งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นายชุติพนธ์ ทิมา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88827 ครั้ง ดาวน์โหลด 47 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมี
ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ต
Comparison of Chemical and Liquid Biostimulant Fertilizer
Efficiency On Growth and Yield of Hybrids Radish var. White
Rocks Kate
โดย นายชุติพนธ์ ทิมา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกาดหัวลูกผสมพันธุ์ ไวท์ ร็อกเก็ตวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 100 ต้น โดยเตรียมแปลงขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจาก มีน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อหัว เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยต่อหัว และผลผลิตเกรด A มากที่สุด คือ 672.67 กรัมต่อหัว 7.40 เซนติเมตร และ 88.33 % ตามลำดับ และมีความยาวเฉลี่ยของหัวปานกลาง คือ 21.43 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 รวมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาว
มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 32.73 เซนติเมตร และมีค่าน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อหัวเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของหัว และผลผลิตเกรด A ปานกลาง คือ 612.33 กรัมต่อหัว 6.60 เซนติเมตรและ 71.66 %ในขณะที่การปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ไม่แนะนำให้ใช้ เนื่องจากมีค่าดัชนีตัวชี้วัด เกือบทุกตัวน้อยที่สุด ดังนั้นหากต้องการปลูกผักกาดหัวโดยใช้ร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแนะนำให้ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมูลค้างคาว เนื่องจาก ทุกดัชนีชี้วัด ยกเว้นความสูงและความยาวเฉลี่ยของผล มีค่ารองลงมาจากการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
ผู้วิจัย นิตยา พรมบู่ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 90728 ครั้ง ดาวน์โหลด 158 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเพาะเห็ดโคนน้อยกับวัสดุชนิดต่างๆ
Cultivation ofHypsizygus marmoreus (Peck)in Different
Substrates
โดย นางสาวนิตยา พรมบู่
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการเพาะเห็ดโคนน้อยกับวัสดุชนิดต่างๆ โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ
5 ตะกร้า โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ฟางข้าว (Control) กลุ่มทดลองที่ 2 ต้นกล้วยสับ กลุ่มทดลองที่ 3 หญ้าคา และกลุ่มทดลองที่ 4 หญ้าแฝก พบว่า การใช้ฟางข้าว มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกน้อยที่สุด คือ 16.40 วัน รองลงมาได้แก่ การใช้หญ้าแฝก หญ้าคา และต้นกล้วยสับ มีระยะเวลาการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 16.63 18.83 และ 20.00 วัน ตามลำดับ ส่วนจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย พบว่า การใช้ต้นกล้วยสับมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 28.56 ดอกต่อตะกร้า รองลงมาได้แก่ การใช้ฟางข้าว หญ้าคา และหญ้าแฝก มีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยเท่ากับ 26.40 14.43 และ 14.43 ดอกต่อตะกร้า ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย พบว่าการใช้ต้นกล้วยสับมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 53.66 กรัมต่อตะกร้า รองลงมาได้แก่ การใช้ฟางข้าว หญ้าแฝกและหญ้าคา มีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 50.00 29.00 และ 26.33 กรัมต่อตะกร้า ตามลำดับ ดังนั้นวัสดุที่เหมาะสมต่อการเพาะเห็ดโคนน้อยทดแทนฟางข้าว คือ ต้นกล้วยสับเนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด ถึงแม้จะใช้ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุดแต่ถือว่าคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
คำสำคัญ เห็ดโคนน้อย ฟางข้าว ต้นกล้วย และผลผลิต
ผู้วิจัย จิราภรณ์ สำราญสุข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89298 ครั้ง ดาวน์โหลด 77 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าว
Dormancy Breaking of Spring Bitter Cucumber Seed
โดย นางสาวจิราภรณ์ สำราญสุข
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาวิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าว โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 8 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้ำๆละ 20 เมล็ด เป็นระยะเวลา 46 วัน ผลการทดลอง พบว่า การกะเทาะเปลือกทั้งหมดและการกะเทาะเปลือกทั้งหมดแล้วแช่ในน้ำยาเร่งราก 24 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p0.01) คือ 82.5 และ 71.3 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แต่การกะเทาะเปลือกแล้วแช่ในน้ำยาเร่งราก มีอัตราเร็วเฉลี่ยในการงอกเร็วที่สุดคือ 10 วัน มีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า (รวมราก) มากที่สุด มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็งและเมล็ดสดไม่งอกปานกลาง และไม่มีต้นอ่อนผิดปกติ รองลงมาคือ การกะเทาะเปลือกทั้งหมด การนำเมล็ดมาแช่ในสารละลายโปแตสเซียมไนเตรท 0.2% นาน 24 ชั่วโมง การนำเมล็ดแช่น้ำกลั่น 168 ชั่วโมง เมล็ดฟักข้าวไม่ทำลายการพักตัว (Control) และเมล็ดแช่ในกรดซัลฟูริกเข้มข้นนาน 4 นาที ตามลำดับ ในขณะที่เมล็ดฟักข้าวแช่ในน้ำอุ่น 80 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที และเมล็ดฟักข้าวแช่ในสารละลายเอทธิฟอน 0.5% 24 ชั่วโมง เมล็ดฟักข้าวเกิดการตายทั้งหมดเนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ดังนั้น วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าวที่เหมาะสมที่สุด สำหรับแนะนำให้ผู้ที่สนใจ หรือ เกษตรกร คือวิธีการกะเทาะเปลือกทั้งหมดแล้วแช่น้ำยาเร่งราก 24 ชั่วโมง
ผู้วิจัย นางสาวพรสวรรค์ แปลงศรี | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89170 ครั้ง ดาวน์โหลด 29 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่องอิทธิพลของ Heiterและน้ำมะนาวสำเร็จรูป ต่อการยืดอายุการปักแจกัน
ของเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ
Effect of Heiter and Lemonade on Vase Life of White
Chrysanthemum (cv. Yuko)
โดยนางสาวพรสวรรค์ แปลงศรี
ชื่อปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาอิทธิพลของ Heiterและน้ำมะนาวสำเร็จรูป ต่อการยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ โดยวางแผนการทดลองแบบ6x 5Factorial in Completely Randomized Design เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำประปา) รวมทั้งหมด 31 กลุ่มทดลอง แต่ละกลุ่มทดลองมี 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ก้าน เป็นเวลา 28 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลาย Heiterความเข้มข้น 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 5 mlมีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานที่สุด คือ 23.40 วัน และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดปานกลาง คือ -18.69% รองลงมาได้แก่ การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 15 ml มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 22.80 วัน และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด เท่ากับ -12.42% มีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01) นอกจากนี้จากการทดลองพบว่า การใช้สารละลาย Heiter 0.7-0.9% ร่วมกับ น้ำมะนาวสำเร็จรูป ในความเข้มข้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่า pH ของสารละลายมีความเป็นด่างมากขึ้น อายุการปักแจกันมีแนวโน้มสั้นลง และดอกเบญจมาศมีอัตราการดูดน้ำผิดปกติ ดังนั้นหากต้องการยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ ควรใช้ความเข้มข้นของสารละลาย Heiterเท่ากับ 0.1% และไม่เกิน 0.3% ร่วมกับการแปรผันความเข้มข้นของน้ำมะนาวสำเร็จรูประหว่าง 5-20 ml และควรปรับ pH ของสารละลายให้มีสภาพเป็นกรด จึงทำให้สามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานกว่าชุดควบคุม (น้ำประปา) ที่มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 15.60 วัน