งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92944
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92892
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92296

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว
ผู้วิจัย เกศศิริ วงษ์ลา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 87960 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                การใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว

                      Using Eucalyptus Branch to Substitute Sawdust for Lentinus

                      Squarrosulus Production

โดย                 นางสาวเกศศิริ  วงษ์ลา

ชื่อปริญญา         วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2557

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.เสกสรร  ชินวัง

                     

    ศึกษาการใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5

กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 1 ถุง  โดยให้กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75   เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50   เปอร์เซ็นต์

กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25   เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 75 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 5 กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลอง พบว่า อัตราส่วน

ที่เหมาะสม คือ ขี้เลื่อย 75 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.23 ดอกต่อถุง และ 50.33 กรัมต่อถุง ตามลำดับ

แต่มีระยะเวลาในการบ่มของเชื้อปานกลาง (23.66) วัน รองลงมาได้แก่ ขี้เลื่อย 50 เปอร์เซ็นต์

กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์ และอัตราส่วนที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากให้จำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดต่ำที่สุด นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วน กิ่งยูคาลิปตัสสับ ที่เพิ่มสูงขึ้นในวัสดุเพาะ พบว่า จำนวนดอกเห็ด และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงตามอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น

 

คำสำคัญ เห็ดขอนขาว กิ่งยูคาลิปตัสสับ ขี้เลื่อยยางพารา ผลผลิต



การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆต่อการ เจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู
ผู้วิจัย จิรพงษ์ หงษ์คำ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90949 ครั้ง ดาวน์โหลด 206 ครั้ง

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆต่อการ                                                เจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
                                    Comparison  of  Organic  Fertilizer  Efficiency  on  Growth and                                  Yield of Tomato var. Seeda ‘phedchompoo F1

โดย                              นายจิรพงษ์  หงษ์คำ

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน

 

               งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ  ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 และเพื่อให้ทราบถึงชนิดของ
ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 โดยวางแผนการทดลองแบบ  RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆละ 12 ต้น ดังนั้นกลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยน้ำหมักจากเศษผัก กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยน้ำหมักมูลไส้เดือน ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิต
มะเขือเทศสีดาเพชรชมพู F1 ได้ เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น ขนาดผลเฉลี่ย ผลเกรด C หรือ รหัส 3 และความแน่นเนื้อเฉลี่ยของผลมากที่สุด คือ  61.47 เซนติเมตร 27 ผลต่อต้น 34.3 mm. 95.56% และ 3.34 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำครับ นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ทำให้มีน้ำหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด คือ 19.23 กรัม รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักมลูสกร ให้น้ำหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด ไม่แตกต่างทางสถิติจากการใช้ปุ๋ยหมัก
โบกาฉิ คือ 18.96 กรัม และมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น ขนาดของผลสดเฉลี่ย  และผลเกรด C หรือ รหัส 3 อยู่ในระดับปานกลาง คือ 56.39 เซนติเมตร 33.3 mm. และ 64.44 % ตามลำดับ และยังมีแนวโน้มให้ผลเกรด B หรือ รหัส 2 มากที่สุด คือ 22.22% ส่วน %TSS ไม่มีความแตกต่างทางสถิติมีค่าอยู่ระหว่าง 5.50-5.67 °Brix

 



การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม
ผู้วิจัย จันทิมา ขันแข็ง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89282 ครั้ง ดาวน์โหลด 66 ครั้ง

การใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรม                                                   Using Coconut Husk to Substitute Sawdust for                                                         Oyster Mushroom(Pleurotusostreatus) Production                   โดย                              นางสาวจันทิมา ขันแข็ง                                                               ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)                                              ปีการศึกษา                   2556                                                                                        อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง

ศึกษาการใช้ขุยมะพร้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุงๆ ละ 320 กรัม ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาการบ่มเชื้อของเห็ดนางรม การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อน้อยที่สุดคือ 17.13 วัน รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100% มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ยคือ 19.53  21.00  23.00 และ 27.26 วัน ตามลำดับ วัสดุเพาะที่ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณดอกเฉลี่ยเท่ากับ 47.00  44.20  33.60  22.60 และ 18.40 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75% ขุยมะพร้าว 25% ให้จำนวนน้ำหนักเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100 % การใช้ขี้เลื่อย 50% ขุยมะพร้าว 50% การใช้ขี้เลื่อย 25% ขุยมะพร้าว 75% และการใช้     ขุยมะพร้าว 100 % ให้ปริมาณน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 376.80 373.8 173.00 47.70 และ 44.60 กรัม ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมของขุยมะพร้าวในการใช้เป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อย       คือ การใช้ขี้เลื่อย 75% ใช้ขุยมะพร้าว 25%  สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการผลิตเห็ดนางรมได้ดีที่สุด เนื่องจากมีจำนวนดอกเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดมีระยะเวลาในการบ่มเชื้อปานกลาง (19.53 วัน)

 



การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 : กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย เฉลิมศักดิ์ ธุรี | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88666 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                             การเปรียบเทียบปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ

งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 : กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

Comparison of Chemical and Organic Fertilizer on Growth and

Yield of Sesame (cv.Ubonratchathani 2) : A Case Study of

Nam Yuen District, Ubon RatchathaniProvince

โดย                                        นายเฉลิมศักดิ์  ธุรี

ชื่อปริญญา                          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                         2557

อาจารย์ที่ปรึกษา            อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา

 

งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตงาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ 5 กลุ่มทดลอง ได้แก่ 1) ไม่ใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ 3) ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้ง 4) ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1000 กก./ไร่ และ 5) ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีความสูงเฉลี่ยของงามากที่สุด คือ 4.8  8.2  20.6  30.6  42.8 และ 63.4 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดที่ 10  20  30  40 50 และ 60 วันหลังปลูก และมีความแตกต่างกันทางสถิติ ( p ≤ 0.01) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยมีความสูงเฉลี่ยของงาน้อยที่สุด ส่วนน้ำหนักแห้งทั้งหมด น้ำหนักเมล็ดงา และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว พบว่าการใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กก./ไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 15 กก./ไร่ มีค่าสูงที่สุดคือ 2,773 กิโลกรัมต่อไร่ 315 กิโลกรัมต่อไร่ และ 0.114 ตามลำดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ ( p ≤ 0.01)

คำสำคัญ   งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2  ปุ๋ยเคมี  ปุ๋ยคอก (มูลวัว)


เข้าสู่ระบบ