งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92930
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92877
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92287

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ต
ผู้วิจัย นายชุติพนธ์ ทิมา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88836 ครั้ง ดาวน์โหลด 47 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                    การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี                            

                           ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ต

                           Comparison of Chemical and Liquid Biostimulant Fertilizer     

                           Efficiency On Growth and Yield of Hybrids Radish var.  White                  

                           Rocks Kate

โดย                     นายชุติพนธ์  ทิมา

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2558

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน  

 

            ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ตวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete  Block  Design  (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 100 ต้น โดยเตรียมแปลงขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อหัว เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยต่อหัว และผลผลิตเกรด A มากที่สุด คือ 672.67 กรัมต่อหัว 7.40 เซนติเมตร และ 88.33 % ตามลำดับ และมีความยาวเฉลี่ยของหัวปานกลาง คือ 21.43 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 รวมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาว

มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 32.73 เซนติเมตร และมีค่าน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อหัวเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของหัว และผลผลิตเกรด A ปานกลาง คือ 612.33 กรัมต่อหัว 6.60 เซนติเมตรและ 71.66 %ในขณะที่การปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีค่าดัชนีตัวชี้วัด เกือบทุกตัวน้อยที่สุด ดังนั้นหากต้องการปลูกผักกาดหัวโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแนะนำให้ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาว เนื่องจาก ทุกดัชนีชี้วัด ยกเว้นความสูงและความยาวเฉลี่ยของผล มีค่ารองลงมาจากการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการ เจริญเติบโตและผลผลิตของบร๊อคโคลี พันธุ์ นิว 29 เอ TA159
ผู้วิจัย ธรรมโรจน์ บัวแก้ว | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89370 ครั้ง ดาวน์โหลด 49 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการ
เจริญเติบโตและผลผลิตของบร๊อคโคลี พันธุ์ นิว 29 เอ TA159
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on
Growth and Yield of New 29 A TA159 Broccoli Variety
โดย นายธรรมโรจน์ บัวแก้ว
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของบร๊อคโคลี พันธุ์ นิว 29 เอ TA 159 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้าๆ ละ 60 ต้น ขนาดแปลง 1X10 เมตร ผลการทดลองพบว่า การใช้ปุ๋ยเคมี (อัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่ต่อครั้ง) มีประสิทธิภาพมากที่สุด มีความสูงเฉลี่ยของต้น จานวนใบเฉลี่ย น้าหนักดอกรวมก้านเฉลี่ยต่อต้น น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยรวมต่อแปลง เปอร์เซ็นต์การให้ผลผลิต เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของดอก และเกรด B มากที่สุด คือ 32.29 เซนติเมตร 10.54 ใบต่อต้น 458.93 กรัม 14.31 กิโลกรัมต่อแปลง 70.00 เปอร์เซ็นต์ 6.15 นิ้ว และ 73.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ รองลงมาได้แก่ ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับน้าหมักมูลไก่ (อัตรา 1 ลิตรต่อน้า 20 ลิตร) ให้ความสูงเฉลี่ย จานวนใบเฉลี่ย น้าหนักดอกเฉลี่ยต่อต้น น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยรวมต่อแปลง เปอร์เซ็นต์การให้ผลผลิต เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของดอก และเกรด B ของบร็อคโคลี เท่ากับ 20.73 เซนติเมตร 10.02 ใบต่อต้น 106.90 กรัม 1.42 กิโลกรัมต่อแปลง 17.78 เปอร์เซ็นต์ 2.94 นิ้ว และ 23.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ในขณะที่ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับน้าหมักเปลือกผลไม้ (อัตรา 10 ซีซี ต่อน้า 20 ลิตร) ไม่แนะนาให้ใช้ในการปลูกบร็อคโคลี เนื่องจากไม่สามารถส่งเสริมให้บร็อคโคลีเกิดดอกหรือผลผลิตได้ และต้นมีการเจริญเติบโตน้อยที่สุด
คาสาคัญ บร๊อคโคลี พันธุ์ นิว 29 เอ TA159 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมักอินทรีย์



การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
ผู้วิจัย ฐิติพร ภักดีโสภา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88661 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for
Schizophylum commune Production
โดย นางสาวฐิติพร ภักดีโสภา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% (Control) กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% ไมยราบยักษ์ 50% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% ไมยราบยักษ์ 75% และกลุ่มทดลองที่ 5 ไมยราบยักษ์ 100% ผลการทดลองพบว่าการใช้ไมยราบยักษ์ 100% (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทนขี้เลื่อยได้ เนื่องจากมีน้าหนักผลผลิตดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด (21.4 กรัมต่อถุง) และใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกน้อยที่สุด (12.7 วัน) ดอกเห็ดที่ได้มีขนาดใหญ่ จึงทาให้มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยน้อย (63.1 ดอกต่อถุง) แต่ขนาดของดอกตรงกับความต้องการของตลาด รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 25% ร่วมกับไมยราบยักษ์ 75% (กลุ่มทดลองที่ 4) มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอก และ น้าหนักผลผลิตดอกเห็ดสดเฉลี่ยปานกลางคือ 15.9 วัน และ 10.2 กรัมต่อถุง ตามลาดับ และมีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุดคือ 85.7 ดอกต่อถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% (กลุ่มทดลอง-
ที่ 1) ใช้ระยะเวลาในการบ่มเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกนานที่สุด (27.5 วัน) และมีน้าหนักผลผลิตดอกเห็ดสดเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 5.9 กรัมต่อถุง จึงไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดแครง นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนไมยราบยักษ์ในวัสดุเพาะ พบว่า เมื่อมีการเพิ่มสัดส่วนของไมยราบยักษ์มากขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อสั้นลงและมีน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากขึ้น
คาสาคัญ เห็ดแครง ฟางข้าว ผลผลิต



ผลของปุ๋ยน้าจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตของหอมแบ่ง
ผู้วิจัย นางสาวปิยณี ดาราช | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91244 ครั้ง ดาวน์โหลด 187 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของปุ๋ยน้าจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตของหอมแบ่ง
Effect Of Azolla Compost Fertilizer On Growth Of Onion
โดย นางสาวปิยณี ดาราช
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
การศึกษาผลของปุ๋ยน้าจากแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแบ่งโดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (RCD) มี 6 กรรมวิธีได้แก่ กรรมวิธีที่ 1.ปุ๋ยคอก+ปุ๋ยแหนแดง (2,000 กก./ ไร่ + 50 ซีซี / น้า 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน) กรรมวิธีที่ 2. ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยแหนแดง (50 กก./ ไร่ + 50 ซีซี / น้า 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน) กรรมวิธีที่ 3. ปุ๋ยน้าแหนแดง อัตรา 50 ซีซี / น้า 20 ลิตรพ่น กรรมวิธีที่ 4. ปุ๋ยคอก อัตรา 4 ตัน / ไร่ กรรมวิธีที่ 5. ปุ๋ยเคมีสูตร 20 - 10 - 20 อัตรา 100 กก./ ไร่ กรรมวิธีที่ 6. ไม่ใส่ปุ๋ย (ควบคุม) วัดความสูงของหอมแบ่งในช่วงระยะการเจริญเติบโตทุกๆ สัปดาห์และน้าหนักสดเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต ผลการทดลองพบว่า หอมแบ่งที่กรรมวิธีแตกต่างกันมีผลทาให้จานวนผลผลิตที่ได้แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญยิ่ง ส่วนจานวนหัวกลีบที่แตกกอพบว่า ที่กรรมวิธีปลูกแตกต่างกันไม่มีผลทาให้จานวนหัวกลีบที่แตกกอของหอมแบ่งแตกต่างกัน น้าหนักผลเฉลี่ยและน้าหนักสดเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า กรรมวิธีที่ 2. ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยแหนแดง (50 กก./ ไร่ + 50 ซีซี / น้า 20 ลิตร พ่นทุก 5 วัน) ส่งผลให้หอมแบ่งมีการเจริญเติบโต และ ให้ผลผลิตมากที่สุด


เข้าสู่ระบบ