งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92920
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92868
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92278

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของไคโตซานในการเคลือบผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวของมะละกอพันธุ์แขกดำ
ผู้วิจัย นายครรชิตพล โพธิ์พรหม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89117 ครั้ง ดาวน์โหลด 42 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไคโตซานในการเคลือบผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวของมะละกอพันธุ์แขกดำ
Effects of Chitosan Coating on Storage Life and Postharvest Quality of Papaya Khaek Dam
โดย นายครรชิตพล โพธิ์พรหม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
การศึกษาผลของไคโตซานในการเคลือบผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวของมะละกอพันธุ์แขกดำ โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (30±5 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 8 วัน พบว่าค่าคะแนนสีของผลมะละกอพันธุ์แขกดำ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยค่าคะแนนสีผิวพัฒนาจาก ระยะ 1 ถึง ระยะ 3 และหยุดการพัฒนาสีผิวหลังจากนั้นผลเริ่มเหี่ยวนิ่มและเน่าเสีย เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดของมะละกอ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ การเคลือบผิวด้วยไคโตซาน 1.5% มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดน้อยที่สุด ส่วน การไม่เคลือบผิวมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงความแน่นเนื้อของมะละกอ พบว่าในวันที่ 2 และ 4 มะละกอมีการเปลี่ยนแปลงความแน่นเนื้อ แตกต่างกันทางสถิติ (p=0.05) โดยในวันที่ 2 และ 4 มะละกอที่เคลือบผิวด้วย ไคโตซาน 1.5% มีความแน่นเนื้อมากที่สุด เท่ากับ 58.3 และ 28.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ ส่วนมะละกอที่ไม่เคลือบ (ชุดควบคุม) มีความแน่นเนื้อน้อยที่สุด เท่ากับ 50.0 และ 21.1 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ พบว่าวันที่ 6 และวันที่ 8 มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01 และ p=0.05 ตามลำดับ) โดยมะละกอที่เคลือบผิวด้วยไคโตซาน 1% มีค่าเฉลี่ยปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้สูงสุดคือ 6.1 องศาบริกซ์ รองลงมาคือ การเคลือบผิวด้วยไคโตซาน 1.5% มีค่าเท่ากับ 6.0 องศาบริกซ์ และ การไม่เคลือบผิว มีค่าเท่ากับ 5.1 องศาบริกซ์ โดยทุกกลุ่มทดลองมีแนวโน้มของค่าเฉลี่ยปริมาณ
ของแข็งที่ละลายน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนวันที่ทำการเก็บรักษา ในขณะที่ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และมีแนวโน้มลดลงในระหว่างการเก็บรักษา
คำสำคัญ ไคโตซาน มะละกอพันธุ์แขกดำ การเก็บรักษา



อัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย นายอิทธิพล นามห่อ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 87635 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

 

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                        อัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี

                             Organic and Chemical Fertilizer Rates on Growth and Yield of KDML 105 Rice in That  Sub-District, WarinChamrap District,

                             UbonRatchathani Province

โดย                         นายอิทธิพล  นามห่อ

ชื่อปริญญา                วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เกษตรศาสตร์ )

ปีการศึกษา                2558

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดมหาญพิชิตวิทยา

ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 พื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 6 กลุ่มทดลอง 3ซ้ำผลการทดลองพบว่ากลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 9 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 0-0-60 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 46-0-0 อัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่หลังช่วงปักดำ (50%) ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0  อัตรา7กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกำเนิดช่อดอก (50%) ( เป็นอัตราปุ๋ยสั่งตัด )ให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าว จำนวนรวงต่อกอเฉลี่ย เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยและน้ำหนักเฉลี่ยเมล็ดดี 100 เมล็ด สูงที่สุดคือ 172 เซนติเมตร8 รวงต่อกอ10 เปอร์เซ็นต์414 กิโลกรัมต่อไร่และ2.57 กรัมตามลำดับรองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยคอกจากมูลวัวอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ในช่วงปักดำ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15  อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และ 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ (อัตราเกษตรกร) (กลุ่มทดลองที่ 6) มีค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดปานกลางเมื่อเทียบกับไม่ใส่ปุ๋ย ที่มีค่าดัชนีทุกตัวน้อยที่สุด ดังนั้นการวิเคราะห์หาค่าปริมาณคุณภาพ NPK ในพื้นที่เพาะปลูก จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการลดต้นทุนในการผลิต ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและส่งเสริมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 



การใช้ส่วนต่างๆของต้นข้าวทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางฟ้า ภูฐาน
ผู้วิจัย รัชนีกรณ์ ไชยดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89174 ครั้ง ดาวน์โหลด 70 ครั้ง

การใช้ส่วนต่างๆของต้นข้าวทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางฟ้า
ภูฐาน
Using Different Parts of Rice Plants to Substitute Sawdust for
Growing Phoenix Oyster Mushroom(Pleurotussajor-caju)
โดย นางสาวรัชนีกรณ์ ไชยดี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
จากการทดลองใช้ส่วนต่างๆของต้นข้าวทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางฟ้าภูฐาน โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซํ้า ๆ ละ 10 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (นํ้าหนักแห้ง) พบว่าระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุดคือในแกลบดิบ 100%รองลงมาคือ ฟางข้าวความยาว 20 cm 100%, เมล็ดข้าวลีบ 100%,ขี้เลื่อย 100% และ ตอซัง 100% โดยมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดคือ 27, 24, 24, 22 และ 20 วัน ตามลำดับ จำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุดคือใน ขี้เลื่อย 100% รองลงมาคือ ตอซัง 100%, ฟางข้าวความยาว 20cm 100%, เมล็ดข้าวลีบ 100% และ แกลบดิบ 100% โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่ 2.17, 1.26, 1.25, 1.14 และ 0.32 ดอก/ถุง ตามลำดับ ผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดนางฟ้าสูงที่สุดในขี้เลื่อย 100% รองลงมาคือ ตอซัง100%, ฟางข้าวความยาว 20 cm 100%, เมล็ดข้าวลีบ 100% และ แกลบดิบ 100% โดยมีผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 26.12, 14.28, 12.94, 11.90 และ 4.28 กรัม/ถุง ตามลำดับ



การศึกษาปุ๋ยสั่งตัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ในพื้นที่ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย อุดมกรณ์ ไพรบึง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88664 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง

การศึกษาผลของปุ๋ยสั่งตัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2ในแปลงเกษตรกร พื้นที่อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม (Randomized Complete Block Designs, RCBD) มีจำนวน 6 กลุ่มทดลอง 3 ซํ้า ผลการทดลองพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 15.3-3.8-3.8 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 1000 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น นํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกและปอกเปลือก นํ้าหนักลำต้นและความยาวฝักมากที่สุด คือ มีค่าเท่ากับ 177 ซม. 1993 กก./ไร่ 1325 กก./ไร่ 2868 กก./ไร่ และ 17 ซม. ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อนำมาคัดเกรดฝักข้าวโพดตามมาตรฐานสินค้าเกษตร พบว่า ข้าวโพดพันธุ์อินทรี 2 ที่ได้รับปุ๋ยทุกกลุ่มทดลอง ผลผลิตจัดอยู่ในเกรด B ในขณะที่ กลุ่มทดลองที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย ผลผลิตฝักข้าวโพดจัดอยู่ในกลุ่ม C และมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P = 0.01)


เข้าสู่ระบบ