งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92937
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92877
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92290

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ศึกษาชนิด การเข้าทำลาย และการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มโอ
ผู้วิจัย บุษบง มนัสมั่นคง และ ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา | ปีที่พิมพ์ 2553 | อ่าน 88252 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง

การศึกษาชนิด การเข้าทำลาย และการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มโอ ทำการศึกษาในส้มโอพันธุ์ท่าข่อย ทองดี และขาวแตงกวาของเกษตรกร อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร โดยการสำรวจการทำลายบนต้น และเก็บผลส้มโอในระยะต่าง ๆ คือ ก่อนเก็บเกี่ยว 2 เดือน 1 เดือน 21 วัน 14 วัน 7 วัน และในระยะเก็บเกี่ยว ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2551 – กันยายน 2553 ผลการสำรวจในส้มโอพันธุ์ท่าข่อยจำนวน 37,408 ผล พบการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ 673 ผล ทำการเก็บผลใส่ถาดคลุมด้วยถุงตาข่าย วางไว้ในห้องอุณหภูมิปกตินาน 7 – 10 วัน นำผลมาผ่าตรวจดูเมื่อพบหนอนเก็บเลี้ยงจนเป็นตัวเต็มวัย พบแมลงวันผลไม้ 2 ชนิด คือ Bactrocera dorsalis และ B. correcta ในอัตราส่วน 10:1 เฉพาะพันธุ์ท่าข่อย ส่วนการสำรวจในส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาและทองดีจำนวน 6,258 และ 14,379 ผล ตามลำดับ ไม่พบการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้บนผลส้มโอ ซึ่งการทดสอบการทำแผลบนผลส้มโอ ก็ไม่พบการวางไข่ของแมลงวันผลไม้บนผลปกติของส้มโอทั้ง 2 พันธุ์นี้เช่นกัน แต่หากมีแผลลึกถึงเนื้อส้มโอแมลงวันผลไม้สามารถวางไข่และเจริญเติบโตได้ใน ส้มโอทั้ง 3 พันธุ์ ส่วนการทดสอบการใช้เหยื่อพิษในการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มโอพันธุ์ท่า ข่อยพบว่า สามารถลดการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้บนผลส้มโอลงได้ โดยในแปลงที่พ่นเหยื่อพิษ พบผลถูกทำลาย 0 – 16.66% เฉลี่ย 3.84 ในแปลงไม่พ่นเหยื่อพิษพบผลส้มโอถูกทำลาย 5.98 – 39.29% เฉลี่ย 18.17 วิธีการคือ พ่นยีสต์โปรตีนออโตไลเซทผสมสาร malathion 57% EC อัตรา 200 มิลลิลิตร + 20 มิลลิลิตร ผสมน้ำจนครบ 5 ลิตร ทุก 7 วัน เมื่อผลส้มโออายุ 5 เดือน จนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน โดยพ่นภายในทรงพุ่มใต้ใบ ความสูงระดับประมาณ 100 – 150 ซม. จากพื้นดิน พ่นเป็นจุด 4 จุด/ต้น จุดละ 30 มิลลิลิตร เป็นวงกลมรัศมีประมาณ 0.5 ม. โดยควรพ่นในเวลาเช้าตรู่ เริ่มพ่นล่วงหน้าประมาณ 30 วันก่อนแมลงเข้าทำลาย และสามารถพ่นเหยื่อพิษดังกล่าวบนพืชชนิดอื่น ๆ ที่อยู่รอบแปลงที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันแมลงวันผลไม้ จุดที่พ่นเหยื่อควรเป็นจุดที่อยู่ในร่มเงาและไม่ถูกแสงแดดจัด จึงจะมีประสิทธิภาพดีในการดึงดูดแมลงวันผลไม้



การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้าง
ผู้วิจัย นายณัฐวุฒิ ปัดอาสา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 90091 ครั้ง ดาวน์โหลด 117 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                         การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และ                                                                          เ                               เห็ดกระด้าง                                                                                                                                                        w                              Study of Chitin and Chitosan Quantity from Animal Shells and                                                     ก                              Amtrak Mushrooms                                                                                                    โดย                          นายณัฐวุฒิ ปัดอาสา                                                                                               ชื่อปริญญา                 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)                                                                              ปีการศึกษา                 2558                                                                                                         อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์    

          การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้าง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely  Randomized Design;  CRD) กำหนดให้มี 4 กลุ่มทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ พบว่าปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยและค่าร้อยละของไคตินที่มีมากที่สุดคือ ไคตินจากกาบหอยโดยมีค่าเท่ากับ 852.51 กรัม และ 85.25% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ กับปริมาณไคตินจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นไคตินที่ได้จากเห็ดกระด้าง 734.42กรัม และ 73.44% เปลือกปู 576.09กรัม และ 57.61% ในขณะที่ปลือกกุ้งมีน้ำหนักเฉลี่ยไคตินและร้อยละของไคตินน้อยที่สุดคือ 489.09กรัม และ 48.91% ตามลำดับ ส่วนปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยของไคโตซานและค่าร้อยละของไคโตซาน พบว่า การสกัดจากกาบหอยมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 834.81 กรัม และ 83.48% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณไคโตซานจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นไคโตซานที่ได้จากเห็ดกระด้าง 737.77กรัม และ 73.78% ไคโตซานจากเปลือกปู 546.43กรัม และ 54.64% ในขณะที่ไคโตซานจากเปลือกกุ้งมีน้อยที่สุดคือ 421.44กรัม และ 42.14% ตามลำดับ ส่วนการละลายไคโตซานในน้ำส้มสายชูเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พบว่าเปอร์เซ็นต์การละลายของไคโตซานที่ละลายได้ดีที่สุดคือ ไคโตซานจากกาบหอย โดยมีเปอร์เซ็นต์การละลายอยู่ที่ 42.8% ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณการละลายไคโตซานจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นการละลายไคโตซานจากเปลือกกุ้ง 35.5% ไคโตซานจากเปลือกปู 26.7% และไคโตซานจากเห็ดกระด้างมีการละลายน้อยที่สุดคือ 13.9% ตามลำดับ ปริมาณไคตินและไคโตซานที่สกัดได้จากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้างมีปริมาณแตกต่างกัน โดยการสกัดจากกาบหอยจะมีปริมาณไคติน-ไคโตซาน มากที่สุดและมีปริมาณการละลายในน้ำส้มสายชูดีที่สุด รองลงมาคือเห็ดกระด้าง เปลือกปูและเปลือกกุ้ง ตามลำดับ แต่เห็ดกระด้างมีปริมาณการละลายน้อยที่สุด ดังนั้นหากไม่มี กาบหอย แนะนำให้ใช้เปลือกปู มาทำการสกัด จะทำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ดีเช่นเดียวกัน



ผลกระทบของพาราควอทต่อแมลงช้างปีกใส
ผู้วิจัย นายประวิช เพ็ชรโย | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88029 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                    ผลกระทบของพาราควอทต่อแมลงช้างปีกใส

                           Impacts of Paraquat on Green Lacewing

โดย                     นายประวิช  เพ็ชรโย

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต  (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2558

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

ศึกษาผลกระทบของพาราควอทต่อแมลงช้างปีกใส  เพื่อประเมินหาผลกระทบของสารพาราควอทต่อการรอดชีวิตและการเจริญเติบโตของแมลงช้างปีกใส มีการวางแผนการทดลองแบบ  Completely Randomized Design (CRD)  ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลอง ละ 5 ซ้ำ  ซ้ำละ 10 ตัว พบว่า การใช้สารพาราควอท ในอัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ก็มีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยของแมลงช้างปีกใสมากที่สุด คือ 50 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อระยะเวลานานขึ้น โดยเมื่อสิ้นสุดการทดลอง         (96 ชั่วโมง) การใช้สารพาราควอท อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ก็ยังคงมีแนวโน้มเปอร์เซ็นต์ การตายเฉลี่ยของแมลงช้างปีกใสสูงที่สุด คือ 86 เปอร์เซ็นต์ และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตเฉลี่ย เท่ากับ 14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้จะมีเปอร์เซ็นต์การกินได้เฉลี่ยปานกลาง คือ105.40 เปอร์เซ็นต์ ก็ตาม รองลงมาคือ การใช้สารพาราควอท อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร มีเปอร์เซ็นต์การตาย เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต และเปอร์เซ็นต์การกินได้ของแมลงช้างปีกใสเฉลี่ย เท่ากับ          82 เปอร์เซ็นต์ 18 เปอร์เซ็นต์ และ 97 เปอร์เซ็นต์ (ที่ 96 ชั่วโมง) ตามลำดับ ในขณะที่การใช้น้ำเปล่า (ชุดควบคุม) มีเปอร์เซ็นต์การตาย เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต และเปอร์เซ็นต์การกินได้เฉลี่ย เท่ากับ    34 เปอร์เซ็นต์ 66 เปอร์เซ็นต์ และ 119.40 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้น การใช้สารพาราควอททุกอัตรา มีผลกระทบ ต่อการดำรงอยู่ของแมลงช้างปีกใส ทั้งหมด เพราะถึงแม้จะใช้ในความเข้มข้น          หรืออัตราต่ำๆ ก็มีผลทำให้แมลงช้างปีกใสตายครึ่งหนึ่ง ของแมลงช้างปีกใสทั้งหมด ภายใน 24 ชั่วโมง 



คุณค่าทางอาหารของใบมันสาปะหลังหมักสาหรับโคพื้นเมืองไทย
ผู้วิจัย นาย จีระวัฒน์ พรมสีใหม่ และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88605 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง

บทคัดย่อ
การทาปัญหาพิเศษครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณค่าทางโภชนะในส่วนของใบมันสาปะหลังหมักสาหรับโคพันธุ์บราห์มันโดยนาใบมันสาปะหลังหมักกับกากน้าตาลในระดับต่างๆกันได้แก่ 0, 10, 15, 20 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการอาหารในช่วงฤดูกาลขาดแคลน ตามแผนการทดลองแบบCompletely Randomized Design(CRD)
การศึกษาส่วนประกอบทางเคมี พบว่าใบมันสาปะหลังหมักร่วมกับกากน้าตาลที่ระดับ 15 เปอร์เซ็นต์และน้า 100 ml. ระยะเวลาการหมัก21 วัน เป็นเวลาที่ทาให้พืชหมักมีคุณค่าทางอาหารสูงที่สุดโดยมีปริมาณโปรตีน 24.86เปอร์เซ็นต์ และค่า NDF สูงกว่ากลุ่มอื่นคือ 27.06 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05)และการประเมินคุณภาพพืชหมักของกลุ่มนี้พบว่ามีค่าคะแนนประเมินสูงสุดคือ 23 คะแนน จาก 25 คะแนน จะมีสีน้าตาลอ่อน มีกลิ่นหอมเปรี้ยวคล้ายผลไม้ดอง
คาสาคัญ : ใบมันสาปะหลัง, กากน้าตาล, โคบราห์มัน
ABSTRACT This special issue is aimed at evaluating the nutritional value of the cassava leaves for Brahman Cattle feeding by fermenting the difference levels of molasses ( 0, 10, 15, 20 ) and Cassava leaves. To guide the way to manage of food during season shortage According to the plan of Completely Randomized Design (CRD)
Study of chemical composition, It was found that the cassava leaves were fermented with 15 percent molasses and 100 ml water. The 21 days fermentation time was the highest nutrient value of the fermented plants with the highest protein content. 24.86 percent and NDF 27.06% (P <0.05) and quality of fermented plants showed that this group shourd the high guality score of 23 out of 25.
Keywords: Cassava leaves, Molasses, Brahman Cattle


เข้าสู่ระบบ