งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นางสาวริยากร ณุวงษ์ศรี และ นางสาวกาญจนา สุขชัย | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88350 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารแอนตี้ออกซิแดนท์เสริมในสูตรสารละลายเจือ
จางน้าเชื้อสดโตต่ออัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติของอสุจิ โดยใช้แผนการทดลอง
แบบ Randommized Complete Blok Design (RCBD) ใช้น้าจากพ่อพันธุ์ โฮสไตร์ฟรีเชี่ยน จานวน 1 ตัว
รีดน้าเชื้อทุกสัปดาห์ แบ่งน้าเชื้อออกเป็น 5 ส่วน เจือจางด้วยสารสารเจือจาง Egg-Yolk Tris ที่เสริมด้วย
กลุ่ม วิตามิน อี 10 μg/ml (กลุ่มควบคุม) หรือ น้ามันมะกอก 0.6 μg/ml หรือ น้ามันมะพร้าว 0.5 μg/ml
หรือ น้ามันงา 1 μg/ml หรือ น้ามันราข้าว 1μg/ml ทาการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ตรวจ
ทุกๆ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 วัน ผลการศึกษาพบว่า อัตราการเคลื่อนที่ อัตราการมีชีวิต และความเป็นปกติ
ของอสุจิ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ที่ชั่วโมงที่ 0, 24, 48, 72, 96 และ 120
ค้าส้าคัญ: น้าเชื้อสด, แอนตี้ออกซิแดนท์, วิตามิน อี, น้ามันมะกอก, น้ามันมะพร้าว, น้ามันงา, น้ามันราข้าว
Abstract
The purposes of this study were to investigate the effects of supplementation of
antioxidant in bull liquid semen extender on sperm viability, sperm motility and normality.
Experimental design was conducted using Randommized Complete Blok Design (RCBD).
Semen was collected from one Holstein Friesian bull once a week for tour week and
divided into 5 portions for each treatment. Semen were diluted with egg-yolk tris diluted
supplemented with vitamin E 10 μg/ml (control) or olive oil 0.6 μg/ml or coconut oil 0.5 μg/ml
or sesame oil 1 μg/ml or rice bran oil 1 μg/ml. Diluted semen were stored at 5° C and
examined for semen quality every 24 hours for 4 days. It was found that there semen viability,
sperm motility and normality. Were not significant different among treatment (p> 0.05) on
days 0, 24, 48, 72, 96 and 120.
Keywords: liquid semen, antioxidant, vitamin E, olive oil, coconut oil, sesame oil, rice bran oil
ผู้วิจัย นายกฤษฎา พาดำเนิน และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88514 ครั้ง ดาวน์โหลด 36 ครั้ง
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น ต่อปริมาณการกินได้และกระบวนการหมักในกระเพราะรูเมนสำหรับโครีดนม โดยใช้ทางใบปาล์มน้ำมันเอ็ดเม็ดผสมในสูตรอาหารข้นที่ระดับ 0, 25, 50, 75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ใช้โครีดนมลูกผสมพันธุ์โฮสไตน์ฟรีเชี่ยนจำนวน 4 ตัว วางแผนการทดลองแบบ 4x4 จัตุรัสลาติน (4x4 Latin Square Design, LSD) ผลการทดลองพบว่า ปริมาณการกินได้ของอาหารข้น ปริมาณการกินได้ของอาหารหยาบ ปริมาณการกินได้ทั้งหมด อุณหภูมิ และค่าความเป็นกรด-ด่าง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) แต่เมื่อเพิ่มระดับการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นทำให้ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนเพิ่มขึ้น ที่เวลา 4 ชั่วโมง หลังการให้อาหาร และมีค่าสูงสุดเมื่อใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น 75 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) การเสริมทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นที่ระดับมากขึ้น อาจมีแนวโน้มทำให้ปริมาณการกินได้ลดน้อยลง ดังนั้น การเสริมทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นที่เหมาะสมคือที่ระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้โคมีปริมาณการกินได้ดีที่สุด
คำสำคัญ: ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ด, อาหารข้น, โครีดนม, ปริมาณการกินได้, กระบวนการหมักในกระเพาะ
รูเมน
Abstract
This experiment was to study the effects of oil palm fronds pellet on feed intake and rumen fermentation of lactating dairy cows. Four,Holstein-Friesian cross bred cows were randomly assigned according to a 4x4 Latin Square Design, to received oil palm fronds pellet in concentrate at 0, 25, 50 and 75%, respectively. It was found that concentrate intake, roughage intake, total dry matter intake, ruminal temperature, and ruminal pH were not significantly different among treatment (P<0.05). While, rumen ammonia-nitrogen (NH3-N) at 4 hours post feeding was increased when increasing level of oil palm fronds pellet in concentrate, which was highest in cow feed with 75% oil palm fronds pellet in concentrate (P<0.05) .Furthermore, increasing level of oil palm fronds pelletin concentrate resulted in a decrease dry matter intake. In conclusion, level of oil palm fronds pellet in concentrate for lactating dairy cows should not exceed 50%.
Key words:oil palm fronds pellet, concentrate, lactating dairy cows, feed intake, rumen
fermentation
ผู้วิจัย มัจฉา วรรณเวช | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89150 ครั้ง ดาวน์โหลด 35 ครั้ง
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของ ผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
The Use of Bio-Fermented Juice on Growth and Postharvest Quality of Red Oak (Lactuca sativa Linn.) in Hydroponics System
โดย นางสาวมัจฉา วรรณเวช
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. วิรญา ครองยุติ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 เปรียบเทียบกับการใช้สารละลายมาตรฐาน อนินทรีย์เพียงอย่างเดีย โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 4 ซํ้าๆ ละ 25 ต้น ผลการทดลองพบว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 มีผลทำให้การเจริญเติบโตของผักกาดหอมเรดโอ๊คเพิ่มขึ้นทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว ทั้งในด้านความสูง ความกว้างทรงพุ่ม ความยาวราก นํ้าหนักสดต้น และนํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 ยังมีผลทำให้ผักกาดหอมเรดโอ๊ค มีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์พียงอย่างเดียวด้วย เช่น ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมทั้งหมด แคโรทีนอยด์ วิตามินซี ปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้ และ การเปลี่ยนแปลงสีใบ จากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 สามารถนำมาทดแทนสารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวได้
ผู้วิจัย จิราภรณ์ สำราญสุข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89327 ครั้ง ดาวน์โหลด 77 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าว
Dormancy Breaking of Spring Bitter Cucumber Seed
โดย นางสาวจิราภรณ์ สำราญสุข
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาวิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าว โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 8 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้ำๆละ 20 เมล็ด เป็นระยะเวลา 46 วัน ผลการทดลอง พบว่า การกะเทาะเปลือกทั้งหมดและการกะเทาะเปลือกทั้งหมดแล้วแช่ในน้ำยาเร่งราก 24 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p0.01) คือ 82.5 และ 71.3 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แต่การกะเทาะเปลือกแล้วแช่ในน้ำยาเร่งราก มีอัตราเร็วเฉลี่ยในการงอกเร็วที่สุดคือ 10 วัน มีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า (รวมราก) มากที่สุด มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็งและเมล็ดสดไม่งอกปานกลาง และไม่มีต้นอ่อนผิดปกติ รองลงมาคือ การกะเทาะเปลือกทั้งหมด การนำเมล็ดมาแช่ในสารละลายโปแตสเซียมไนเตรท 0.2% นาน 24 ชั่วโมง การนำเมล็ดแช่น้ำกลั่น 168 ชั่วโมง เมล็ดฟักข้าวไม่ทำลายการพักตัว (Control) และเมล็ดแช่ในกรดซัลฟูริกเข้มข้นนาน 4 นาที ตามลำดับ ในขณะที่เมล็ดฟักข้าวแช่ในน้ำอุ่น 80 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที และเมล็ดฟักข้าวแช่ในสารละลายเอทธิฟอน 0.5% 24 ชั่วโมง เมล็ดฟักข้าวเกิดการตายทั้งหมดเนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ดังนั้น วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าวที่เหมาะสมที่สุด สำหรับแนะนำให้ผู้ที่สนใจ หรือ เกษตรกร คือวิธีการกะเทาะเปลือกทั้งหมดแล้วแช่น้ำยาเร่งราก 24 ชั่วโมง