งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92920
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92868
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92278

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

อิทธิพลของปุ๋ยน้ำจากแหนแดงและสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของขึ้นฉ่าย
ผู้วิจัย วันวิสา วิสาร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89690 ครั้ง ดาวน์โหลด 77 ครั้ง

เรื่อง               อิทธิพลของปุ๋ยน้ำจากแหนแดงและสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของขึ้นฉ่าย

                           Effect of Aqueous Fertilizer from Azolla sp. and Chitosan on Chinese                        Celery Growth

โดย                     นางสาววันวิสา      วิสาร

ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา        2556

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล     สมบูรณ์

 

ศึกษาการใช้ปุ๋ยน้ำจากแหนแดงและสารไคโตซานต่อการเจริญเติบโตของขึ้นฉ่ายโดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ       3 ซ้ำๆ ละ 10 กระถาง รวม120 หน่วยทดลองผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยน้ำจากแหนแดงอัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร มีความเหมาะสมมากที่สุดในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของขึ้นฉ่าย โดยมี จำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.20 ต้น/กอ และ 30.36 กรัม ตามลำดับ และมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลาง คือ 19.80 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยเกร็ดตราทุ่งเศรษฐี เบอร์ 12 สูตร  25-5-5 อัตรา 6 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 20.66 เซนติเมตร แต่มีจำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง คือ 3.66 ต้น/กอ และ 28.10 กรัม ตามลำดับ ในขณะที่การใช้สารไคโตซานอัตรา          1 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร มีความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง ส่วนการไม่พ่นสารมีค่าน้อยที่สุดในทุกดัชนีที่ใช้วัด และมีความแตกต่างกันทางสถิติ

 



ผลของไคโตซานต่อการเข้าทำลายของมอดแป้ง
ผู้วิจัย อรพรรณ สีลาพร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88097 ครั้ง ดาวน์โหลด 15 ครั้ง

ผลของไคโตซานต่อการเข้าทำลายของมอดแป้ง

                                    Effects of Chitosan Coating to Rust-red Flour Beetle Infestation 

โดย                              นางสาว อรพรรณ สีลาพร

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา        อาจารย์ ดร. สังวาล   สมบูรณ์

 

   ศึกษาผลของไคโตซานต่อมอดแป้งแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บโดยการเคลือบภาชนะและให้มอดแป้งสัมผัสไคโตซาน วางแผนการทดลองแบบCompletely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 6 กลุ่มทดลอง ๆ 10 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว พบว่าชั่วโมงที่ 240 ทำให้มีอัตราการตายของมอดแป้งมากที่สุด โดยใช้สารละลายไคโตซานความเข้มข้น 1% รองลงมาคือ น้ำผสมน้ำส้มสายชู 5% สารละลายไคโตซานความเข้มข้น 0.10% 0.01% 0.001% และชุดควบคุม ตามลำดับ โดยมีจำนวนการตายของมอดแป้งที่ 5.3 2.9 2.7 2.6 2.1 และ 1.6 ตามลำดับ คิดเป็น 53% 29% 27% 26% 21% และ 16% ตามลำดับ ดังนั้นสารละลายไคโตซานความเข้มข้น 1% มีประสิทธิภาพในการควบคุมการเข้าทำลายของมอดแป้งได้ดีที่สุด



ผลของอัตราส่วนระหว่างแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียวดำ และแป้งมันสำปะหลังต่อคุณลักษณะบ่งชี้คุณภาพของเส้นก๋วยจั๊บอบแห้ง
ผู้วิจัย กฤษณา ขยายวงศ์ และ กอบแก้ว แหวนเงิน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89288 ครั้ง ดาวน์โหลด 110 ครั้ง

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างแป้งข้าวเจ้า และแป้งข้าวเหนียวดำ ต่อลักษณะบ่งชี้คุณภาพของเส้นก๋วยจั๊บ โดยแปรอัตราส่วน 3 ระดับ คือ 8:1 3.5: 1 และ 3:2 ตามลำดับ ทำการอบแห้งที่อุณหภูมิ 70 °C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง 15 นาที วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเนื้อสัมผัส ได้แก่ ค่าสี ค่าการหดตัว ความสามารถในการคืนตัว ค่า Elasticity และค่า Hardness ผลการศึกษาพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวเหนียวดำ ค่าสี L* และค่าสี b* ของเส้นก๋วยจั๊บมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) แต่ทำให้ค่า a* มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และค่าการหดตัวเมื่อวัดจากน้ำหนักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะเมื่อวัดจากขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมีแนวโน้มลดลง เมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวเหนียวดำ ความสามารถในการคืนตัวเมื่อวัดจากน้ำหนักมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะเมื่อวัดจากเส้นผ่านศูนย์กลางมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวเหนียวดำและลดปริมาณแป้งข้าวเจ้า และค่า Elasticity และ ค่า Hardness ของเส้นก๋วยจั๊บมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) เมื่อเพิ่มปริมาณแป้งข้าวเหนียวดำและลดปริมาณแป้งข้าวเจ้า



การศึกษาปุ๋ยสั่งตัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2ในพื้นที่อำเภอขุขันธ์จังหวัดศรีสะเกษ
ผู้วิจัย ธนารัตน์ คำสุข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88408 ครั้ง ดาวน์โหลด 59 ครั้ง

ศึกษาผลของปุ๋ยสั่งตัดและปุ๋ยอินทรีย์ ในข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ในแปลงเกษตรกร พื้นที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม (Randomized Complete Block Designs, RCBD) มีจำนวน 6 กลุ่มทดลอง3 ซ้ำ พบว่า ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 15.3-3.8-3.8 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 1000 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ความสูงเฉลี่ยของข้าวโพดสูงที่สุดคือ37 92 179 และ 184 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดความสูงที่ 15 30 45 และ 60 วันตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.01) ส่วนน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก พบว่า มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 8.3-0.7-4.6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1000 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 30.5-7.5-7.5 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่และการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 19.5-8-4 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ และปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นการใส่ปุ๋ยแบบเกษตรกรในพื้นที่ให้น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 มีค่าสูงที่สุด ในขณะที่การไม่ใส่ปุ๋ยมีน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกน้อยที่สุด คือ 228 กิโลกรัมต่อไร่


เข้าสู่ระบบ