งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นายธนพล สีสุภา และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 87671 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
บทคัดย่อ
การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ดที่ระดับ 0, 25, 50 , และ75 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารข้นต่อปริมาณน้้านมและองค์ประกอบทางเคมีของน้้านมในโครีดนมที่ โดยใช้โครีดนมพันธุ์โฮสไตล์ฟรีเชี่ยนเพศเมีย จ้านวน 4 ตัว มีน้้าหนักเฉลี่ย 400 ± 500 กก. จัดโคเข้าทดลองตามแผนการทดลองแบบ 4x4 จัตุรัสลาติน ให้โคได้รับอาหารข้นในอัตราส่วนอาหารข้นต่อปริมาณน้้านม 1:2 และใช้ฟางข้าวหมักยูเรีย (5% ยูเรีย) เป็นอาหารหยาบโดยให้กินแบบเต็มที่ ผลการทดลองพบว่าการใช้ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นส้าหรับโคนรีดนมท้าให้ปริมาณน้้านม และองค์ประกอบทางเคมีของน้้านม ได้แก่ โปรตีน ไขมัน น้้า ของแข็งที่ไม่รวมไขมัน ความหนาแน่นของน้้านม ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่การใช้ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ดที่ 25 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหารข้นมีแนวโน้มท้าให้โคนมมีปริมาณน้้านมสูง
ค้าส้าคัญ: ทางใบปาล์มน้้ามันอัดเม็ด, ปริมาณน้้านม, องค์ประกอบทางเคมีของน้้านม, โครีดนม
ABSTRACT
This experiment was to study the effects of oil palm fronds pellet at 0, 25, 50 and 75% in concentrate on milk yield and milk composition in lactating dairy cows. Four, Holstein-Friesian cross bred cows with 400 + 500 kg body weight, were randomly assigned according to a 4x4 Latin Square Design. Cows were fed concentrate, at a ratio of concentrate to milk yield of 1:2, and urea treated rice straw (5% urea) were used as a roughage source ad libitum. The results showed that feeding cows with oil palm fronds pellet has no effect on milk yield and milk composition in term of protein, fat, water, solids not fat and density (P> 0.05). However, using oil palm fronds pellet at 25% in concentrate tend to increased milk yield.
Keywords: oil palm fronds pellet, milk yield, milk composition, lactating dairy cows
ผู้วิจัย นายกรวิทย์ จันสุตะ และ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88388 ครั้ง ดาวน์โหลด 46 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มในการควบคุมมอดแป้ง
Effect of Some Citrus Peel Powder for Red Flour Beetle Control
โดย นายกรวิทย์ จันสุตะ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของผงบดจากเปลือกพืชตระกูลส้มเพื่อควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 5 กลุ่มทดลอง จำนวน 10 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัวโดยใช้ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้ม 4 ชนิดได้แก่ มะกรูด มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มโอและชุดควบคุม โดยวิธีการคลุกเมล็ด เปรียบเทียบกับชุดควบคุม ผลการทดลองพบว่า ผงบดจากเปลือกมะกรูดทำให้มอดแป้งตายมากที่สุดที่ 240 ชั่วโมง (10 วัน) คือ 63% รองลงมาได้แก่ผงบดจากเปลือกส้มเขียวหวาน ส้มโอและมะนาวมีการตายของมอดแป้งเท่ากับ 32% 25% และ 19% ในขณะที่ชุดควบคุมมีประสิทธิภาพน้อยที่สุดมีการตายของมอดแป้ง 3% ดังนั้น ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ ผงบดจากเปลือก มะกรูด ซึ่งเปอร์เซ็นต์การตายของมอดแป้งเป็นตัวชี้วัดได้ดีว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มชนิดอื่นๆ
คำสำคัญ เปลือกพืชวงศ์ส้ม ควบคุม มอดแป้ง
ผู้วิจัย นิตยา พรมบู่ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 90739 ครั้ง ดาวน์โหลด 158 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเพาะเห็ดโคนน้อยกับวัสดุชนิดต่างๆ
Cultivation ofHypsizygus marmoreus (Peck)in Different
Substrates
โดย นางสาวนิตยา พรมบู่
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการเพาะเห็ดโคนน้อยกับวัสดุชนิดต่างๆ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ
