งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย สุภาวดี ทองลี | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88101 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง อัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของข้าว
ขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ อาเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Chemical and Organic Fertilizer Rates on Growth and Yield of
KDML 105 Rice in Warinchamrab District,
Ubonratchathani Province
โดย นางสาวสุภาวดี ทองลี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา
การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จานวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้า ขนาดแปลงทดลอง 2x5 เมตร จานวน 15 แปลงย่อย ผลการทดลองพบว่า
การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 0-0-60 อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่และสูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านเมื่อต้นข้าวอายุ 30 วัน และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ในระยะกาเนิดช่อดอก มีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ความสูงเฉลี่ย จานวนรวงต่อตารางเมตร น้าหนักผลผลิตเฉลี่ย และดัชนีการเก็บเกี่ยวสูงที่สุดคือ 129 เซนติเมตร 278 รวงต่อตารางเมตร 347 กิโลกรัมต่อไร่ และ 0.53 ตามลาดับ นอกจากนี้ยังมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุด 6 เปอร์เซ็นต์ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ (p= 0.01) รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยคอกมูลวัว อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่หว่านก่อนหว่านข้าว กับ ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 0-0-60 อัตรา 6กิโลกรัมต่อไร่และสูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวอายุได้ 30 วัน และปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวอยู่ในระยะกาเนิดช่อดอก มีความสูงเฉลี่ย จานวนรวงต่อตารางเมตร น้าหนักผลผลิตเฉลี่ย ดัชนีการเก็บเกี่ยว และเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ เท่ากับ 122 เซนติเมตร 244 รวงต่อตารางเมตร 294 กิโลกรัมต่อไร่ 0.52 และ 9 เปอร์เซ็นต์ ตามลาดับ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์
ดินช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้นและยังช่วยลดปัจจัยการผลิตด้านปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คาสาคัญ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกมูลวัว
ผู้วิจัย นางสาวธีระวัลย์ วงมาเกษ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89295 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิดในการควบคุมเพลี้ยอ่อน
Efficacy of Plant Extracts for Aphids Control
โดย นางสาวธีระวัลย์ วงมาเกษ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิด ในการควบคุมเพลี้ยอ่อน วางแผนการทดลองแบบ 3×3 Factorial+1 in Completely Randomized Design (CRD) โดยใช้ความเข้มข้น 5 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์ ที่เวลา 24 48 และ 72 ชั่วโมงเปรียบเทียบกับ Ethyl alcohol 50% เป็นชุดควบคุม พบว่า สารสกัดจากใบดาวเรืองมีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่ 48 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยของเพลี้ยอ่อนมากที่สุด คือ 88.89 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติกับชุดควบคุม ที่มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ย 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ได้แก่ สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส และสารสกัดจากใบแมงลักคา ตามลำดับ ส่วนความเข้มข้นของสารสกัดจากพืชที่เหมาะสมที่สุด คือ 15 เปอร์เซ็นต์ ที่ 48 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ย 98.33 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา ได้แก่ 10 เปอร์เซ็นต์ และ 5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อตรวจสอบระดับและระยะเวลาของความเป็นพิษ (LC50 และ LT50) พบว่า สารสกัดจากใบดาวเรืองมีค่าน้อยที่สุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับและระยะเวลาของความเป็นพิษมากที่สุด ดังนั้น หากต้องการแนะนำให้เกษตรกรใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมเพลี้ยอ่อน แนะนำให้ใช้สารสกัดจากใบดาวเรือง ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ หรือ 15 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 48 ชั่วโมง สามารถทำให้เพลี้ยอ่อนตาย ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ หรือ 15 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สารสกัดจากใบแมงลักคาทุกความเข้มข้นมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด
ผู้วิจัย อโนชา ธุรี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89364 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
ผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพ
หลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก
Effect of Hot Water Dip Combined with Chitosan Coating Substances on Postharvest Quality of Super Hot Bird Chilli (Capsicum frutescens Linn.) in Ripe Stage
โดย นายอโนชา ธุรี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ
การศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการ เก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก โดยนำผลพริกไปจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 45 50 55˚C และน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 4 นาที พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50˚C นาน 4 นาที สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักสด ลดเปอร์เซ็นต์การเสียหาย และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน และการทดลองที่ 2) ศึกษาผลของการจุ่มน้ำร้อนร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอทในระยะผลสุก พบว่าการจุ่มน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50˚C นาน 4 นาที ร่วมกับสารเคลือบผิวไคโตซานความเข้มข้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักสด การเปลี่ยนแปลงสีเปลือก ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ และมีอายุการเก็บรักษายาวนานที่สุด คือ 16 วัน ตลอดจนมีคะแนนการยอมรับของผู้บริโภคต่อลักษณะที่ปรากฏของผลพริกขี้หนูสูงกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ ดังนั้นจากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการผสมผสานระหว่างการจุ่มน้ำร้อนและการเคลือบผิวด้วยไคโตซาน สามารถรักษาคุณภาพและลดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของพริกขี้หนูพันธุ์ซุปเปอร์ฮอท และยืดอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานกว่าการใช้วิธีการเดียว
ผู้วิจัย เกศศิริ วงษ์ลา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88293 ครั้ง ดาวน์โหลด 25 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว
Using Eucalyptus Branch to Substitute Sawdust for Lentinus
Squarrosulus Production
โดย นางสาวเกศศิริ วงษ์ลา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5
กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 1 ถุง โดยให้กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50 เปอร์เซ็นต์
กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 75 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 5 กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลอง พบว่า อัตราส่วน
ที่เหมาะสม คือ ขี้เลื่อย 75 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.23 ดอกต่อถุง และ 50.33 กรัมต่อถุง ตามลำดับ
แต่มีระยะเวลาในการบ่มของเชื้อปานกลาง (23.66) วัน รองลงมาได้แก่ ขี้เลื่อย 50 เปอร์เซ็นต์
กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์ และอัตราส่วนที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากให้จำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดต่ำที่สุด นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วน กิ่งยูคาลิปตัสสับ ที่เพิ่มสูงขึ้นในวัสดุเพาะ พบว่า จำนวนดอกเห็ด และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงตามอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น
เว็บรวมข้อมูล พนันออนไลน์เว็บไหนดี ได้เงินจริง พร้อมฟรีเครดิต