งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นายนิกร ใยดวง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88984 ครั้ง ดาวน์โหลด 11 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชต่อปลวกและเห็ดโคนในสวนยางพารา
Effect of Herbicide on Termite and Termitomyces Mushroom
in Para Rubber Plantation
โดย นายนิกร ใยดวง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชต่อปลวกและเห็ดโคนในสวนยางพาราโดยการใช้ Sentricon Bait Station ในการสำรวจจำนวนประชากรของปลวกที่มาติดกับดัก จากการทดลองสุ่มสำรวจจำนวนประชากรของปลวกที่สร้างเห็ดโคนบริเวณนี้ ใช้เหยื่อล่อคือ กระดาษลูกฟูก กับไม้ยางใส่อุปกรณ์ใส่เหยื่อคือ Sentricon Bait Station ทำการเก็บตัวอย่างปลวกแบบสุ่มที่มาติดกับดักจำนวน 15 วัน และเปลี่ยนเหยื่อล่อใหม่ทุกครั้งที่สุ่มเก็บตัวอย่าง สุ่มดักจับปลวก ก่อนและหลังพ่นสารกำจัดวัชพืช โดยกำหนดแปลงขนาด 40x40เมตร แล้วแบ่งแปลงขนาด 10x10 เมตรจะได้ 16 แปลงย่อย 2 พื้นที่ คือ แปลงยางพาราที่ไม่ได้พ่นสารกำจัดวัชพืช และ แปลงยางพาราที่พ่นสารกำจัดวัชพืชหลังการสำรวจทั้งสองแปลงโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการนับจำนวนปลวกก่อนและหลังพ่นสารกำจัดวัชพืชและดูปริมาณเห็ดโคน วิเคราะห์ข้อมูล จำนวนของปลวกโดยวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย(Mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณปลวกและเห็ดโคนโดยวิเคราะห์หาค่าวิกฤติ t-distribution ระหว่างแปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชกับแปลงที่พ่นสารกำจัดวัชพืช ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของเห็ดโคนและปลวกในสวนยางพาราระหว่างแปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชกับแปลงที่พ่นสารกำจัดวัชพืช จากการเก็บ จำนวน 6 ครั้ง โดยแปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืช มีค่าเฉลี่ยที่ 376.00% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 26.44 % และแปลงที่พ่นสารกำจัดวัชพืช มีค่าเฉลี่ยที่ 184.67% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 61.72% แสดงว่าการพ่นสารกำจัด
วัชพืชมีผลต่อประชากรปลวกและจำนวนเห็ดโคนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการดูปริมาณเห็ดโคนที่ขึ้นในสวนยางพารา พบว่า แปลงที่ไม่พ่นสารกำจัดวัชพืชพบปริมาณของเห็ดโคนที่ขึ้นประมาณ 25% ของพื้นที่ และแปลงที่พ่นสารเคมีพบปริมาณของเห็ดโคน ประมาณ 10% ของพื้นที่
ผู้วิจัย จุฑามาศ เจาะจง | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88161 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบด
Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for Lentinus polychrous
Production
โดย นางสาวจุฑามาศ เจาะจง ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2557 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบดโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 10 ถุงๆ ละ 320 กรัม (น้าหนักแห้ง) ผลการทดลอง พบว่า ระยะเวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดเร็วที่สุด คือกลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25%) รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 5
(ไมยราบยักษ์ 100%) กลุ่มทดลองที่ 3 (ขี้เลื่อย 50% ไมยราบยักษ์ 50%) กลุ่มทดลองที่ 1 (ขี้เลื่อย100%) และกลุ่มทดลองที่ 4 (ขี้เลื่อย 25% ไมยราบยักษ์ 75%) โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 27.93 28.06 28.60 28.60 และ 28.73 วัน ตามลาดับ สาหรับจานวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจานวนดอกเฉลี่ยที่ 12.56 10.13 7.20 6.23 และ 4.03 ดอก/ถุง ตามลาดับ ส่วนน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดบดสูงสุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 59.55 52.89 37.92 34.36 และ 25.39 กรัม/ถุง ตามลาดับ ดังนั้น หากต้องการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบด ควรใช้ไมยราบยักษ์ผสมกับขี้เลื่อยในอัตราส่วน ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบดได้ดีที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดที่ดี มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยและน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุด
คาสาคัญ เห็ดบด ไมยราบยักษ์ ขี้เลื่อย ผลผลิต
แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล
ผู้วิจัย ขนิษฐา กล้าจริง | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88155 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง
ผู้วิจัย ศิริชัย เที่ยงธรรมและคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88279 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง