งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92921
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92869
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92278

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ชัยนาท 1
ผู้วิจัย กุสุมา สำเนียงนวล | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89081 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่อง               การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ

                     ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1

                     A Study of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield

                       of Chainat 1 Rice Variety

โดย                 นางสาวกุสุมา  สำเนียงนวล             

ชื่อปริญญา         วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2557

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์โดม  หาญพิชิตวิทยา

            ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ที่แปลงปลูกพืชทดลอง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่  มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยต่อต้น  จำนวนรวงต่อกอ และน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อกระถางสูงที่สุดคือ 109 เซนติเมตร 13 รวงต่อกอ และ 27.24 กรัมต่อกระถาง ตามลำดับ อีกทั้งยังมี เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 33 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ  การใส่ปุ๋ยเคมี 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์ทางใบที่หมักด้วยแหนแดง อัตรา 1:100 ทุกๆ 7 วัน มีจำนวนรวงต่อกอมากที่สุดคือ 13 รวงต่อกอ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ และดัชนีการเก็บเกี่ยวปานกลางคือ 25.39 กรัมต่อกระถาง 37 เปอร์เซ็นต์ และ 0.36 ตามลำดับ ส่วนการไม่ใส่ปุ๋ยถึงแม้จะมีน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด มากที่สุด เท่ากับ 4.11 กรัม แต่ผลผลิตเฉลี่ยรวมที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพเพราะมีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบสูงที่สุดคือ  47 เปอร์เซ็นต์ และมีจำนวนรวงต่อกอต่ำที่สุด 9 รวงต่อกอ ถึงแม้การใส่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวจะให้ผลผลิตสูงก็จริง แต่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ดินเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว ถ้านำปุ๋ยอินทรีย์มาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีก็จะลดต้นทุนในการผลิต และยังช่วยบำรุงดินอีกด้วย ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมในการทดลองนี้คือ ปุ๋ยอินทรีย์ทางใบที่หมักด้วยแหนแดง อัตรา 1:100 โดยฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน มีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

คำสำคัญ   ข้าวชัยนาท 1 ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยทางใบ

 

 



ผลการใช้ผักหนามและพืชโปรตีนสูงในอาหาร ต่อการให้ผลผลิตของไก่ไข่
ผู้วิจัย นางสาวปนัดดา เยื่อใย และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 87339 ครั้ง ดาวน์โหลด 36 ครั้ง

 

บทคัดย่อ

การทดลองนี้ใช้ไก่ไข่ 100 ตัว ระยะเวลาทดสอบ 13 สัปดาห์ ประกอบด้วย 2 การทดลอง             การทดลองที่ 1 การใช้ผักหนามซึ่งมีองค์ประกอบของฮอร์โมนจากพืช (Phytoestrogen) บดผสมในสูตรอาหารไก่ไข่ประกอบด้วย T1 แกลบบด 3%  T2 ผักหนาม 1% T3 ผักหนาม 2% T4 ผักหนาม 3% T5 กลุ่มอาหารควบคุม ผลการทดลองพบว่าการใช้ผักหนามในระดับ 1% ให้ผลดีที่สุดต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่ แสดงว่าระดับฮอร์โมนที่ได้รับจากผักหนาม 1% สมดุลในการส่งเสริมการให้ไข่ดีที่สุด การทดลองที่ 2 การใช้พืชโปรตีนสูง (High Protein Plants) ผสมในสูตรอาหารไก่ไข่  ประกอบด้วย T1 ใบมะรุม 3% T2 ใบกระถิน 3% T3 ใบมันสำปะหลัง 3% T4 ใบหม่อน 3% T5 อาหารควบคุม ผลของการทดลองพบว่าการใช้ใบหม่อนและใบมันสำปะหลังให้ผลดีที่สุดและใช้อาหารในการเปลี่ยนเป็นไข่น้อยที่สุด

คำสำคัญ ผักหนาม แกลบ ใบมันสำปะหลัง ใบหม่อน ใบมะรุม ใบกระถิน

 

Abstract

This experiment used 100 hens for 13 week trials. The Trials were divided into two experimental groups. The first expeniment containet 5 treatments as; T1.Husk 3% T2.Lasia spinosa 1% T3.Lasia spinosa 2% T4.Lasia spinosa 3% T5.Control feed. The resuets found that T2 Lasia 1% showed a higest perfomance on egg production. The second experiment contained 5 treatments ; T1. Moringa leaves 3% T2. Acacia leaves 3% T3. Cassava leaves 3% T4. Mulberry Leaves 3% T5. Control feed. The results showed that the use of mulberry leaves and cassava leaves gave the best results.

Keyword : Lasia spinosa, Husk , mulberry leaves, Mulberry Leaves, Moringa leave, Acacia leaves

 

 



การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของเกษตรกร ผู้ผลิตโคต้นน้ำ (ลูกโค)
ผู้วิจัย ผกาแก้ว ทาระเกต และคณะวิจัย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88536 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง



การศึกษาปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน (พันธุ์แปซิฟิค271)
ผู้วิจัย เกษม สุดดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89264 ครั้ง ดาวน์โหลด 107 ครั้ง

บทคัดย่อ

    เรื่อง                        การศึกษาปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ       ข้าวโพดฝักอ่อน(พันธุ์แปซิฟิค271)

                                    Study on Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of                               Baby Corn (cv.Pacific 271)

    โดย                         นายเกษม สุดดี

    ชื่อปริญญา              วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

    ปีการศึกษา              2556

    อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ โดม หาญพิชิตวิทยา

 

                   งานวิจัยนี้เพื่อหาอัตราปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อนพันธุ์แปซิฟิค271โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย กลุ่มทดลองที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 3 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ กลุ่มทดลองที่ 4 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 750 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่  กลุ่มทดลองที่ 5 ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัว) อัตรา 500 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 25  กิโลกรัมต่อไร่ ศึกษาการใช้ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน (พันธุ์แปซิฟิค271) ผลการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 500 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 25  กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกเฉลี่ย น้ำหนักฝักสดปอกเปลือก เกรด L และ S มากที่สุด คือ 139 เซนติเมตร  177 กิโลกรัม/ไร่ 150 กิโลกรัม/ไร่ และ 3 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ มีน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก ความยาวฝัก และน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก เกรด M เฉลี่ย ปานกลาง คือ 669 กิโลกรัม/ไร่ 10.1 เซนติเมตร และ 8 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ รองลงมาได้แก่ การใช้ปุ๋ยคอก (มูลวัว) 750 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมี อัตรา 25  กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยคอก เพียงอย่างเดียว ให้ผลไม่แตกต่างทางสถิติ กับการไม่ใส่ปุ๋ย มีค่าน้อยที่สุดในทุกตัวชี้วัด

 


เข้าสู่ระบบ