว่า การใช้สารพาราควอท ในอัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ก็มีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยของแมลงช้างปีกใสมากที่สุด คือ 50 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อระยะเวลานานขึ้น โดยเมื่อสิ้นสุดการทดลอง         (96 ชั่วโมง) การใช้สารพาราควอท อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ก็ยังคงมีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์ การตายเฉลี่ยของแมลงช้างปีกใสสูงที่สุด คือ 86 เปอร์เซ็นต์ และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตเฉลี่ย เท่ากับ 14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้จะมีเปอร์เซ็นต์การกินได้เฉลี่ยปานกลาง คือ105.40 เปอร์เซ็นต์ ก็ตาม รองลงมาคือ การใช้สารพาราควอท อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร มีเปอร์เซ็นต์การตาย เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต และเปอร์เซ็นต์การกินได้ของแมลงช้างปีกใสเฉลี่ย เท่ากับ          82 เปอร์เซ็นต์ 18 เปอร์เซ็นต์ และ 97 เปอร์เซ็นต์ (ที่ 96 ชั่วโมง) ตามลำดับ ในขณะที่การใช้น้ำเปล่า (ชุดควบคุม) มีเปอร์เซ็นต์การตาย เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต และเปอร์เซ็นต์การกินได้เฉลี่ย เท่ากับ    34 เปอร์เซ็นต์ 66 เปอร์เซ็นต์ และ 119.40 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้น การใช้สารพาราควอททุกอัตรา มีผลกระทบ ต่อการดำรงอยู่ของแมลงช้างปีกใส ทั้งหมด เพราะถึงแม้จะใช้ในความเข้มข้น          หรืออัตราต่ำๆ ก็มีผลทำให้แมลงช้างปีกใสตายครึ่งหนึ่ง ของแมลงช้างปีกใสทั้งหมด ภายใน 24 ชั่วโมง 


เข้าสู่ระบบ