งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นางสาวริยากร ณุวงษ์ศรี และ นางสาวกาญจนา สุขชัย | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88342 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารแอนตี้ออกซิแดนท์เสริมในสูตรสารละลายเจือ
จางน้าเชื้อสดโตต่ออัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติของอสุจิ โดยใช้แผนการทดลอง
แบบ Randommized Complete Blok Design (RCBD) ใช้น้าจากพ่อพันธุ์ โฮสไตร์ฟรีเชี่ยน จานวน 1 ตัว
รีดน้าเชื้อทุกสัปดาห์ แบ่งน้าเชื้อออกเป็น 5 ส่วน เจือจางด้วยสารสารเจือจาง Egg-Yolk Tris ที่เสริมด้วย
กลุ่ม วิตามิน อี 10 μg/ml (กลุ่มควบคุม) หรือ น้ามันมะกอก 0.6 μg/ml หรือ น้ามันมะพร้าว 0.5 μg/ml
หรือ น้ามันงา 1 μg/ml หรือ น้ามันราข้าว 1μg/ml ทาการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ตรวจ
ทุกๆ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 วัน ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติ
ของอสุจิ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ที่ชั่วโมงที่ 0, 24, 48, 72, 96 และ 120
ค้าส้าคัญ: น้าเชื้อสด, แอนตี้ออกซิแดนท์, วิตามิน อี, น้ามันมะกอก, น้ามันมะพร้าว, น้ามันงา, น้ามันราข้าว
Abstract
The purposes of this study were to investigate the effects of supplementation of
antioxidant in bull liquid semen extender on sperm viability, sperm motility and normality.
Experimental design was conducted using Randommized Complete Blok Design (RCBD).
Semen was collected from one Holstein Friesian bull once a week for tour week and
divided into 5 portions for each treatment. Semen were diluted with egg-yolk tris diluted
supplemented with vitamin E 10 μg/ml (control) or olive oil 0.6 μg/ml or coconut oil 0.5 μg/ml
or sesame oil 1 μg/ml or rice bran oil 1 μg/ml. Diluted semen were stored at 5° C and
examined for semen quality every 24 hours for 4 days. It was found that there semen viability,
sperm motility and normality. Were not significant different among treatment (p> 0.05) on
days 0, 24, 48, 72, 96 and 120.
Keywords: liquid semen, antioxidant, vitamin E, olive oil, coconut oil, sesame oil, rice bran oil
ผู้วิจัย จันทิมา ขันแข็ง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89279 ครั้ง ดาวน์โหลด 66 ครั้ง
การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม Using Coconut Husk to Substitute Sawdust for Oyster Mushroom(Pleurotusostreatus) Production โดย นางสาวจันทิมา ขันแข็ง ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2556 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาการบ่มเชื้อของเห็ดนางรม การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อน้อยที่สุดคือ 17.13 วัน รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ยคือ 19.53 21.00 23.00 และ 27.26 วัน ตามลำดับ วัสดุเพาะที่ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยเท่ากับ 47.00 44.20 33.60 22.60 และ 18.40 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% ให้จำนวนน้ำหนักเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 376.80 373.8 173.00 47.70 และ 44.60 กรัม ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมของขุยมะพร้าวในการใช้เป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อย คือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ใช้ขุยมะพร้าว 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมได้ดีที่สุด เนื่องจากมีจำนวนดอกเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดมีระยะเวลาในการบ่มเชื้อปานกลาง (19.53 วัน)
ผู้วิจัย ผกาแก้ว ทาระเกต และคณะวิจัย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88546 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
ผู้วิจัย นางสาวนิตยา มูลรัตน์ และ นางสาวสุรณีย์ ท้องที่ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 88509 ครั้ง ดาวน์โหลด 59 ครั้ง
ปฏิกิริยาสีน้ำตาลในผักและผลไม้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่พืชถูกทำลาย จากการปอกเปลือกหรือตัดแต่ง ซึ่งจะทำให้เอนไซม์ PPO (Polyphenol Oxidase) ในเนื้อเยื่อและ substrate รวมตัวกันอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญและเป็นตัวกำหนดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปขั้นต่ำดังนั้นจึงมีการศึกษาวิธีการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาล โดยใช้สารธรรมชาติ ราคาถูก หาง่าย และปลอดภัยต่อผู้บริโภค งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา ความเข้มของสารละลาย Sodium Chloride (NaCl) และระยะเวลาที่ใช้แช่แอปเปิลตัดแต่งที่แตกต่างกัน ความเข้มข้นที่ศึกษา คือ NaCl 0.25g/l, 0.5g/l, 1g/l ระยะเวลาในการแช่ 1, 3 และ 5 นาที เพื่อเปรียบเทียบกับการแช่แอปเปิลตัดแต่งใน Citric acid ที่มีผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาลในแอปเปิลตัดแต่ง โดยวิเคราะห์ค่าทางกายภาพและจุลินทรีย์ ได้แก่ ค่าความสว่าง (L) ค่าความแน่นเนื้อ (Firmness) จำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด(TPC) ผลการศึกษาพบว่า เมื่อแช่แอปเปิลตัดแต่งในสารละลาย NaCl 1g 5 นาที มีค่าความสว่าง (L) สูงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา (79.64 - 75.88) ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) กับตัวอย่างที่แช่ใน Citric acid ส่วนค่าความแน่นเนื้อเมื่อแช่ในแอปเปิลตัดแต่งสารละลาย NaCl ที่มีความเข้มข้นเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ค่าความแน่นเนื้อลดลงแสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นของ NaCl มีผลต่อความแน่นเนื้อของแอปเปิลตัดแต่ง การศึกษาด้านจุลินทรีย์ในแอปเปิลตัดแต่ง พบว่า จำนวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นตามอายุการเก็บรักษาทั้งตัวอย่างที่ผ่านการแช่ใน NaCl และกรดซิตริก การประเมินคุณลักษณะทางด้านประสาทสัมผัสของแอปเปิลตัดแต่ง ด้านความชอบต่อสี กลิ่น รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิลตัดแต่งที่แช่ใน Citric acid (P>0.05)