งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92953
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92906
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92297

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของซูกินีลูกผสมแตงเขียวมรกต (F1 ไฮบริด)
ผู้วิจัย ธวัชชัย พรมสิงห์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89174 ครั้ง ดาวน์โหลด 46 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

        เรื่อง                   ผลของการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

                                 ของซูกินีลูกผสมแตงเขียวมรกต(F1ไฮบริด)                                                               ผลของการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของซูกินีลูกผสม                       แตงเขียวมรกต(F1ไฮบริด)      

                            Effect of Chemical Fertilizer and Chitosan on Growth and Yeild 

                            of Green Zucchini (F1Hybrid)

โดย                    นายธวัชชัย พรมสิงห์

ชื่อปริญญา           วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา           2557

อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์นงลักษณ์   พยัคฆศิรินาวิน

 

          ปัญหาพิเศษนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและอัตราส่วนที่เหมาะสมของการใช้สารสกัดไคโตซานร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแตงซูกินีลูกผสม พันธุ์แตงเขียวมรกต (F1ไฮบริด)โดยวางแผนการทดลองแบบRCBD โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 14 ต้น ขนาดแปลง 1 x 10เมตร ผลการทดลองพบว่า ต้นซูกินีในกลุ่มทดลองที่ 5 ที่ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับไคโตซาน (อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) มีเส้นรอบวงลำต้นเฉลี่ยมากที่สุด คือ 10.39 เซนติเมตร และมีความแตกต่างกันทางสถิติ  (p=0.01) นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มให้ความกว้างของทรงพุ่มเฉลี่ย จำนวนใบเฉลี่ย จำนวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย เส้นรอบวงผลเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 132.17 เชนติเมตร 23.19 ใบต่อต้น 4.21 ดอกต่อต้น และ 5.21 กิโลกรัมต่อแปลง ตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็ให้ความยาวผลเฉลี่ย และผลผลิตเกรดAปานกลางคือ 14.23 เซนติเมตรต่อผล และ 41.23 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 4 การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับไคโตซาน อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ดังนั้นหากต้องการใช้ไคโตซานร่วมกับปุ๋ยเคมีในการปลูกแตงซูกินีลูกผสม ปริมาณที่เหมาะสมที่สุดคือ ไคโตซาน อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ จากการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว 

คำสำคัญ  แตงซูกินีลูกผสม แตงเขียวมรกต ปุ๋ยเคมี ไคโตซาน



ศึกษาชนิด การเข้าทำลาย และการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มโอ
ผู้วิจัย บุษบง มนัสมั่นคง และ ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา | ปีที่พิมพ์ 2553 | อ่าน 88262 ครั้ง ดาวน์โหลด 10 ครั้ง

การศึกษาชนิด การเข้าทำลาย และการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มโอ ทำการศึกษาในส้มโอพันธุ์ท่าข่อย ทองดี และขาวแตงกวาของเกษตรกร อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร โดยการสำรวจการทำลายบนต้น และเก็บผลส้มโอในระยะต่าง ๆ คือ ก่อนเก็บเกี่ยว 2 เดือน 1 เดือน 21 วัน 14 วัน 7 วัน และในระยะเก็บเกี่ยว ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2551 – กันยายน 2553 ผลการสำรวจในส้มโอพันธุ์ท่าข่อยจำนวน 37,408 ผล พบการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ 673 ผล ทำการเก็บผลใส่ถาดคลุมด้วยถุงตาข่าย วางไว้ในห้องอุณหภูมิปกตินาน 7 – 10 วัน นำผลมาผ่าตรวจดูเมื่อพบหนอนเก็บเลี้ยงจนเป็นตัวเต็มวัย พบแมลงวันผลไม้ 2 ชนิด คือ Bactrocera dorsalis และ B. correcta ในอัตราส่วน 10:1 เฉพาะพันธุ์ท่าข่อย ส่วนการสำรวจในส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาและทองดีจำนวน 6,258 และ 14,379 ผล ตามลำดับ ไม่พบการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้บนผลส้มโอ ซึ่งการทดสอบการทำแผลบนผลส้มโอ ก็ไม่พบการวางไข่ของแมลงวันผลไม้บนผลปกติของส้มโอทั้ง 2 พันธุ์นี้เช่นกัน แต่หากมีแผลลึกถึงเนื้อส้มโอแมลงวันผลไม้สามารถวางไข่และเจริญเติบโตได้ใน ส้มโอทั้ง 3 พันธุ์ ส่วนการทดสอบการใช้เหยื่อพิษในการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในส้มโอพันธุ์ท่า ข่อยพบว่า สามารถลดการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้บนผลส้มโอลงได้ โดยในแปลงที่พ่นเหยื่อพิษ พบผลถูกทำลาย 0 – 16.66% เฉลี่ย 3.84 ในแปลงไม่พ่นเหยื่อพิษพบผลส้มโอถูกทำลาย 5.98 – 39.29% เฉลี่ย 18.17 วิธีการคือ พ่นยีสต์โปรตีนออโตไลเซทผสมสาร malathion 57% EC อัตรา 200 มิลลิลิตร + 20 มิลลิลิตร ผสมน้ำจนครบ 5 ลิตร ทุก 7 วัน เมื่อผลส้มโออายุ 5 เดือน จนถึงระยะก่อนเก็บเกี่ยว 7 วัน โดยพ่นภายในทรงพุ่มใต้ใบ ความสูงระดับประมาณ 100 – 150 ซม. จากพื้นดิน พ่นเป็นจุด 4 จุด/ต้น จุดละ 30 มิลลิลิตร เป็นวงกลมรัศมีประมาณ 0.5 ม. โดยควรพ่นในเวลาเช้าตรู่ เริ่มพ่นล่วงหน้าประมาณ 30 วันก่อนแมลงเข้าทำลาย และสามารถพ่นเหยื่อพิษดังกล่าวบนพืชชนิดอื่น ๆ ที่อยู่รอบแปลงที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันแมลงวันผลไม้ จุดที่พ่นเหยื่อควรเป็นจุดที่อยู่ในร่มเงาและไม่ถูกแสงแดดจัด จึงจะมีประสิทธิภาพดีในการดึงดูดแมลงวันผลไม้



การใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว
ผู้วิจัย เกศศิริ วงษ์ลา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 87963 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                การใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว

                      Using Eucalyptus Branch to Substitute Sawdust for Lentinus

                      Squarrosulus Production

โดย                 นางสาวเกศศิริ  วงษ์ลา

ชื่อปริญญา         วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2557

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.เสกสรร  ชินวัง

                     

    ศึกษาการใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5

กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 1 ถุง  โดยให้กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75   เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50   เปอร์เซ็นต์

กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25   เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 75 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 5 กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลอง พบว่า อัตราส่วน

ที่เหมาะสม คือ ขี้เลื่อย 75 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.23 ดอกต่อถุง และ 50.33 กรัมต่อถุง ตามลำดับ

แต่มีระยะเวลาในการบ่มของเชื้อปานกลาง (23.66) วัน รองลงมาได้แก่ ขี้เลื่อย 50 เปอร์เซ็นต์

กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์ และอัตราส่วนที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากให้จำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดต่ำที่สุด นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วน กิ่งยูคาลิปตัสสับ ที่เพิ่มสูงขึ้นในวัสดุเพาะ พบว่า จำนวนดอกเห็ด และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงตามอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น

 

คำสำคัญ เห็ดขอนขาว กิ่งยูคาลิปตัสสับ ขี้เลื่อยยางพารา ผลผลิต



การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง
ผู้วิจัย นิตยา มูลรัตน์ และ สุรณีย์ ท้องที่ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 92953 ครั้ง ดาวน์โหลด 356 ครั้ง

ปฏิกิริยาสีน้้าตาลในผักและผลไม้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่พืชถูกท้าลาย จากการปอกเปลือกหรือตัดแต่ง ซึ่งจะท้าให้เอนไซม์ PPO (Polyphenol Oxidase) ในเนื้อเยื่อและ substrate รวมตัวกันอย่างรวดเร็ว ท้าให้เกิดปัญหาที่ส้าคัญและเป็นตัวก้าหนดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปขั้นต่้า ดังนั้นจึงมีการศึกษาวิธีการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้้าตาล โดยใช้สารธรรมชาติ ราคาถูก หาง่าย และปลอดภัยต่อผู้บริโภค งานวิจัยนี้ได้ท้าการศึกษา ความเข้มของสารละลาย Sodium Chloride (NaCl) และระยะเวลาที่ใช้แช่แอปเปิลตัดแต่งที่แตกต่างกัน ความเข้มข้นที่ศึกษา คือ NaCl 0.25g/l, 0.5g/l, 1g/l ระยะเวลาในการแช่ 1, 3 และ 5 นาที เพื่อเปรียบเทียบกับการแช่แอปเปิลตัดแต่งใน Citric acid ที่มีผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง โดยวิเคราะห์ค่าทางกายภาพและจุลินทรีย์ ได้แก่ ค่าความสว่าง (L) ค่าความแน่นเนื้อ (Firmness) จ้านวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด(TPC) ผลการศึกษาพบว่า เมื่อแช่แอปเปิลตัดแต่งในสารละลาย NaCl 1g 5 นาที มีค่าความสว่าง (L) สูงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา (79.64 - 75.88) ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยส้าคัญ (P≤0.05) กับตัวอย่างที่แช่ใน Citric acid ส่วนค่าความแน่นเนื้อเมื่อแช่ในแอปเปิลตัดแต่งสารละลาย NaCl ที่มีความเข้มข้นเพิ่มสูงขึ้น ท้าให้ค่าความแน่นเนื้อลดลงแสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นของ NaCl มีผลต่อความแน่นเนื้อของแอปเปิลตัดแต่ง การศึกษาด้านจุลินทรีย์ในแอปเปิลตัดแต่ง พบว่า จ้านวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นตามอายุการเก็บรักษาทั้งตัวอย่างที่ผ่านการแช่ใน NaCl และกรดซิตริก การประเมินคุณลักษณะทางด้านประสาทสัมผัสของแอปเปิลตัดแต่ง ด้านความชอบต่อสี กลิ่น รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิลตัดแต่งที่แช่ใน Citric acid (P>0.05)


เข้าสู่ระบบ