งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย พิสิฐ ศรีวะวงค์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89302 ครั้ง ดาวน์โหลด 60 ครั้ง
ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต
หอมแบ่งพันธุ์ลับแล
Efficiency of Bio-compost Liquid Produced from Golden Apple Snail
on Multiply Onion Production
โดย นายพิสิฐ ศรีวะวงค์
ชื่อปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา2556
อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ประภัสสร น้อยทรง
ศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแบ่งพันธุ์ลับแล ที่ระยะเวลา 45วัน โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design(RCBD)แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลอง ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ (control)กลุ่มทดลองที่ 2 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:250กลุ่มทดลองที่ 3 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:500กลุ่มทดลองที่ 4 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:1,000 และกลุ่มทดลองที่ 5 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:2,000พบว่า หอมแบ่งพันธุ์ลับแลที่ปลูกร่วมกับการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่อัตรา 1:1,000 มีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านความสูง ความยาวราก การแตกกอ และน้ำหนักผลผลิตมากที่สุด คือ 34.4 ซม.7.26 ซม.4.26 กอ และ2.16กก.ตามลำดับรองลงมาคือ การใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 1:500 1:2,000และ 1:250 ในขณะที่การไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพ มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ำที่สุด
ผู้วิจัย ศิรินันท์ ศิริยา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 90652 ครั้ง ดาวน์โหลด 101 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ฟางข้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
Using Rice Straw to Substitute Sawdust for Spilt Gill Mushroom
(Schizophyllum commune) Production
โดย นางสาวศิรินันท์ ศิริยา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ฟางข้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้า ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% (Control) กลุ่มทดลองที่
2 ขี้เลื่อย 75% ฟางข้าว 25% กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% ฟางข้าว 50% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% ฟางข้าว 75% และ กลุ่มทดลองที่ 5 ฟางข้าว 100% พบว่าการใช้ฟางข้าว 100% เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทนขี้เลื่อยเป็นอย่างดี เนื่องจาก มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเร็วที่สุด มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 15.1 วัน 79 ดอกต่อถุง และ 20.5 กรัม ตามลาดับ รองลงมา ได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 25% ฟางข้าว 75% มีระยะการบ่มตัวของเชื้อ และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง คือ 16.1 วัน และ 18.7 กรัม ตามลาดับ แต่ให้จานวนดอกเฉลี่ยไม่แตกต่างทางสถิติกับ ฟางข้าว 100% คือมีจานวนดอกเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 78.5 ดอกต่อถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% เป็นวัสดุเพาะไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดแครง เนื่องจาก ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดช้าที่สุด (21 วัน) และมีปริมาณดอกเห็ดเฉลี่ยและน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 57.1 ดอก/ถุง และ 15.2 กรัม/ถุง และเมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนของฟางข้าวในวัสดุเพาะ พบว่าการเพิ่มฟางข้าวให้มากขึ้นส่งผลให้มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกเร็วขึ้น จานวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นตามลาดับ
คาสาคัญ เห็ดแครง ฟางข้าว และผลผลิต
สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938
ผู้วิจัย นางสาวพิมพ์จันทร์ กุลพันธ์ และ นางสาวมุทิตา นามทอง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90519 ครั้ง ดาวน์โหลด 107 ครั้ง
หัวข้อปัญหาพิเศษ การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำตาลผงกึ่งสำเร็จรูปโดยใช้วิธีการทำแห้งแบบตู้อบลมร้อน
นักศึกษา นางสาวพิมพ์จันทร์ กุลพันธ์
นางสาวมุทิตา นามทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิราศ กิ่งวาที
การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำตาลผงกึ่งสำเร็จรูปโดยใช้วิธีการทำแห้งแบบตู้อบลมร้อน (Hot air oven) โดยนำลูกตาลสุกมาสกัดเอาเนื้อตาล แล้วนำเนื้อลูกตาลสุกที่ได้ไปทำแห้งด้วยวิธีการอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 55 60 และ 65 องศาเซลเซียส วัดค่าความชื้นทุก 2 ชั่วโมง พบว่า การทำแห้งที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการทำแห้ง 8 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการทำแห้ง 6 ชั่วโมง และที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการทำแห้ง 4 ชั่วโมง ให้ค่าความชื้นใกล้เคียงกัน เท่ากับ 2.20 2.17 และ 2.16 ตามลำดับ ดังนั้นจึงทำตาลผงที่สภาวะดังกล่าวทั้ง 3 สภาวะ นำมาวิเคราะห์ค่าสี ความสามารถในการละลาย และทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส พบว่า การทำแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง เป็นอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมที่สุด คือ ได้ตาลผงที่ค่าสี L* a* และb* มีค่าเท่ากับ 73.397.12และ 29.98 ตามลำดับ มีค่าความชื้นร้อยละ2.17 และความสามารถในการละลายดีที่สุดเท่ากับร้อยละ 15.71เมื่อนำตาลผงที่ได้จากการทำแห้งมาทำผลิตภัณฑ์ขนมตาลเพื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ขนมตาลจากเนื้อตาลสด นำมาทดสอบทางด้านประสาทสัมผัสคุณลักษณะด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบรวม พบว่า ผลิตภัณฑ์ขนมตาลที่ทำจากตาลผงทำแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 6 ชั่วโมง มีความชอบรวมของผู้บริโภคสูงที่สุด
ผู้วิจัย จิราภรณ์ สำราญสุข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89313 ครั้ง ดาวน์โหลด 77 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าว
Dormancy Breaking of Spring Bitter Cucumber Seed
โดย นางสาวจิราภรณ์ สำราญสุข
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาวิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าว โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 8 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้ำๆละ 20 เมล็ด เป็นระยะเวลา 46 วัน ผลการทดลอง พบว่า การกะเทาะเปลือกทั้งหมดและการกะเทาะเปลือกทั้งหมดแล้วแช่ในน้ำยาเร่งราก 24 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p0.01) คือ 82.5 และ 71.3 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แต่การกะเทาะเปลือกแล้วแช่ในน้ำยาเร่งราก มีอัตราเร็วเฉลี่ยในการงอกเร็วที่สุดคือ 10 วัน มีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า (รวมราก) มากที่สุด มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็งและเมล็ดสดไม่งอกปานกลาง และไม่มีต้นอ่อนผิดปกติ รองลงมาคือ การกะเทาะเปลือกทั้งหมด การนำเมล็ดมาแช่ในสารละลายโปแตสเซียมไนเตรท 0.2% นาน 24 ชั่วโมง การนำเมล็ดแช่น้ำกลั่น 168 ชั่วโมง เมล็ดฟักข้าวไม่ทำลายการพักตัว (Control) และเมล็ดแช่ในกรดซัลฟูริกเข้มข้นนาน 4 นาที ตามลำดับ ในขณะที่เมล็ดฟักข้าวแช่ในน้ำอุ่น 80 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที และเมล็ดฟักข้าวแช่ในสารละลายเอทธิฟอน 0.5% 24 ชั่วโมง เมล็ดฟักข้าวเกิดการตายทั้งหมดเนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ดังนั้น วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าวที่เหมาะสมที่สุด สำหรับแนะนำให้ผู้ที่สนใจ หรือ เกษตรกร คือวิธีการกะเทาะเปลือกทั้งหมดแล้วแช่น้ำยาเร่งราก 24 ชั่วโมง