งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นายศิริศักดิ์ แซ่โชว์ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88141 ครั้ง ดาวน์โหลด 16 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง อัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์
อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1)
Chemical Fertilizers Rates on Growth and Yield of
Ubonratchathani Black Grain Cowpea (cv. CP 4-2-3-1)
โดย นายศิริศักดิ์ แซ่โชว์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบและผลผลิตถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบไปด้วย 4
กลุ่มทดลอง 1.) ไม่ใส่ปุ๋ย 2.) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ 3.) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง) 4.) ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 3 ซ้ำ พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของถั่วพุ่มเมล็ดดำพันธุ์อุบลราชธานี (cv. CP 4-2-3-1) ดีกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยเคมี และอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 4) เนื่องจากต้นถั่วพุ่มมีความสูงเฉลี่ยของต้น ผลผลิตมวลชีวภาพ จำนวนฝักต่อต้น จำนวนเมล็ดต่อฝัก และน้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยของเมล็ด มีค่ามากที่สุด เท่ากับ 64 เซนติเมตร 802 กิโลกรัมต่อไร่ 10 ฝักต่อต้น 18 เมล็ดต่อฝัก และ 291 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และมีค่าแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง รองลงมาได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง) (กลุ่มทดลองที่ 3) และการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 2) ดัชนีทุกตัวชี้วัดมีค่าปานกลางยกเว้นเปอร์เซ็นต์การกะเทาะเมล็ด ค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว และน้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับการใช้ปุ๋ยเคมี 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 4) ในขณะที่กลุ่มทดลองที่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี (Control) (กลุ่มทดลองที่ 1) มีค่าตัวชี้วัดทุกตัวต่ำที่สุด ยกเว้นดัชนีการเก็บเกี่ยว แต่ก็ไม่แตกต่างทางสถิติกับกลุ่มทดลองอื่นๆ
ผู้วิจัย สุรพงษ์ วงค์อนันต์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 87679 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
ศึกษาผลของกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการ
ของข้าวเจ้าพันธ์ุ กข 33 ในระยะต้นกล้าภายใต้สภาวะแล้ง แบ่งเป็ น 6 กลุ่มทดลอง ได้แก่
กลุ่มท
ผู้วิจัย ธวัชชัย พรมสิงห์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89176 ครั้ง ดาวน์โหลด 46 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต
ของซูกินีลูกผสมแตงเขียวมรกต(F1ไฮบริด) ผลของการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของซูกินีลูกผสม แตงเขียวมรกต(F1ไฮบริด)
Effect of Chemical Fertilizer and Chitosan on Growth and Yeild
of Green Zucchini (F1Hybrid)
โดย นายธวัชชัย พรมสิงห์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
ปัญหาพิเศษนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและอัตราส่วนที่เหมาะสมของการใช้สารสกัดไคโตซานร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงซูกินีลูกผสม พันธุ์แตงเขียวมรกต (F1ไฮบริด)โดยวางแผนการทดลองแบบRCBD โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 14 ต้น ขนาดแปลง 1 x 10เมตร ผลการทดลองพบว่า ต้นซูกินีในกลุ่มทดลองที่ 5 ที่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) มีเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ยมากที่สุด คือ 10.39 เซนติเมตร และมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01) นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มให้ความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ย จำนวนใบเฉลี่ย จำนวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย เส้นรอบวงผลเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 132.17 เชนติเมตร 23.19 ใบต่อต้น 4.21 ดอกต่อต้น และ 5.21 กิโลกรัมต่อแปลง ตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็ให้ความยาวผลเฉลี่ย และผลผลิตเกรดAปานกลางคือ 14.23 เซนติเมตรต่อผล และ 41.23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 4 การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับไคโตซาน อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ดังนั้นหากต้องการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีในการปลูกแตงซูกินีลูกผสม ปริมาณที่เหมาะสมที่สุดคือ ไคโตซาน อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ จากการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว
คำสำคัญ แตงซูกินีลูกผสม แตงเขียวมรกต ปุ๋ยเคมี ไคโตซาน
ผู้วิจัย จิรพงษ์ หงษ์คำ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90956 ครั้ง ดาวน์โหลด 206 ครั้ง
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆต่อการ เจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
Comparison of Organic Fertilizer Efficiency on Growth and Yield of Tomato var. Seeda ‘phedchompoo F1’
โดย นายจิรพงษ์ หงษ์คำ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 และเพื่อให้ทราบถึงชนิดของ
ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆละ 12 ต้น ดังนั้นกลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยน้ำหมักจากเศษผัก กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร และกลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยน้ำหมักมูลไส้เดือน ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีในการผลิต
มะเขือเทศสีดาเพชรชมพู F1 ได้ เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จำนวนผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น ขนาดผลเฉลี่ย ผลเกรด C หรือ รหัส 3 และความแน่นเนื้อเฉลี่ยของผลมากที่สุด คือ 61.47 เซนติเมตร 27 ผลต่อต้น 34.3 mm. 95.56% และ 3.34 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำครับ นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ทำให้มีน้ำหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด คือ 19.23 กรัม รองลงมา คือ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักมลูสกร ให้น้ำหนักผลเฉลี่ยมากที่สุด ไม่แตกต่างทางสถิติจากการใช้ปุ๋ยหมัก
โบกาฉิ คือ 18.96 กรัม และมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น ขนาดของผลสดเฉลี่ย และผลเกรด C หรือ รหัส 3 อยู่ในระดับปานกลาง คือ 56.39 เซนติเมตร 33.3 mm. และ 64.44 % ตามลำดับ และยังมีแนวโน้มให้ผลเกรด B หรือ รหัส 2 มากที่สุด คือ 22.22% ส่วน %TSS ไม่มีความแตกต่างทางสถิติมีค่าอยู่ระหว่าง 5.50-5.67 °Brix