5 ตะกร้า โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ฟางข้าว (Control) กลุ่มทดลองที่ 2 ต้นกล้วยสับ กลุ่มทดลองที่ 3 หญ้าคา และกลุ่มทดลองที่ 4 หญ้าแฝก พบว่า การใช้ฟางข้าว มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกน้อยที่สุด คือ 16.40 วัน รองลงมาได้แก่ การใช้หญ้าแฝก หญ้าคา และต้นกล้วยสับ มีระยะเวลาการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 16.63 18.83 และ 20.00 วัน ตามลำดับ ส่วนจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย พบว่า การใช้ต้นกล้วยสับมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 28.56 ดอกต่อตะกร้า รองลงมาได้แก่ การใช้ฟางข้าว หญ้าคา และหญ้าแฝก มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 26.40 14.43 และ 14.43 ดอกต่อตะกร้า ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย พบว่าการใช้ต้นกล้วยสับมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 53.66 กรัมต่อตะกร้า รองลงมาได้แก่ การใช้ฟางข้าว หญ้าแฝกและหญ้าคา มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 50.00 29.00 และ 26.33 กรัมต่อตะกร้า ตามลำดับ ดังนั้นวัสดุที่เหมาะสมต่อการเพาะเห็ดโคนน้อยทดแทนฟางข้าว คือ ต้นกล้วยสับเนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด ถึงแม้จะใช้ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุดแต่ถือว่าคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
คำสำคัญ เห็ดโคนน้อย ฟางข้าว ต้นกล้วย และผลผลิต
ผู้วิจัย ศุภชัย ศรีสุวรรณ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89802 ครั้ง ดาวน์โหลด 61 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและ การเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดหวาน (ลูกผสมท๊อปสวีท 1320) ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง Effect of Seed Priming with Salicylic Acid on Seed Germination and Seedling Growth of Sweet Corn (Zea mays cv. Top sweet 1320) Under Drought Stress โดย นายศุภชัย ศรีสุวรรณ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ภาคเรียนที่ 2557 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.วิรญา ครองยุติ ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ด และการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดหวาน (ลูกผสมท๊อปสวีท 1320) ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง การทดลองนี้แบ่งเป็น 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ศึกษาความเข้มข้นของกรดซาลิไซลิกต่อการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะที่ความเข้มข้น 0 0.25 0.5 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ ผลการทดลองพบว่า เมล็ดที่แช่ในสารในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.25 มิลลิโมลาร์ มีเปอร์เซ็นต์การงอกและ ความยาวรากเฉลี่ยมากที่สุด คือ 62.67 เปอร์เซ็นต์ และ 12.59 เซนติเมตร ตามลาดับ และการทดลองที่ 2 ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของต้นกล้าในสภาวะแห้งแล้ง โดยงดให้น้าเป็นเวลา 7 วัน เมื่อปลูกครบ 2 สัปดาห์ พบว่า การแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิก และอยู่ในสภาวะแล้ง ต้นกล้ามีความสูงลาต้นและรากสด น้าหนักสดลาต้นและราก น้าหนักแห้งลาต้นและราก มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมและชุดที่แช่เมล็ดในน้ากลั่นและอยู่ในสภาวะแล้ง นอกจากนี้การแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิก และอยู่ในสภาวะแล้งมีอัตราส่วนน้าหนักสดรากต่อลาต้นแตกต่าง จากชุดควบคุม คือ 0.59 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการแช่ในกรดซาลิไซลิกก่อนการปลูกช่วยกระตุ้นให้พืช มีการปรับตัวและเจริญเติบโตในสภาวะแห้งแล้งได้ จากการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเมล็ดที่ผ่านการแช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.25 มิลลิโมลาร์ ทาให้ต้นกล้าข้าวโพดหวาน มีความสามรถในการทนแล้งได้ดีที่สุด
คาสาคัญ กรดซาลิไซลิก ข้าวโพดหวานลูกผสมท๊อปสวีท 1320 สภาวะแห้งแล้ง
สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin