งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92943
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92890
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92296

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของกระบวนการเตรียมแป้งที่มีต่อคุณภาพของปาท่องโก๋แช่เยือกแข็ง
ผู้วิจัย ศิรัญญา ละดาดก และ ลดาวัลย์ เบิกบาน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90903 ครั้ง ดาวน์โหลด 171 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการเตรียมแป้งที่มีผลต่อปาท่องโก๋แช่เยือกแข็งโดยศึกษาผลของกระบวนการเตรียมแป้งปาท่องโก๋ก่อนการแช่เยือกแข็งที่แตกต่างกัน คือ แป้งขึ้นรูป (ไม่ทอด) และ แป้งขึ้นรูปทอด 2 นาที ก่อนการแช่เยือกแข็งด้วยวิธีแช่เยือกแข็งแบบช้าที่อุณหภูมิ –18C ที่มีผลต่อ ปริมาณไขมัน สี เนื้อสัมผัสของตัวอย่างหลังการทอดปาท่องโก๋ และการยอมรับของผู้บริโภค พบว่า ปาท่องโก๋ที่เตรียมจากแป้งทอด 2 นาที ที่อุณหภูมิ 170 – 180C จะให้ค่า L* a* และ b* เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับตัวอย่างควบคุม (P≤0.05) ผลการวิเคราะห์ปริมาณไขมัน พบว่าปาท่องโก๋ที่เตรียมจาก แป้งขึ้นรูปมีปริมาณไขมันที่น้อยกว่าตัวอย่างควบคุม และแป้งทอด 2 นาที โดยมีค่าร้อยละ 8.87 21.75 และ 15.32 ตามลำดับ (P≤0.05) ผลของการวิเคราะห์เนื้อสัมผัส โดยใช้เครื่องมือ Texture profile analyser พบว่าปาท่องโก๋ที่เตรียมจากแป้งทอด 2 นาที มีค่าความกรอบที่สูงกว่าตัวอย่างควบคุม (P≥0.05) ส่วน ค่าความแข็งมีค่าที่ต่ำกว่าตัวอย่างควบคุม (P≤0.05) ด้านผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสของปาท่องโก๋แช่เยือกแข็ง พบว่า แป้งทอด 2 นาทีได้รับการยอมรับทางลักษณะปรากฏ สี เนื้อสัมผัส และความชอบรวม จากผู้ประเมินสูงสุดจึงถือว่าเป็นสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตต่อไปในอนาคต



ผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้ง
ผู้วิจัย นางสาวรัตญาก้อนคำบา และ นางสาวอภิญญา ดวงไข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89720 ครั้ง ดาวน์โหลด 84 ครั้ง

บทคัดย่อ

หัวข้อปัญหาพิเศษ         ผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์

                             ที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้ง

นักศึกษา                   นางสาวรัตญา    ก้อนคำบา

                    นางสาวอภิญญา   ดวงไข

สาขาวิชา                  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ กิตติพร  สุพรรณผิว

 

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งโดยใช้สภาวะในการอบแห้งที่แตกต่างกัน 3วิธี คือ1.) อบที่ 60 องศาเซลเซียสนาน 7 ชั่วโมง 2.) อบที่ 70 องศาเซลเซียสนาน 6 ชั่วโมง และ3.) อบที่ 80 องศาเซลเซียสนาน 5 ชั่วโมงนำมาวัดค่าสีและค่าความชื้น จากนั้นนำผลิตภัณฑ์บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกัน2 ชนิด คือ ถุงอลูมิเนียมฟอยล์และเมทัลไลท์ฟอยล์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ค่าความแข็งและปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด  พบว่าผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่อบที่สภาวะ3มีค่าสี L* a* b*สูงที่สุด เท่ากับ 42.69  -5.41 และ 23.09 ตามลำดับ และมีปริมาณความชื้นต่ำที่สุดคือ ร้อยละ  4.42  ด้านความแข็งของผลิตภัณฑ์เริ่มต้นไม่แตกต่างกัน (P>0.05)แต่เมื่อทำการเก็บรักษาเป็นเวลา 4  สัปดาห์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่สภาวะที่3 และบรรจุในถุงเมทัลไลท์-ฟอยล์ให้ค่าความแข็งต่ำที่สุด(P≤0.05) คือ 0.67 นิวตัน อีกทั้งยังมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดต่ำที่สุด คือ 1×102 cfu/g ทั้งนี้พบว่ากระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่สภาวะที่ 2 และ สภาวะที่ 3มีปริมาณจุลินทรีย์อยู่ระหว่าง 1.00-3.33×102 cfu/gซึ่งไม่เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสาหร่ายทะเลอบ (มผช. 515/2547)จากการทดลองนี้กล่าวได้ว่าในการอบแห้งที่สภาวะที่3 และบรรจุในถุงเมทัลไลท์-ฟอยล์เหมาะสมต่อการผลิตผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งมากที่สุด เนื่องจากยังคงมีคุณภาพด้านความกรอบและมีการเจริญของจุลินทรีย์ต่ำอีกทั้งมีค่าสีเขียวและค่าความสว่างมากที่สุด

คำสำคัญกระเจี๊ยบเขียว การอบแห้งบรรจุภัณฑ์



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆต่อการ เจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู
ผู้วิจัย จิรพงษ์ หงษ์คำ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90949 ครั้ง ดาวน์โหลด 206 ครั้ง

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆต่อการ                                                เจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
                                    Comparison  of  Organic  Fertilizer  Efficiency  on  Growth and                                  Yield of Tomato var. Seeda ‘phedchompoo F1

โดย                              นายจิรพงษ์  หงษ์คำ

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน

 

               งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ  ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 และเพื่อให้ทราบถึงชนิดของ
ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 โดยวางแผนการทดลองแบบ  RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆละ 12 ต้น ดังนั้นกลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยน้ำหมักจากเศษผัก กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยน้ำหมักมูลไส้เดือน ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิต
มะเขือเทศสีดาเพชรชมพู F1 ได้ เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น ขนาดผลเฉลี่ย ผลเกรด C หรือ รหัส 3 และความแน่นเนื้อเฉลี่ยของผลมากที่สุด คือ  61.47 เซนติเมตร 27 ผลต่อต้น 34.3 mm. 95.56% และ 3.34 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำครับ นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ทำให้มีน้ำหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด คือ 19.23 กรัม รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักมลูสกร ให้น้ำหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด ไม่แตกต่างทางสถิติจากการใช้ปุ๋ยหมัก
โบกาฉิ คือ 18.96 กรัม และมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น ขนาดของผลสดเฉลี่ย  และผลเกรด C หรือ รหัส 3 อยู่ในระดับปานกลาง คือ 56.39 เซนติเมตร 33.3 mm. และ 64.44 % ตามลำดับ และยังมีแนวโน้มให้ผลเกรด B หรือ รหัส 2 มากที่สุด คือ 22.22% ส่วน %TSS ไม่มีความแตกต่างทางสถิติมีค่าอยู่ระหว่าง 5.50-5.67 °Brix

 



อิทธิพลของ Heiter และน้ำมะนาว ต่อการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟิน- นาคราชชนิดใบหยาบ
ผู้วิจัย ปนัดดา สุภาษร | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88641 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                  อิทธิพลของ Heiter และน้ำมะนาว ต่อการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟิน-

นาคราชชนิดใบหยาบ

Effect of Heiter and Lemonade on Vase Life of Polynesian Foot Fern

(Davallia solida)

โดย                    นางสาวปนัดดา  สุภาษร

ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา          2557

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.สุจิตรา  สืบนุการณ์

 

ศึกษาอิทธิพลของ Heiter และน้ำมะนาว ต่อการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟินนาคราชชนิดใบหยาบ โดยวางแผนการทดลองแบบ 6x 5Factorial in Completely Randomized Design

เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำประปา) รวมทั้งหมด 31 กลุ่มทดลอง แต่ละกลุ่มทดลองมี 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ก้าน เป็นเวลา 26 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 20 ml มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานที่สุด คือ 21.10 วัน มีเปอร์เซ็นต์การเหลืองของใบน้อยที่สุดเมื่อสิ้นสุดการทดลอง (26 วัน) คือ 31.76% ของพื้นที่ใบทั้งหมด และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดปานกลาง คือ 9.36% รองลงมาได้แก่ การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 15 ml หรือ 5 ml มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 20.80 วัน และ 20.00 วัน ตามลำดับ และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด เท่ากับ 9.40% และ 4.93% ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่า การใช้สารละลาย Heiter ร่วมกับ น้ำมะนาวสำเร็จรูปในความเข้มข้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่า pH ของสารละลายมีความเป็นด่างมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสี ของใบจากสีเขียวเป็นสีเหลืองอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากต้องการยืดอายุการปักแจกันของใบเฟินนาคราชชนิดใบหยาบ ควรใช้ความเข้มข้นของสารละลาย Heiter เท่ากับ 0.1% ร่วมกับการแปรผันความเข้มข้นของน้ำมะนาวสำเร็จรูประหว่าง 5-20 ml และควรปรับ pH ของสารละลายให้มีสภาพเป็นกรด (pH 3-4) จะทำให้สามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานกว่าชุดควบคุม (น้ำประปา) ที่มีอายุการปักแจกันเฉลี่ยเพียง 16.39 วัน และมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01)

คำสำคัญ  ใบเฟินนาคราชชนิดใบหยาบ  Heiter  น้ำมะนาวสำเร็จรูป  การยืดอายุการปักแจกัน


เข้าสู่ระบบ