งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ธวัชชัย อารีย์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89281 ครั้ง ดาวน์โหลด 159 ครั้ง
ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดา โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Desing, CRD) ผลการทดลองพบว่า การใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของมะเขือเทศพันธุ์สีดามากที่สุด คือ 56.13 ซม. ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว: ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 39.73 ซม. ในขณะที่การใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยสูงสุดคือ 7.58 ดอก และการใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 5.91ดอก สำหรับจำนวนผลต่อช่อ พบว่า การใช้ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนผลต่อช่อเฉลี่ยสูงที่สุด 5.91 ผล ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 94.67 กรัม ในขณะที่การใช้ วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 57.67 กรัม
ผู้วิจัย นางสาวพิมประพา สวัสดิ์วงษ์ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88355 ครั้ง ดาวน์โหลด 33 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหอมแบ่งพันธุ์ลับแล
Effect of Mulching on Growth and Yield of Laplae Multiply Onion
โดย นางสาวพิมประพา สวัสดิ์วงษ์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประภัสสร น้อยทรง
ศึกษาผลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหอมแบ่งพันธุ์ลับแล วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Designs(RCBD) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น4 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 1 แปลง ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใช้วัสดุคลุมดิน กลุ่มทดลองที่ 2 คลุมดินด้วยแกลบดิบ กลุ่มทดลองที่ 3 คลุมดินด้วยฟางข้าว และกลุ่มทดลองที่ 4 คลุมดินด้วยผักตบชวา ผลการทดลองพบว่า ด้านการเจริญเติบโต การใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด คือ 26.71 เซนติเมตร และมีแนวโน้มให้ความยาวรากเฉลี่ยและอุณหภูมิภายใต้วัสดุปลูกช่วงเที่ยงและช่วงเย็นน้อยที่สุด คือ 7.00 เซนติเมตร และ 32.77 องศาเซลเซียส และ 31.48 องศาเซลเซียส ตามลำดับ รองลงมาคือ การใช้ฟางข้าว มีความสูงเฉลี่ยของ-ต้น ความยาวรากเฉลี่ย อุณหภูมิภายใต้วัสดุปลูกช่วงเที่ยงและช่วงเย็นปานกลาง คือ 25.15 เซนติเมตร 7.20 เซนติเมตร 33.98 องศาเซลเซียส และ 32.33 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ส่วนด้านการให้ผลผลิตพบว่า การใช้แกลบดิบเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีแนวโน้มให้จำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยทั้งกิโลกรัมต่อแปลงและกิโลกรัมต่อไร่มากที่สุด คือ 4.29 กอต่อต้น 0.57 กิโลกรัมต่อแปลง และ 90.66 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ รองลงมาคือ การใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุคลุมดิน มีจำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยทั้งกิโลกรัมต่อแปลงและกิโลกรัมต่อไร่ เท่ากับ 4.10 กอต่อต้น 0.53 กิโลกรัมต่อแปลง และ 85.33 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ดังนั้นหากต้องการเลือกใช้วัสดุคลุมดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของหอมแบ่ง ถ้าดูในภาพรวม การเลือกใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุคลุมดิน น่าจะมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือแกลบดิบ ถึงแม้ว่าบางดัชนีตัวชี้วัดของผักตบชวาจะมีค่าน้อยกว่าแกลบดิบ แต่ก็ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และการมีวัสดุคลุมดินช่วยลดอุณหภูมิของวัสดุปลูกได้ดีกว่าการไม่ใช้วัสดุคลุมดิน
ผู้วิจัย อุบล พุ่มจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90169 ครั้ง ดาวน์โหลด 190 ครั้ง
ศึกษาอิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีผลต่อการขยายพันธุ์ม่วงเทพรัตน์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 7 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) แบ่งการทดลองออกเป็น 14 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 5 ซ้ำ ๆ ละ 1 ขวด ผลการทดลองพบว่า เมื่อนำชิ้นส่วนตายอดและตาข้างของม่วงเทพรัตน์มาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0, 0.5, 1, 1.5, 2, 2.5 และ 3 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็นเวลา
4 สัปดาห์ (28 วัน) ชิ้นส่วนและสูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงม่วงเทพรัตน์และพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ คือ ชิ้นส่วนตาข้างที่ไม่เติม BA มีจำนวนยอดใหม่มากที่สุด
(5.20 ยอด/ชิ้นส่วน) และมีการพัฒนาของต้นกล้าอย่างรวดเร็ว มีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า
มากที่สุด (2.48 เซนติเมตร) และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตสูงที่สุด (100%) รองลงมาได้แก่
การใช้ชิ้นส่วนตายอดร่วมกับ BA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีการแตกยอดและเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตปานกลาง ได้แก่ 3.60 ยอด/ชิ้นส่วนและ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
ผู้วิจัย ขจรศักดิ์ บัวขาว | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89467 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง
ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง จานวน 3 ซ้า พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 50% ตามคาแนะนาของกรมวิชาการเกษตรคือ15.25-3.75-3.75 กก. (N-P2O5-K2O) ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 500 กก./ไร่ แบ่งใส่ 3ครั้ง (กลุ่มทดลองที่ 4) มีความสูงเฉลี่ยมากที่สุดคือ 33, 56, 73, 101 และ 132 เซนติเมตร เมื่อวัดความสูงที่ 14, 21, 28, 35 และ 42 วันหลังงอก ตามลาดับ น้าหนักผลผลิตฝักสดปอกเปลือกเฉลี่ย 694 กิโลกรัมต่อไร่ และ และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญ (P=0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยสาหรับ น้าหนักผลผลิตฝักทั้งเปลือกพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 50% ตามคาแนะนาของกรมวิชาการเกษตรคือ15.25-3.75-3.75 กก. (N-P2O5-K2O) ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 500 กก./ไร่ แบ่งใส่ 3ครั้ง (กลุ่มทดลองที่ 4) มีแนวโน้มให้น้าหนักผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 1130 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติดังกลุ่มทดลองต่างๆ