งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92925
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92874
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92285

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล
ผู้วิจัย สมฤดี จันทมุด | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88581 ครั้ง ดาวน์โหลด 42 ครั้ง

                     การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล                                                  Using Guinea Grass (Panicum maximum) to Substitute                                                                                                     Sawdust for  Pink Oyster  Mushroom (Pleurotus djamor) Production                                                                                                                                                                            โดย                                       นางสาวสมฤดี   จันทมุด                                                                                    ชื่อปริญาญา                     วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)                                                                      ปีการศึกษา                  2556                                                                                                  อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

                ศึกษาการใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวลวางแผนการทดลองแบบ Randomized  Complete  Block  Design (RCBD)  แบ่งกลุ่มทดลองเป็น 5 กลุ่มทดลองๆละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ผลการทดลองพบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75 % หญ้ากิน 25 % และ การใช้ขี้เลื่อย 50 % หญ้ากินนี 50 % มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเฉลี่ยเร็วที่สุด และ มีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติคือ 19.40 และ 19.66 วัน ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 25 % หญ้ากินนี 75 % และ การใช้ขี้เลื่อย 100 % มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ย เท่ากับ 21 และ 21.93 วัน ตามลำดับ ใน  ขณะที่ การใช้หญ้ากินนี 100% มีระยะเวลาการบ่มเชื้อเฉลี่ยนานที่สุดคือ 22.80 วัน ส่วนจำนวนดอกเฉลี่ย พบว่า การใช้ขี้เลื่อย 75 % หญ้ากินนี 25 % มีแนวโน้มให้จำนวนดอกเฉลี่ยมากที่สุดคือ  8.53 ดอก/ถุง  ในขณะที่ การใช้หญ้ากินนี 100% มีจำนวนดอกเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 4.65 ดอก/ถุง   สำหรับ น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย พบว่า การใช้ ขี้เลื่อย 100% และการใช้ ขี้เลื่อย 75 % หญ้ากินนี 25 % มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือ  41.03 และ 37.16 กรัม/ถุง ตามลำดับ  รองลงมาได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 50 %  หญ้ากินนี 50 % การใช้หญ้ากินนี 100 % และ การใช้ขี้เลื่อย 25 % หญ้ากินนี 75 %  มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 28.67   27.77 และ 25.52  กรัม/ถุง  ตามลำดับ  ดังนั้น อัตราส่วนของหญ้ากินนีที่เหมาะสมในการ เสริม หรือ ทดแทน ขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางนวล คือ หญ้ากินนี  25 %  ขี้เลื่อย 75 %  เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อ  จำนวนดอก และ น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุด และไม่แตกต่างกันทางสถิติ                    จากการใช้ขี้เลื่อย 100% เป็นวัสดุเพาะ

 



ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของข้าวพันธุ์หอมนิลในสภาพนาชลประทาน
ผู้วิจัย ธวัช บุตรศรี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88072 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                      ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์หอมนิลใน

         สภาพนาชลประทาน

         Study of Chemical Fertilizer Rate on Growth and Yield of  Hom Nin

         Rice Variety Under Irrigated Condition

โดย                     นายธวัช  บุตรศรี

ชื่อปริญญา               วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา            2556

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์โดม  หาญพิชิตวิทยา

 

ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์หอมนิลในสภาพ
นาชลประทาน โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 กิโลกรัมต่อไร่ อัตรา 0 15 30 และ 45 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ในอัตรา 45 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ข้าวพันธุ์หอมนิล มีค่าความสูง 30 60 และ 90 วัน เฉลี่ยมากที่สุด คือ 77.5  46.7 และ96.4 เซนติเมตร รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ในอัตรา 30 และ 15  กิโลกรัมต่อไร่ คือ 45.4  77.3  96.3 และ 76.1 44 95.3 เซนติเมตร ในขณะที่กลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยมีค่าเฉลี่ยความสูงน้อยที่สุด คือ 43.1 74.4และ 93.8 เซนติเมตร นอกจากนี้การใส่ปุ๋ย 16-16-8ในอัตรา 45 กิโลกรัมต่อไร่ มี จำนวนรวงเฉลี่ยมากที่สุด คือ 15 รวงต่อกอ  ผลผลิตเมล็ดข้าวสูงที่สุดคือ544 กิโลกรัมต่อไร่ และน้ำหนักเมล็ดข้าวจำนวน 100 เมล็ดสูงที่สุดคือ 2.69 กรัม รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ย 16-16-8 ในอัตรา 30 และ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ดังนั้น หากต้องการปลูกข้าวหอมนิลในนาชลประทานโดยใช้ปุ๋ยเคมี อัตราที่แนะนำ และมีประสิทธิภาพมากที่สุดต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคือ ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 45กิโลกรัมต่อไร่ 



ผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืน ของน้ำมันถั่วเหลือง
ผู้วิจัย ธนิดา แก่นวงษ์ และ ปวีณา วงศ์ศรีทา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89633 ครั้ง ดาวน์โหลด 57 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง โดยเปรียบเทียบปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูล-อิสระ จากการทดลองพบว่า สารสกัดจากเปลือกมะม่วงมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 1,823.45 ไมโครกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรสารสกัด ซึ่งมีปริมาณมากกว่าสารสกัดใบย่านางที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 957.52 ไมโครกรัมสมมูลย์ของกรดแกลลิกต่อมิลลิลิตรสาร-สกัด สารสกัดจากเปลือกมะม่วงมีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ มีค่าเท่ากับ 93.78 % Inhibition ซึ่งมีกิจ- กรรมการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าสารสกัดใบย่านาง มีค่าเท่ากับ 81.90 % Inhibition ทำการศึกษาผลของสารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อการชะลอการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง ปริมาณ สารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางต่อน้ำมันถั่วเหลืองที่แตกต่างกัน 2 ระดับ คือ 20:200 และ 100:200 วิเคราะห์ค่าเปอร์ออกไซด์และค่าโพลาร์ที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 0, 2, 4, 6, 8 และ 10 วัน เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อค่าเปอร์ออกไซด์ของน้ำมันถั่วเหลือง ได้แก่ ชนิดน้ำมัน ชนิดสารสกัด อัตราส่วน ระยะเวลาการเก็บรักษา และยังมีปัจจัยร่วมที่มีผลต่อการเกิดกลิ่นหืนของน้ำมันถั่วเหลือง ได้แก่ ชนิดน้ำมันมีผลร่วมกับอัตราส่วน ชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา ชนิดน้ำมันมีผลร่วม กับระยะเวลาการเก็บรักษาชนิดน้ำมัน และชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับอัตราส่วน ชนิดน้ำมันและชนิดสารสกัดมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา ชนิดสารสกัดและอัตราส่วนมีผลร่วมกับระยะเวลาการเก็บรักษา นอกจากนี้สารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้มสามารถชะลอ การเกิดเปอร์ออกไซด์ที่ดีที่สุด มีค่าเท่ากับ 17.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม รองลงมาคือสารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 100:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้ม มีค่าเท่ากับ 20.67 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม และสารสกัดเปลือกมะ- ม่วงอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ไม่ต้ม  มีค่าเท่ากับ 21.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม สารสกัดใบย่านางอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ต้มสามารถชะลอการเกิดเปอร์ออกไซด์ได้ดีที่สุด มีค่าเท่ากับ 28.67 มิลลิกรัม-สมมูลย์ต่อกิโลกรัม รองลงมาคือสารสกัดเปลือกมะม่วงอัตราส่วน 20:200 ในน้ำมันที่ต้ม มีค่าเท่ากับ 31.33 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม และสารสกัดเปลือกมะม่วงอัตราส่วน 100:200 มีค่าเท่ากับ 36.00 มิลลิกรัมสมมูลย์ต่อกิโลกรัม สารสกัดเปลือกมะม่วงและสารสกัดใบย่านางทุกอัตราส่วน สามารถชะลอการเกิดกลิ่นหืนได้ในน้ำมันที่ต้มและน้ำมันที่ไม่ต้มไม่แตกต่างกัน ค่าโพลาร์มีค่าน้อยกว่า 20 % ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 25 จึงเหมาะแก่การบริโภค



การเปรียบเทียบอาหารเพาะเชื้อเห็ดนางรมบริสุทธิ์จากพืชท้องถิ่น กับอาหารวุ้น มาตรฐาน
ผู้วิจัย ยุภา คำลือไชย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 87848 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                  การเปรียบเทียบอาหารเพาะเชื้อเห็ดนางรมบริสุทธิ์จากพืชท้องถิ่น  กับอาหารวุ้น     มาตรฐาน

                     Comparison of Oyster Mushroom Mycelium Culture Media from                      Local Plants and Standard Agar Media

โดย                   นางสาวยุภา  คำลือไชย

ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา          2557

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.เสกสรร  ชินวัง  

            ศึกษาการเปรียบเทียบอาหารเพาะเชื้อเห็ดนางรมบริสุทธิ์จากพืชท้องถิ่น  กับอาหารวุ้นมาตรฐานโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 10 ชิ้น พบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 (อาหารเลี้ยงเชื้อจากผงวุ้น 15 กรัม) เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด จำนวนช่อดอก จำนวนดอก น้ำหนักผลผลิตสดและขนาดเส้นผ่าศูนย์ของดอกเฉลี่ยมากที่สุด คือ 1.89 เซนติเมตรต่อวัน  2 ช่อ

ต่อถุง 31.49 ดอกต่อถุง  218.02 กรัมต่อถุง และ 2.88 เซนติเมตรต่อถุง แต่หากต้องการใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนผงวุ้น พบว่า กลุ่มทดลองที่ 5 (อาหารเลี้ยงเชื้อจากแป้งข้าวโพด 150 กรัม) มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจาก ทุกดัชนีตัวชี้วัดมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง รองจากกลุ่มทดลองที่ 1และให้ผลผลิตเกรด A ไม่แตกต่างทางสถิติ จากกลุ่มทดลองทื่ 1 ในขณะที่ กลุ่มทดลองที่ 4 (อาหารเลี้ยงเชื้อจากแป้งข้าวเจ้า 150 กรัม) ไม่ควรนำมาใช้ทดแทนผงวุ้นในการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดนางรม เนื่องจากทุกดัชนีตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

คำสำคัญ  อาหารเพาะเชื้อเห็ด  เห็ดนางรมพืชท้องถิ่น 

 


เข้าสู่ระบบ