งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย สิทธิพร ศิริไทย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88176 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง
ศึกษาผลของกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของข้าวเจ้าหอมนิล ในระยะต้นกล้าภายใต้สภาวะแห้งแล้ง แบ่งเป็น 6 กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับน้าปกติ กลุ่มแล้ง และกลุ่มที่ได้รับการพ่นสารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.25, 0.5, 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ ทาการเพาะเมล็ดและปลูกในกระถางบรรจุดินเป็นเวลา 14 วัน งดให้น้า 7 วัน ผลการทดลองพบว่าสภาวะแล้งส่งผลให้การเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวหอมนิลลดลง ยกเว้นความยาวราก ส่วนกรดซาลิไซลิกช่วยให้ต้นกล้าข้าวหอมนิลมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีขึ้นโดยทาให้ความยาวราก น้าหนักสดรากและลาต้น และน้าหนักแห้งลาต้นเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของต้นกล้าข้าวหอมนิล ทั้งนี้จากการทดลองสามารถสรุป ได้ว่ากรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.25 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทาให้ต้นกล้าข้าวหอมนิลมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด
ผู้วิจัย เกียรติศักดิ์ นะดาบุตร และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89337 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง
ผลของการเสริมวิตามินซีในอาหารสำเร็จรูปต่อการเจริญเติบโตของปลาทองซึ่งในการทดลองนี้ใช้ปลาทอง ขนาดน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 5.4 – 6.6 กรัมต่อตัวโดยนำปลาขนาดใกล้เคียงกันใส่ตู้กระจกขนาดความจุ 70 ลิตร โดยแต่ละตู้ใส่ลูกปลาทอง 5 ตัวต่อตู้ เลี้ยงด้วยการเสริมวิตามินซีในอาหารสำเร็จรูป และทำการทดลอง 4 ชุดการทดลอง คือ ชุดการทดลองที่ 1 อาหารสำเร็จรูป (ไม่เสริมวิตามินซี) ชุดการทดลองที่ 2 อาหารสำเร็จรูป เสริมวิตามินซี 300 มิลลิกรัม ชุดการทดลองที่ 3 อาหารสำเร็จรูป เสริมวิตามินซี 400 มิลลิกรัม และ ชุดการทดลองที่ 4 อาหารสำเร็จรูป เสริมวิตามินซี 500 มิลลิกรัม ให้อาหารปลาทดลองแต่ละชุดการทดลอง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ Completely Randomized Design (CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 4Treatment แต่ละ Treatment มี 3 Replication เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า การศึกษาการเจริญเติบโตในด้าน น้ำหนักเพิ่มขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้นต่อตัวต่อวัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพราะต่อวัน และอัตราการรอดตาย รวมถึงการใช้ประโยชน์จากอาหาร ในด้านอัตราการกินอาหาร และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) โดยปลาทองที่เลี้ยงด้วยอาหารที่เสริมวิตามินซีที่ระดับ 400 มิลลิกรัม มีการเจริญเติบโต และ การใช้ประโยชน์จากอาหารดีที่สุดเมื่อเทียบกับปลาทองที่เสริมวิตามินซีในระดับต่างๆ
ผู้วิจัย มานะศักดิ์ รัตนนนท์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89507 ครั้ง ดาวน์โหลด 13 ครั้ง
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากบอระเพ็ดต่อหนอนแมลงวันบ้าน โดยทาการสกัดด้วยตัวทาละลาย 3 ชนิด คือ น้าเปล่า, 50% แอลกอฮอล์ และ น้าต้มที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม (Randomized Complete Block Designs, RCBD) มี 4 ระดับความเข้มข้น (5% 10% 20% และ 40%) จานวน 5 ซ้า ใช้หนอนแมลงวันซ้าละ 5 ตัว ทาการตรวจนับจานวนที่ตาย 12, 24 และ 36 ชั่วโมง หลังจากได้รับสารสกัด พบว่า บอระเพ็ดที่สกัดด้วย 50% แอลกอฮอล์มีประสิทธิภาพสูงที่สุด ทาให้หนอนแมลงวันบ้านตายเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 12 ชั่วโมง รองลงมา คือบอระเพ็ดที่สกัดด้วยน้าต้ม 60 องศาเซลเซียส เพราะสามารถทาให้หนอนแมลงวันบ้าน ตายเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 24 ชั่วโมง โดยใช้ระดับความเข้มข้น 40% ในขณะที่บอระเพ็ดที่สกัดด้วยน้าเปล่า มีประสิทธิภาพต่าที่สุด เพราะไม่สามารถทาให้หนอนแมลงวันบ้าน ตายเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 36 ชั่วโมง โดยมีค่า Lethal Concentration fifty (LC50) เท่ากับ 34.00, 6.20 และ 2.12% ตามลาดับ ส่วนสารสกัดที่ทาให้หนอนแมลงวันบ้าน พัฒนาจนเป็นดักแด้ได้น้อยที่สุด คือ 50% แอลกอฮอล์ น้าต้ม 60 องศาเซลเซียส และน้าเปล่า ตามลาดับ ส่วนความเข้มข้นของสารสกัดบอระเพ็ดที่เหมาะสมคือ ระดับความเข้มข้น 40% เพราะสามารถทาให้หนอนแมลงวันบ้าน ตายเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 24 ชั่วโมง
ผู้วิจัย กุสุมา สำเนียงนวล | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89083 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ
ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1
A Study of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield
of Chainat 1 Rice Variety
โดย นางสาวกุสุมา สำเนียงนวล
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ที่แปลงปลูกพืชทดลอง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยต่อต้น จำนวนรวงต่อกอ และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อกระถางสูงที่สุดคือ 109 เซนติเมตร 13 รวงต่อกอ และ 27.24 กรัมต่อกระถาง ตามลำดับ อีกทั้งยังมี เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 33 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์ทางใบที่หมักด้วยแหนแดง อัตรา 1:100 ทุกๆ 7 วัน มีจำนวนรวงต่อกอมากที่สุดคือ 13 รวงต่อกอ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ และดัชนีการเก็บเกี่ยวปานกลางคือ 25.39 กรัมต่อกระถาง 37 เปอร์เซ็นต์ และ 0.36 ตามลำดับ ส่วนการไม่ใส่ปุ๋ยถึงแม้จะมีน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด มากที่สุด เท่ากับ 4.11 กรัม แต่ผลผลิตเฉลี่ยรวมที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพเพราะมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบสูงที่สุดคือ 47 เปอร์เซ็นต์ และมีจำนวนรวงต่อกอต่ำที่สุด 9 รวงต่อกอ ถึงแม้การใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวจะให้ผลผลิตสูงก็จริง แต่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ดินเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว ถ้านำปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีก็จะลดต้นทุนในการผลิต และยังช่วยบำรุงดินอีกด้วย ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมในการทดลองนี้คือ ปุ๋ยอินทรีย์ทางใบที่หมักด้วยแหนแดง อัตรา 1:100 โดยฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน มีประสิทธิภาพมากที่สุด
คำสำคัญ ข้าวชัยนาท 1 ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยทางใบ