งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นางสาวศิรินภา มหิศยา และ นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89860 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง
บทคัดย่อ
หัวข้อปัญหาพิเศษ การเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริมโพรไบโอติก
นักศึกษา นางสาวศิรินภา มหิศยา
นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิราศ กิ่งวาที
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยน้ำว้าแช่อิ่มอบแห้ง
ว่าในกระบวนการแช่อิ่ม อบแห้ง และอุณหภูมิในการเก็บรักษา จะมีผลต่อการเหลือรอดของ
เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกหรือไม่ โดยการแช่อิ่มกล้วยด้วยสารละลายน้ำตาล 30 °Brix ที่มีเชื้อจุลินทรีย์
L. acidophilus เริ่มต้น 8 log cfu/ml แช่อิ่มเป็นระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง พบว่าที่ 24 ชั่วโมง
มีการเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.19 log cfu/g จากนั้นศึกษาอุณหภูมิใน
การอบว่า มีผลต่อการเหลือรอดของจุลินทรีย์ โดยใช้ตัวอย่างจากการแช่อิ่ม 2 ตัวอย่าง อบที่อุณหภูมิ
37 และ 55 °C พบว่าตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 37 °C มีการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์
โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.11 log cfu/g ส่วนในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 55 °C มีการ
เหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกน้อยที่สุด มีเชื้อ 5.42 log cfu/g ตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่
37 °C มีค่า aW สูง และศึกษาการเหลือรอดในระหว่างการเก็บรักษาของกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริม
โพรไบโอติก บรรจุแบบสุญญากาศ เก็บในอุณหภูมิที่แตกต่างกันคือ อุณหภูมิ 25 °C และอุณหภูมิ
4 °C พบว่าในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่ 37 °C เก็บรักษาในอุณหภูมิ 25 °C มีการเหลือรอด
ของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด
ผู้วิจัย นางสาวพรทิพย์ หงษ์คำ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88730 ครั้ง ดาวน์โหลด 22 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของ BA ต่อการเกิดยอดของดาหลาในสภาพปลอดเชื้อ
Effects of BA Shoot Induction of Torgh Ginger (Etlingera elatior (Jack)
R.M.Smith) in vitro
โดย นางสาวพรทิพย์ หงษ์คำ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาผลของ BA ต่อการเกิดยอดของดาหลาในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 8 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) โดยปัจจัย A ได้แก่ สายพันธุ์ดาหลา แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ a1 = ดาหลาดอกสีแดง และ a2 = ดาหลา
ดอกสีชมพู และ ปัจจัย B คือ สารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มไซโตไคนิน (BA) แบ่งเป็น 8 ระดับ คือ b1= 0 mg/l, b2 = 1 mg/l, b3 = 2 mg/l, b4 = 3 mg/l, b5 = 4 mg/l, b6 = 5 mg/l, b7 = 6 mg/l และ b8 = 7 mg/l รวมทั้งสิ้น 16 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 10 ซํ้า ๆ ละ 1 ขวด ผลการทดลองพบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงดาหลาและพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 6 mg/l มีความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนยอด ความสูงเฉลี่ยของยอด และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตมากที่สุด คือ 2.62 เซนติเมตร 0.50 ยอด 0.49 เซนติเมตร และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และยอดใหม่ที่เกิดขึ้นสามารถ พัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ได้ โดยดาหลาพันธุ์สีชมพูมีการตอบสนอง BA ได้ดีกว่า ดาหลาพันธุ์สีแดง
ผู้วิจัย นายชุติพนธ์ ทิมา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88852 ครั้ง ดาวน์โหลด 47 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี
ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ต
Comparison of Chemical and Liquid Biostimulant Fertilizer
Efficiency On Growth and Yield of Hybrids Radish var. White
Rocks Kate
โดย นายชุติพนธ์ ทิมา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ตวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 100 ต้น โดยเตรียมแปลงขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อหัว เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยต่อหัว และผลผลิตเกรด A มากที่สุด คือ 672.67 กรัมต่อหัว 7.40 เซนติเมตร และ 88.33 % ตามลำดับ และมีความยาวเฉลี่ยของหัวปานกลาง คือ 21.43 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 รวมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาว
มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 32.73 เซนติเมตร และมีค่าน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อหัวเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของหัว และผลผลิตเกรด A ปานกลาง คือ 612.33 กรัมต่อหัว 6.60 เซนติเมตรและ 71.66 %ในขณะที่การปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีค่าดัชนีตัวชี้วัด เกือบทุกตัวน้อยที่สุด ดังนั้นหากต้องการปลูกผักกาดหัวโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแนะนำให้ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาว เนื่องจาก ทุกดัชนีชี้วัด ยกเว้นความสูงและความยาวเฉลี่ยของผล มีค่ารองลงมาจากการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
ผู้วิจัย ยุภา คำลือไชย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 87869 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบอาหารเพาะเชื้อเห็ดนางรมบริสุทธิ์จากพืชท้องถิ่น กับอาหารวุ้น มาตรฐาน
Comparison of Oyster Mushroom Mycelium Culture Media from Local Plants and Standard Agar Media
โดย นางสาวยุภา คำลือไชย
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการเปรียบเทียบอาหารเพาะเชื้อเห็ดนางรมบริสุทธิ์จากพืชท้องถิ่น กับอาหารวุ้นมาตรฐานโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 10 ชิ้น พบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 (อาหารเลี้ยงเชื้อจากผงวุ้น 15 กรัม) เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด จำนวนช่อดอก จำนวนดอก น้ำหนักผลผลิตสดและขนาดเส้นผ่าศูนย์ของดอกเฉลี่ยมากที่สุด คือ 1.89 เซนติเมตรต่อวัน 2 ช่อ
ต่อถุง 31.49 ดอกต่อถุง 218.02 กรัมต่อถุง และ 2.88 เซนติเมตรต่อถุง แต่หากต้องการใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนผงวุ้น พบว่า กลุ่มทดลองที่ 5 (อาหารเลี้ยงเชื้อจากแป้งข้าวโพด 150 กรัม) มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจาก ทุกดัชนีตัวชี้วัดมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง รองจากกลุ่มทดลองที่ 1และให้ผลผลิตเกรด A ไม่แตกต่างทางสถิติ จากกลุ่มทดลองทื่ 1 ในขณะที่ กลุ่มทดลองที่ 4 (อาหารเลี้ยงเชื้อจากแป้งข้าวเจ้า 150 กรัม) ไม่ควรนำมาใช้ทดแทนผงวุ้นในการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดนางรม เนื่องจากทุกดัชนีตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
คำสำคัญ อาหารเพาะเชื้อเห็ด เห็ดนางรมพืชท้องถิ่น