งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92925
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92874
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92285

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบด
ผู้วิจัย จุฑามาศ เจาะจง | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88162 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบด
Using Giant Mimosa to Substitute Sawdust for Lentinus polychrous
Production
โดย นางสาวจุฑามาศ เจาะจง ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ปีการศึกษา 2557 อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบดโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 10 ถุงๆ ละ 320 กรัม (น้าหนักแห้ง) ผลการทดลอง พบว่า ระยะเวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดเร็วที่สุด คือกลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25%) รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 5
(ไมยราบยักษ์ 100%) กลุ่มทดลองที่ 3 (ขี้เลื่อย 50% ไมยราบยักษ์ 50%) กลุ่มทดลองที่ 1 (ขี้เลื่อย100%) และกลุ่มทดลองที่ 4 (ขี้เลื่อย 25% ไมยราบยักษ์ 75%) โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 27.93 28.06 28.60 28.60 และ 28.73 วัน ตามลาดับ สาหรับจานวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจานวนดอกเฉลี่ยที่ 12.56 10.13 7.20 6.23 และ 4.03 ดอก/ถุง ตามลาดับ ส่วนน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดบดสูงสุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 59.55 52.89 37.92 34.36 และ 25.39 กรัม/ถุง ตามลาดับ ดังนั้น หากต้องการใช้ไมยราบยักษ์ทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบด ควรใช้ไมยราบยักษ์ผสมกับขี้เลื่อยในอัตราส่วน ขี้เลื่อย 75% ไมยราบยักษ์ 25% สามารถเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดบดได้ดีที่สุด เนื่องจากมีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดที่ดี มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ยและน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุด
คาสาคัญ เห็ดบด ไมยราบยักษ์ ขี้เลื่อย ผลผลิต


แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล



การทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าว
ผู้วิจัย จิราภรณ์ สำราญสุข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89309 ครั้ง ดาวน์โหลด 77 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                         การทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าว

        Dormancy Breaking of Spring Bitter Cucumber Seed

โดย                                      นางสาวจิราภรณ์  สำราญสุข

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา            2556

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์

 

    ศึกษาวิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าว โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD)  ประกอบด้วย 8 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้ำๆละ 20 เมล็ด เป็นระยะเวลา 46 วัน ผลการทดลอง พบว่า การกะเทาะเปลือกทั้งหมดและการกะเทาะเปลือกทั้งหมดแล้วแช่ในน้ำยาเร่งราก 24 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p0.01) คือ 82.5 และ 71.3 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ แต่การกะเทาะเปลือกแล้วแช่ในน้ำยาเร่งราก มีอัตราเร็วเฉลี่ยในการงอกเร็วที่สุดคือ 10 วัน มีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า (รวมราก) มากที่สุด มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็งและเมล็ดสดไม่งอกปานกลาง และไม่มีต้นอ่อนผิดปกติ รองลงมาคือ การกะเทาะเปลือกทั้งหมด การนำเมล็ดมาแช่ในสารละลายโปแตสเซียมไนเตรท   0.2% นาน 24 ชั่วโมง การนำเมล็ดแช่น้ำกลั่น 168 ชั่วโมง เมล็ดฟักข้าวไม่ทำลายการพักตัว (Control) และเมล็ดแช่ในกรดซัลฟูริกเข้มข้นนาน 4 นาที ตามลำดับ ในขณะที่เมล็ดฟักข้าวแช่ในน้ำอุ่น 80 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที และเมล็ดฟักข้าวแช่ในสารละลายเอทธิฟอน 0.5%         24 ชั่วโมง เมล็ดฟักข้าวเกิดการตายทั้งหมดเนื่องจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ดังนั้น วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดฟักข้าวที่เหมาะสมที่สุด สำหรับแนะนำให้ผู้ที่สนใจ หรือ เกษตรกร คือวิธีการกะเทาะเปลือกทั้งหมดแล้วแช่น้ำยาเร่งราก 24 ชั่วโมง

 



ผลของการใช้กากปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น ต่อปริมาณน้ำนมและองค์ประกอบทางเคมีของน้ำนมในโครีดนม
ผู้วิจัย ศิริชัย เที่ยงธรรมและคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88280 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง



ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1)
ผู้วิจัย นายอิศรา พุ่มจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89162 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                 ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและ

                           ผลผลิตของมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1)

Effect of Chemical and Liguid Biostimulant Fertilizer on Growth and Yield of Eggplant (Tomahawk F1)

โดย                 นายอิศรา  พุ่มจันทร์

ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา          2558  

อาจารย์ที่ปรึกษา     อาจารย์นงลักษณ์  พยัคฆศิรินาวิน

 

            งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1) โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จำนวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 18 ต้น ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 และสูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลไก่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักเศษผักผลไม้ ผลการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา (อัตรา 200 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ เนื่องจากมีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้น ขนาดทรงพุ่มเฉลี่ย จำนวนดอกเฉลี่ยทั้งหมด จำนวนดอกเฉลี่ยที่ติดผล ความยาวเฉลี่ยของผล และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อผลมากที่สุด คือ 67.06 เซนติเมตร 67.02 เซนติเมตร 19.12 ดอก 9.28 ดอกต่อต้น 27.00 เซนติเมตร และ 263.54 กรัมต่อผล ในขณะเดียวกันก็ให้ผลผลิตเกรด A เฉลี่ยมากที่สุด คือ 8.21 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักเศษผักผลไม้ มีค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดอยู่ในระดับปานกลาง แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับกลุ่มทดลองที่ 4 ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับน้ำหมักมูลไก่ (กลุ่มทดลองที่ 2) มีแนวโน้มให้ค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดน้อยที่สุด ยกเว้นจำนวนดอกเฉลี่ยที่ติดผล และผลผลิตเกรด A เฉลี่ยมีค่าปานกลาง ส่วนกลุ่มทดลองที่ 3 การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักมูลสุกร (อัตรา 1 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร) ให้ผลผลิตตกเกรดมากที่สุด (13.89 เปอร์เซ็นต์) ดังนั้นในการเพาะปลูกมะเขือยาวพันธุ์ลูกผสม (โทมาฮอค F1) แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยน้ำหมักจากพืช จะมีประสิทธิภาพมากกว่าปุ๋ยน้ำหมักมูลสัตว์ และปุ๋ยน้ำหมักจากพืชที่เหมาะสมที่สุดคือ ปุ๋ยน้ำหมักผักตบชวา เพราะให้ค่าไม่แตกต่างทางสถิติจากการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว


เข้าสู่ระบบ