งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นางสาวศิรินภา มหิศยา และ นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89847 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง
บทคัดย่อ
หัวข้อปัญหาพิเศษ การเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริมโพรไบโอติก
นักศึกษา นางสาวศิรินภา มหิศยา
นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิราศ กิ่งวาที
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยน้ำว้าแช่อิ่มอบแห้ง
ว่าในกระบวนการแช่อิ่ม อบแห้ง และอุณหภูมิในการเก็บรักษา จะมีผลต่อการเหลือรอดของ
เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกหรือไม่ โดยการแช่อิ่มกล้วยด้วยสารละลายน้ำตาล 30 °Brix ที่มีเชื้อจุลินทรีย์
L. acidophilus เริ่มต้น 8 log cfu/ml แช่อิ่มเป็นระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง พบว่าที่ 24 ชั่วโมง
มีการเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.19 log cfu/g จากนั้นศึกษาอุณหภูมิใน
การอบว่า มีผลต่อการเหลือรอดของจุลินทรีย์ โดยใช้ตัวอย่างจากการแช่อิ่ม 2 ตัวอย่าง อบที่อุณหภูมิ
37 และ 55 °C พบว่าตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 37 °C มีการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์
โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.11 log cfu/g ส่วนในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 55 °C มีการ
เหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกน้อยที่สุด มีเชื้อ 5.42 log cfu/g ตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่
37 °C มีค่า aW สูง และศึกษาการเหลือรอดในระหว่างการเก็บรักษาของกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริม
โพรไบโอติก บรรจุแบบสุญญากาศ เก็บในอุณหภูมิที่แตกต่างกันคือ อุณหภูมิ 25 °C และอุณหภูมิ
4 °C พบว่าในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่ 37 °C เก็บรักษาในอุณหภูมิ 25 °C มีการเหลือรอด
ของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด
ผู้วิจัย วิภารัตน์ พิจารณ์ และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88616 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการหาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดใบแคป่า โดยใช้ 95% เมทานอลเป็นตัวทำละลาย ผลผลิตร้อยละของสารสกัดแคป่าอยู่ที่ 29.52 ผลการศึกษาการหาปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดอยู่ที่ 9.59±0.2362 mg GAE/g ของสารสกัดหยาบและปริมาณสารฟลาโวนอยด์ทั้งหมดอยู่ที่ 5.04±0.20 mg QE/g ของสารสกัดหยาบ การศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH· และ reducing power ของสารสกัดจากใบแคป่า พบว่าสารสกัดแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยมีความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ DPPH·โดยมีค่า IC50 อยู่ในช่วง 168.50±1.17 mg/L ความสามารถในการรีดิวซ์พบว่า สารสกัดใบแคป่ามีความสามารถในการรีดิวซ์เหล็กและมีฤทธิ์เพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นที่ใช้ การทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Agar well diffusion พบว่า สารสกัดใบแคป่ายังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียบางตัวได้ไม่ดี แต่เชื่อว่าสารประกอบจากใบแคป่าน่าจะได้รับการพัฒนาเป็นยารักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระได้
คำสำคัญ : สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และ
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
Title Antioxidant Capacity and Antibacterial Activity of Against Some Selected Human Pathogenic Khae-Pa Leave Extracts
Authors Wipharat Phijan
Mathawee paisawang
Thanyarat Thammarot
Advisor Dr.Nualyai Yaraksa
Co-adviser Dr. wareerat sanmanoch
Degree Bachelor of Science (Chemistry)
Year 2015
ABSTRACT
The objectives of this research are to investigating the total phenolics content, total flavonoids content, antioxidant activity and antibacterial activity of leaves khae-pa extracts. The solvent used for extraction was methanol. The yields of crude extracts were 29.52 Total phenolics and total flavonoid contentswere 9.59±0.24 mg GAE/g crude extracts and 5.04±0.20 mg QE/g crude extracts, respectively. The antioxidant capacity of crude extracts was determined by using 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH·) and reducing power assay and antibacterial activity of crude extracts was test against some selected human pathogenic bacteria by using Agar well diffusion method. The result found that the crude extract showed antioxidant activity with IC50 168.50±1.17 mg/L for which DPPH assay. For the reducing capability of crude extracts with reducing power assay, it showed the reducing antioxidant activity and possessed concentration dependence.For antibacterial activity determination, the crude extracts could not inhibit all test bacteria.
Keyword : Total phenolic, Total flavonoids, Antioxidant activity and Antibacterial
activity
ผู้วิจัย วิริญจ์ อรรคธรรม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89499 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง
ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์
จากน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
Efficiency of Herbal Extracts on Inhibiting Microorganisms from
Vase Solutions of Cut ChrysanthemumFlowers (Dendranthemumgrandiffloracv.Yuko)on Culture Media
โดย นางสาววิริญจ์ อรรคธรรม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพร5 ชนิด (ใบพลู ใบโหระพา ลำต้นตะไคร้ เหง้าขมิ้น และเหง้าข่า)ต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์
ยูโกะโดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือการทดลองที่ 1)ศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ของพืชสมุนไพร5 ชนิด คือ ใบพลู ใบโหระพา ลำต้นตะไคร้ เหง้าขมิ้น และเหง้าข่าที่ความเข้มข้นเท่ากัน คือ 100,000 ppm ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะโดยทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยวิธี Disc diffusion methodพบว่าสารสกัดจากใบพลูสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีที่สุด และการทดลองที่ 2)ศึกษาระดับความเข้มข้นของสารสกัดจากสมุนไพรที่เหมาะสมที่สุด ในการลดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะโดยทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยวิธี Disc diffusion methodพบว่าสารสกัดจากใบพลู ที่ระดับความเข้มข้น 20,000ppm เป็นระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดในการลดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะ ดังนั้น จากผลการทดลองครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เพื่อยืดอายุการปักแจกันของไม้ตัดดอกทดแทนการใช้สารเคมี และรักษาคุณภาพไม้ตัดดอกให้คงคุณภาพดีและก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดต่อไป
ผู้วิจัย มัจฉา วรรณเวช | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 92296 ครั้ง ดาวน์โหลด 345 ครั้ง
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 เปรียบเทียบกับการใช้สารละลายมาตรฐาน อนินทรีย์เพียงอย่างเดีย โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 4 ซํ้าๆ ละ 25 ต้น ผลการทดลองพบว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 มีผลทำให้การเจริญเติบโตของผักกาดหอมเรดโอ๊คเพิ่มขึ้นทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว ทั้งในด้านความสูง ความกว้างทรงพุ่ม ความยาวราก นํ้าหนักสดต้น และนํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 ยังมีผลทำให้ผักกาดหอมเรดโอ๊ค มีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์พียงอย่างเดียวด้วย เช่น ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมทั้งหมด แคโรทีนอยด์ วิตามินซี ปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้ และ การเปลี่ยนแปลงสีใบ จากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 สามารถนำมาทดแทนสารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวได้