งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย สัจจะ ศรีระทา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88786 ครั้ง ดาวน์โหลด 20 ครั้ง
เรื่อง ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวหอมนิล
ในนาแบบเปียกสลับแห้ง
Study of Chemical Fertilizer Rate on Growth and Yield of Hom Nin Rice Variety Under Alternating Wetting and Drying Condition
โดย นาย สัจจะ ศรีระทา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา2556
อาจารที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวหอมนิลในสภาพนาเปียกสลับแห้ง โดยทำการศึกษา ณ แปลงทดลองของเกษตรกร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานีวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 4 กลุ่มทดลองๆละ3ซ้ำ ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ยกลุ่มทดลองที่ 2ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่กลุ่มทดลองที่3ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร
16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ และกลุ่มทดลองที่4ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 45 กก./ไร่ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา45 กก./ไร่ ทำให้ข้าวหอมนิล มีความสูงช่วง 30 และ 60 วัน จำนวนรวงต่อกอน้ำหนักเมล็ดข้าวจำนวน100 เมล็ดค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว และผลผลิตเมล็ดข้าว มีค่าสูงที่สุด แต่เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในทุกกลุ่มทดลองนอกจากนี้การจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง สามารถลดต้นทุนการผลิต เป็นการใช้น้ำแบบประหยัดแต่ยังคงให้ผลผลิตข้าวในอัตราที่สูง จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรในการปลูกข้าวในพื้นที่ที่ควบคุมน้ำได้
ผู้วิจัย ทักษ์ดนัย ขันค้า | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88342 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การยืดอายุการเก็บรักษาพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทด้วยการจุ่มน้้าร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์
Prolonging of Storability of Bird Chilli (cv. Superhot) with Hot Water Dip Combined with Packaging
โดย นายทักษ์ดนัย ขันค้า
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ
การศึกษาผลของการจุ่มน้้าร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยจุ่มน้้าร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 และ 55 องศาเซลเซียส นาน 4 นาที เปรียบเทียบกับการจุ่มในน้้ากลั่นที่อุณหภูมิห้อง (ชุดควบคุม) และบรรจุในถุงพลาสติกชนิดโพลีเอทธิลีน (Polyethylene; PE) และถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีน ผสมสารเติมแต่งบางชนิด (ถุง Active) และน้าไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส จนหมดอายุการเก็บรักษา พบว่าพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุกที่ผ่านการจุ่มน้้าร้อนอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 4 นาที ร่วมกับการบรรจุในถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีนผสมสารเติมแต่งบางชนิด (ถุง Active) สามารถลดเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้้าหนักสด เปอร์เซ็นต์การเสียหายของผลพริก และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน แต่ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม แต่จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างวิธีการการจุ่มน้้าร้อนร่วมกับชนิดบรรจุภัณฑ์ สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทได้ แต่ไม่สามารถยืดอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานกว่าชุดควบคุม
คาสาคัญ การจุ่มน้้าร้อน บรรจุภัณฑ์ พริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท
ผู้วิจัย ขนิษฐา กล้าจริง | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88147 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง
ผู้วิจัย นางสาวพรทิพย์ หงษ์คำ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88702 ครั้ง ดาวน์โหลด 22 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของ BA ต่อการเกิดยอดของดาหลาในสภาพปลอดเชื้อ
Effects of BA Shoot Induction of Torgh Ginger (Etlingera elatior (Jack)
R.M.Smith) in vitro
โดย นางสาวพรทิพย์ หงษ์คำ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ BA ต่อการเกิดยอดของดาหลาในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 8 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) โดยปัจจัย A ได้แก่ สายพันธุ์ดาหลา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ a1 = ดาหลาดอกสีแดง และ a2 = ดาหลา
ดอกสีชมพู และ ปัจจัย B คือ สารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มไซโตไคนิน (BA) แบ่งเป็น 8 ระดับ คือ b1= 0 mg/l, b2 = 1 mg/l, b3 = 2 mg/l, b4 = 3 mg/l, b5 = 4 mg/l, b6 = 5 mg/l, b7 = 6 mg/l และ b8 = 7 mg/l รวมทั้งสิ้น 16 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 10 ซํ้า ๆ ละ 1 ขวด ผลการทดลองพบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงดาหลาและพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 6 mg/l มีความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนยอด ความสูงเฉลี่ยของยอด และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด คือ 2.62 เซนติเมตร 0.50 ยอด 0.49 เซนติเมตร และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และยอดใหม่ที่เกิดขึ้นสามารถ พัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ได้ โดยดาหลาพันธุ์สีชมพูมีการตอบสนอง BA ได้ดีกว่า ดาหลาพันธุ์สีแดง