งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นายณัฐวุฒิ ปัดอาสา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 90089 ครั้ง ดาวน์โหลด 117 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และ เ เห็ดกระด้าง w Study of Chitin and Chitosan Quantity from Animal Shells and ก Amtrak Mushrooms โดย นายณัฐวุฒิ ปัดอาสา ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2558 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สังวาล สมบูรณ์
การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้าง วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design; CRD) กำหนดให้มี 4 กลุ่มทดลอง จำนวน 3 ซ้ำ พบว่าปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยและค่าร้อยละของไคตินที่มีมากที่สุดคือ ไคตินจากกาบหอยโดยมีค่าเท่ากับ 852.51 กรัม และ 85.25% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ กับปริมาณไคตินจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นไคตินที่ได้จากเห็ดกระด้าง 734.42กรัม และ 73.44% เปลือกปู 576.09กรัม และ 57.61% ในขณะที่ปลือกกุ้งมีน้ำหนักเฉลี่ยไคตินและร้อยละของไคตินน้อยที่สุดคือ 489.09กรัม และ 48.91% ตามลำดับ ส่วนปริมาณน้ำหนักเฉลี่ยของไคโตซานและค่าร้อยละของไคโตซาน พบว่า การสกัดจากกาบหอยมีค่ามากที่สุดเท่ากับ 834.81 กรัม และ 83.48% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณไคโตซานจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นไคโตซานที่ได้จากเห็ดกระด้าง 737.77กรัม และ 73.78% ไคโตซานจากเปลือกปู 546.43กรัม และ 54.64% ในขณะที่ไคโตซานจากเปลือกกุ้งมีน้อยที่สุดคือ 421.44กรัม และ 42.14% ตามลำดับ ส่วนการละลายไคโตซานในน้ำส้มสายชูเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พบว่าเปอร์เซ็นต์การละลายของไคโตซานที่ละลายได้ดีที่สุดคือ ไคโตซานจากกาบหอย โดยมีเปอร์เซ็นต์การละลายอยู่ที่ 42.8% ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณการละลายไคโตซานจากวัสดุกลุ่มอื่น รองลงมาเป็นการละลายไคโตซานจากเปลือกกุ้ง 35.5% ไคโตซานจากเปลือกปู 26.7% และไคโตซานจากเห็ดกระด้างมีการละลายน้อยที่สุดคือ 13.9% ตามลำดับ ปริมาณไคตินและไคโตซานที่สกัดได้จากเปลือกหุ้มลำตัวสัตว์และเห็ดกระด้างมีปริมาณแตกต่างกัน โดยการสกัดจากกาบหอยจะมีปริมาณไคติน-ไคโตซาน มากที่สุดและมีปริมาณการละลายในน้ำส้มสายชูดีที่สุด รองลงมาคือเห็ดกระด้าง เปลือกปูและเปลือกกุ้ง ตามลำดับ แต่เห็ดกระด้างมีปริมาณการละลายน้อยที่สุด ดังนั้นหากไม่มี กาบหอย แนะนำให้ใช้เปลือกปู มาทำการสกัด จะทำให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ดีเช่นเดียวกัน
ผู้วิจัย นางสาวนิตยา มูลรัตน์ และ นางสาวสุรณีย์ ท้องที่ | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 88503 ครั้ง ดาวน์โหลด 59 ครั้ง
ปฏิกิริยาสีน้ำตาลในผักและผลไม้ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่พืชถูกทำลาย จากการปอกเปลือกหรือตัดแต่ง ซึ่งจะทำให้เอนไซม์ PPO (Polyphenol Oxidase) ในเนื้อเยื่อและ substrate รวมตัวกันอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญและเป็นตัวกำหนดอายุการเก็บรักษาผักและผลไม้ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปขั้นต่ำดังนั้นจึงมีการศึกษาวิธีการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาล โดยใช้สารธรรมชาติ ราคาถูก หาง่าย และปลอดภัยต่อผู้บริโภค งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา ความเข้มของสารละลาย Sodium Chloride (NaCl) และระยะเวลาที่ใช้แช่แอปเปิลตัดแต่งที่แตกต่างกัน ความเข้มข้นที่ศึกษา คือ NaCl 0.25g/l, 0.5g/l, 1g/l ระยะเวลาในการแช่ 1, 3 และ 5 นาที เพื่อเปรียบเทียบกับการแช่แอปเปิลตัดแต่งใน Citric acid ที่มีผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาลในแอปเปิลตัดแต่ง โดยวิเคราะห์ค่าทางกายภาพและจุลินทรีย์ ได้แก่ ค่าความสว่าง (L) ค่าความแน่นเนื้อ (Firmness) จำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตทั้งหมด(TPC) ผลการศึกษาพบว่า เมื่อแช่แอปเปิลตัดแต่งในสารละลาย NaCl 1g 5 นาที มีค่าความสว่าง (L) สูงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา (79.64 - 75.88) ซึ่งมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) กับตัวอย่างที่แช่ใน Citric acid ส่วนค่าความแน่นเนื้อเมื่อแช่ในแอปเปิลตัดแต่งสารละลาย NaCl ที่มีความเข้มข้นเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ค่าความแน่นเนื้อลดลงแสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นของ NaCl มีผลต่อความแน่นเนื้อของแอปเปิลตัดแต่ง การศึกษาด้านจุลินทรีย์ในแอปเปิลตัดแต่ง พบว่า จำนวนจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นตามอายุการเก็บรักษาทั้งตัวอย่างที่ผ่านการแช่ใน NaCl และกรดซิตริก การประเมินคุณลักษณะทางด้านประสาทสัมผัสของแอปเปิลตัดแต่ง ด้านความชอบต่อสี กลิ่น รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับแอปเปิลตัดแต่งที่แช่ใน Citric acid (P>0.05)
ผู้วิจัย ปรันยาน์ มณีสร้อย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88874 ครั้ง ดาวน์โหลด 19 ครั้ง
การใช้กกราชินีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม
Using Umbrella Plant(CyperusinvolucratusRottb.)to Substitute Sawdust for Oyster Mushroom (Pleurotusosttreatus (Fr.) Kummer) Production
โดย นางสาวปรันยาน์ มณีสร้อย
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้กกราชินีทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรม โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง)พบว่า ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกนานที่สุดคือ กลุ่มทดลองที่ 5 (กกราชินีร้อยละ 100)รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 4
(ขี้เลื่อยร้อยละ 25 กกราชินีร้อยละ 75) กลุ่มทดลองที่ 1 (ขี้เลื่อยร้อยละ 100)กลุ่มทดลองที่ 3
(ขี้เลื่อยร้อยละ 50 กกราชินีร้อยละ 50) และกลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อยร้อยละ 75 กกราชินีร้อยละ 25) โดยมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดคือ 26 22 2120 และ 20 วัน ตามลำดับส่วนปริมาณดอกต่อถุงมากที่สุดคือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 3กลุ่มทดลองที่ 4 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มทดลองที่ 5 ให้จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยคือ 7.93 6.36 5.33 4.47 และ 2.61 ดอก/ถุง ตามลำดับ และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุดคือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 4กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มทดลองที่ 5 ให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 64.58 31.56 30.44 29.84 และ 14.67 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนของกกราชินีที่เหมาะสมสำหรับใช้ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางรมคือ การใช้กกราชินีร้อยละ 25 ขี้เลื่อยร้อยละ 75 เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเร็วที่สุด และให้ผลผลิตรองมาจากการใช้ขี้เลื่อยร้อยละ 100 เท่านั้นการใช้กกราชินีเสริมในวัสดุเพาะเป็นการช่วยลดต้นทุนในการผลิตเห็ดของเกษตรกรได้เนื่องจากเป็นวัสดุที่มีมากและหาได้ง่ายในท้องถิ่น
ผู้วิจัย นางสาวศิรินภา มหิศยา และ นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89833 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง
บทคัดย่อ
หัวข้อปัญหาพิเศษ การเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริมโพรไบโอติก
นักศึกษา นางสาวศิรินภา มหิศยา
นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิราศ กิ่งวาที
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยน้ำว้าแช่อิ่มอบแห้ง
ว่าในกระบวนการแช่อิ่ม อบแห้ง และอุณหภูมิในการเก็บรักษา จะมีผลต่อการเหลือรอดของ
เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกหรือไม่ โดยการแช่อิ่มกล้วยด้วยสารละลายน้ำตาล 30 °Brix ที่มีเชื้อจุลินทรีย์
L. acidophilus เริ่มต้น 8 log cfu/ml แช่อิ่มเป็นระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง พบว่าที่ 24 ชั่วโมง
มีการเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.19 log cfu/g จากนั้นศึกษาอุณหภูมิใน
การอบว่า มีผลต่อการเหลือรอดของจุลินทรีย์ โดยใช้ตัวอย่างจากการแช่อิ่ม 2 ตัวอย่าง อบที่อุณหภูมิ
37 และ 55 °C พบว่าตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 37 °C มีการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์
โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.11 log cfu/g ส่วนในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 55 °C มีการ
เหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกน้อยที่สุด มีเชื้อ 5.42 log cfu/g ตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่
37 °C มีค่า aW สูง และศึกษาการเหลือรอดในระหว่างการเก็บรักษาของกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริม
โพรไบโอติก บรรจุแบบสุญญากาศ เก็บในอุณหภูมิที่แตกต่างกันคือ อุณหภูมิ 25 °C และอุณหภูมิ
4 °C พบว่าในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่ 37 °C เก็บรักษาในอุณหภูมิ 25 °C มีการเหลือรอด
ของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด