งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92939
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92879
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92294

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติ คุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดกวางตุ้งโชว์จีน ที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ T
ผู้วิจัย ทิพย์สุดา วงศ์กลม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88632 ครั้ง ดาวน์โหลด 13 ครั้ง

การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของ ผักกาดกวางตุ้งโชว์จีนที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
The Use of Bio-Fermented Juice on Growth and Postharvest Quality of Chinese Cabbage-PAI TSAI (Brassica pekinensis L.) in Hydroponics System
โดย นางสาวทิพย์สุดา วงศ์กลม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. วิรญา ครองยุติ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดกวางตุ้งโชว์จีนที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 เปรียบเทียบกับการใช้สารละลายมาตรฐาน อนินทรีย์เพียงอย่างเดียว โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 4 ซํ้าๆ ละ 25 ต้น ผลการทดลองพบว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวอัตราส่วน 1:1 มีผลใกล้เคียงกันที่ทำให้การเจริญเติบโตของผักกาดกวางตุ้งโชว์จีนเพิ่มขึ้นทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว ทั้งในด้านความสูง ความยาวราก นํ้าหนักสดต้น และนํ้าหมักชีวภาพจากมูลเสริมวัวอัตราส่วน 1:1 ยังมีผลทำให้ผักกาดกวางตุ้งโชว์จีน มีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวด้วย เช่น ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์ บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมทั้งหมด แคโรทีนอยด์ วิตามินซี และปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้ จากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวอัตราส่วน 1:1ร่วมกับสารละลายมาตรฐานอนินทีย์ สามารถนำมาทดแทนสารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวได้



การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของเกษตรกร ผู้ผลิตโคต้นน้ำ (ลูกโค)
ผู้วิจัย ผกาแก้ว ทาระเกต และคณะวิจัย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88547 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง



การศึกษาชนิดของตัวทำละลายที่มีผลต่อปริมาณเบต้าแคโรทีน ของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว
ผู้วิจัย แพรวฤดี สีงาม และ พิไล ประสิทธิ์ศาล | ปีที่พิมพ์ 2555 | อ่าน 91492 ครั้ง ดาวน์โหลด 178 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาชนิดของตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสีจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว โดยใช้ตัวทำละลายในการสกัด 3ชนิด คืออะซิโตน ปิโตรเลียมอีเธอร์และคลอโรฟอร์ม:เมทานอล (2:1) จากนั้นนำมาวัดปริมาณสารสกัดที่ได้ และวิเคราะห์ปริมาณของเบต้าแคโรทีนที่เหลืออยู่หลังการสกัดโดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงได้มากที่สุดของเบต้าแคโรทีน ด้วยวิธีสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ พบว่าปริมาณสารสกัดหยาบที่สกัดด้วยอะซิโตนปิโตรเลียมอีเธอร์ และคลอโรฟอร์ม:เมทานอล (2:1) มีค่าเท่ากับ 269346 และ 265 มิลลิกรัม ต่อ กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ และปริมาณของเบต้าแคโรทีน มีค่าเท่ากับ 539.12 428.29 และ 614.44 ppm ตามลำดับ ซี่งคุณสมบัติของตัวทำละลาย ในแต่ละตัวมีประสิทธิภาพในการสกัดที่แตกต่างกัน แต่คลอโรฟอร์ม:เมทานอล(2:1) ได้ปริมาณเบต้าแคโรทีนมากกว่า อะซิโตน และปิโตรเลียมอีเทอร์12.26% และ30.3% ตามลำดับ ดังนั้น จากการทดลองพบว่าการสกัดหาปริมาณเบต้าแคโรทีนจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว เพื่อให้ได้ปริมาณเบต้าแคโรทีนมากที่สุด คือใช้คลอโรฟอร์ม:เมทานอล(2:1)เป็นตัวทำละลายในการสกัด



การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิด ในการควบคุมเพลี้ยอ่อน
ผู้วิจัย นางสาวธีระวัลย์ วงมาเกษ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89295 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

 

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                      การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิดในการควบคุมเพลี้ยอ่อน

                             Efficacy  of  Plant  Extracts  for Aphids  Control

โดย                       นางสาวธีระวัลย์     วงมาเกษ

ชื่อปริญญา              วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา              2558

อาจารย์ที่ปรึกษา       อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

             ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืช 3 ชนิด ในการควบคุมเพลี้ยอ่อน  วางแผนการทดลองแบบ  3×3 Factorial+1 in Completely Randomized Design  (CRD) โดยใช้ความเข้มข้น  5   10 และ 15  เปอร์เซ็นต์  ที่เวลา 24  48 และ 72 ชั่วโมงเปรียบเทียบกับ  Ethyl  alcohol 50%  เป็นชุดควบคุม  พบว่า  สารสกัดจากใบดาวเรืองมีประสิทธิภาพมากที่สุด ที่ 48   ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ยของเพลี้ยอ่อนมากที่สุด  คือ  88.89 เปอร์เซ็นต์  และมีค่าไม่แตกต่างทางสถิติกับชุดควบคุม ที่มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ย 100 เปอร์เซ็นต์  รองลงมา ได้แก่  สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส  และสารสกัดจากใบแมงลักคา   ตามลำดับ  ส่วนความเข้มข้นของสารสกัดจากพืชที่เหมาะสมที่สุด คือ  15  เปอร์เซ็นต์  ที่ 48 ชั่วโมง  มีเปอร์เซ็นต์การตายเฉลี่ย  98.33 เปอร์เซ็นต์  รองลงมา ได้แก่      10 เปอร์เซ็นต์  และ  5 เปอร์เซ็นต์  ตามลำดับ   และเมื่อตรวจสอบระดับและระยะเวลาของความเป็นพิษ  (LC50 และ LT50)    พบว่า   สารสกัดจากใบดาวเรืองมีค่าน้อยที่สุด   ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงระดับและระยะเวลาของความเป็นพิษมากที่สุด  ดังนั้น  หากต้องการแนะนำให้เกษตรกรใช้สารสกัดจากพืชในการควบคุมเพลี้ยอ่อน  แนะนำให้ใช้สารสกัดจากใบดาวเรือง  ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์  หรือ 15 เปอร์เซ็นต์  ภายใน  48   ชั่วโมง  สามารถทำให้เพลี้ยอ่อนตาย  ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ  สารสกัดจากใบยูคาลิปตัส  ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์  หรือ  15  เปอร์เซ็นต์  ในขณะที่สารสกัดจากใบแมงลักคาทุกความเข้มข้นมีประสิทธิภาพน้อยที่สุด


เข้าสู่ระบบ