งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย อโนชา ธุรี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89362 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพ
หลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก
Effect of Hot Water Dip Combined with Chitosan Coating Substances on Postharvest Quality of Super Hot Bird Chilli (Capsicum frutescens Linn.) in Ripe Stage
โดย นายอโนชา ธุรี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ
การศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการ เก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยนำผลพริกไปจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 55˚C และน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 4 นาที พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50˚C นาน 4 นาที สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักสด ลดเปอร์เซ็นต์การเสียหาย และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน และการทดลองที่ 2) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50˚C นาน 4 นาที ร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานความเข้มข้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักสด การเปลี่ยนแปลงสีเปลือก ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน ตลอดจนมีคะแนนการยอมรับของผู้บริโภคต่อลักษณะที่ปรากฏของผลพริกขี้หนูสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างการจุ่มน้ำร้อนและการเคลือบผิวด้วยไคโตซาน สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท และยืดอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานกว่าการใช้วิธีการเดียว
ผู้วิจัย นางสาวปนัดดา เยื่อใย และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 87346 ครั้ง ดาวน์โหลด 36 ครั้ง
บทคัดย่อ
การทดลองนี้ใช้ไก่ไข่ 100 ตัว ระยะเวลาทดสอบ 13 สัปดาห์ ประกอบด้วย 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 การใช้ผักหนามซึ่งมีองค์ประกอบของฮอร์โมนจากพืช (Phytoestrogen) บดผสมในสูตรอาหารไก่ไข่ประกอบด้วย T1 แกลบบด 3% T2 ผักหนาม 1% T3 ผักหนาม 2% T4 ผักหนาม 3% T5 กลุ่มอาหารควบคุม ผลการทดลองพบว่าการใช้ผักหนามในระดับ 1% ให้ผลดีที่สุดต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่ แสดงว่าระดับฮอร์โมนที่ได้รับจากผักหนาม 1% สมดุลในการส่งเสริมการให้ไข่ดีที่สุด การทดลองที่ 2 การใช้พืชโปรตีนสูง (High Protein Plants) ผสมในสูตรอาหารไก่ไข่ ประกอบด้วย T1 ใบมะรุม 3% T2 ใบกระถิน 3% T3 ใบมันสำปะหลัง 3% T4 ใบหม่อน 3% T5 อาหารควบคุม ผลของการทดลองพบว่าการใช้ใบหม่อนและใบมันสำปะหลังให้ผลดีที่สุดและใช้อาหารในการเปลี่ยนเป็นไข่น้อยที่สุด
คำสำคัญ ผักหนาม แกลบ ใบมันสำปะหลัง ใบหม่อน ใบมะรุม ใบกระถิน
Abstract
This experiment used 100 hens for 13 week trials. The Trials were divided into two experimental groups. The first expeniment containet 5 treatments as; T1.Husk 3% T2.Lasia spinosa 1% T3.Lasia spinosa 2% T4.Lasia spinosa 3% T5.Control feed. The resuets found that T2 Lasia 1% showed a higest perfomance on egg production. The second experiment contained 5 treatments ; T1. Moringa leaves 3% T2. Acacia leaves 3% T3. Cassava leaves 3% T4. Mulberry Leaves 3% T5. Control feed. The results showed that the use of mulberry leaves and cassava leaves gave the best results.
Keyword : Lasia spinosa, Husk , mulberry leaves, Mulberry Leaves, Moringa leave, Acacia leaves
ผู้วิจัย จักรพรรดิ อมรสินและคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88838 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง
ผู้วิจัย สมศักดิ์ ชอบด่านกลาง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88303 ครั้ง ดาวน์โหลด 13 ครั้ง
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อคุณภาพของ มะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
Comparison of Growth Regulators Efficiency on Quality of Tomato Fruit var. Seeda ‘phedchompoo F1’
โดย นายสมศักดิ์ ชอบด่านกลาง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตต่อคุณภาพของมะเขือเทศพันธุ์ สีดาเพชรชมพู F1 และ เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของชนิดสารควบคุมการเจริญเติบโตจากธรรมชาติที่สามารถใช้ทดแทนสารควบคุมการเจริญเติบโตสังเคราะห์ ในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์ สีดาเพชรชมพู F1วางแผนการทดลองแบบ Randomized Completely Block Design (RCBD) 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใช้ไคตซาน มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด (57.26 ซม.) มีน้ำหนักผลเฉลี่ย ขนาดของผลและความแน่นเนื้อ มากที่สุด คือ 19.05 กรัม 37.1 มิลลิเมตร และ 2.89 กก./ตร.ซม. และผลผลิตที่ได้จะมีขนาด 36 ถึง 40 มิลลิเมตร. (รหัสขนาด 2) ส่วนจำนวนผลผลิตและน้ำหนักผลผลิตรวมอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ การใช้น้ำหมักผลไม้ น้ำส้มควันไม้ และสปีดเวย์ ตามลำดับ ดังนั้นการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 ที่เหมาะสมที่สุดคือ ไคโตซาน และเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ฉีดสารควบคุมการเจริญเติบโต พบว่า การฉีดสารควบคุมการเจริญเติบโตในทุกกลุ่มทดลองให้ผลดีกว่าในการปลูกมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1