งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย สมฤทัย สายลุน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89341 ครั้ง ดาวน์โหลด 95 ครั้ง
อิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ
Effect of Heiter and 8 – Hydroxyquinoline Sulfate on Vase Life of
ChrysanthemumFlowers ( Dendranthemum grandifflora )
โดย นางสาวสมฤทัย สายลุน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาอิทธิพลของ Heiter และ 8 – Hydroxyquinoline Sulfate ต่อการยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศ โดยวางแผนการทดลองแบบ 4 X 7 Factorial in Completely Randomized Design มี 2 ปัจจัย คือ 1. ความเข้มข้นของ Heiter มี 4 ระดับ ได้แก่ a1 = 0 %, a2 = 1 %, a3= 2 %และa4 = 3% และ 2. ความเข้มข้นของ 8 – hydroxyquinoline sulfate มี 7 ระดับ ได้แก่ b1 = 0 ppm b2 = 150 ppm b3 = 200 ppm b4 = 250 ppm b5 = 300 ppm b6 = 350 ppm และ b7= 400 ppm รวมทั้งหมด 28 กลุ่มทดลอง ผลการทดลองพบว่า การใช้น้ำกลั่นหรือการปักแจกันในสารละลาย 8 – HQS 150 ppm เพียงอย่างเดียวสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยของดอกเบญจมาศได้นาน 8 วัน และมีค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ แสดงว่าการใช้สารละลายไฮเตอร์ ร่วมกับ 8 – HQS ไม่สามารถยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศได้ ดอกเบญจมาศมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยเพียงแค่ 5 – 8 วัน เท่านั้น ซึ่งให้ผลไม่แตกต่างจากการปักแจกันในน้ำกลั่น คือ 8 วัน แต่การใช้สารละลาย ไฮเตอร์ 1% ร่วมกับ 8 – HQS300 ppm สามารถลดการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ได้ โดยมีการเน่า หรือการเกิดสีเหลืองของโคนก้านดอกน้อยที่สุดคือ 0.05 ซม. และมีอายุการปักแจกันเฉลี่ยปานกลางคือ 7 วัน
ผู้วิจัย นายกรวิทย์ จันสุตะ และ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88363 ครั้ง ดาวน์โหลด 46 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มในการควบคุมมอดแป้ง
Effect of Some Citrus Peel Powder for Red Flour Beetle Control
โดย นายกรวิทย์ จันสุตะ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพของผงบดจากเปลือกพืชตระกูลส้มเพื่อควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 5 กลุ่มทดลอง จำนวน 10 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัวโดยใช้ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้ม 4 ชนิดได้แก่ มะกรูด มะนาว ส้มเขียวหวาน ส้มโอและชุดควบคุม โดยวิธีการคลุกเมล็ด เปรียบเทียบกับชุดควบคุม ผลการทดลองพบว่า ผงบดจากเปลือกมะกรูดทำให้มอดแป้งตายมากที่สุดที่ 240 ชั่วโมง (10 วัน) คือ 63% รองลงมาได้แก่ผงบดจากเปลือกส้มเขียวหวาน ส้มโอและมะนาวมีการตายของมอดแป้งเท่ากับ 32% 25% และ 19% ในขณะที่ชุดควบคุมมีประสิทธิภาพน้อยที่สุดมีการตายของมอดแป้ง 3% ดังนั้น ผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ ผงบดจากเปลือก มะกรูด ซึ่งเปอร์เซ็นต์การตายของมอดแป้งเป็นตัวชี้วัดได้ดีว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าผงบดจากเปลือกพืชวงศ์ส้มชนิดอื่นๆ
คำสำคัญ เปลือกพืชวงศ์ส้ม ควบคุม มอดแป้ง
ผู้วิจัย อุดมกรณ์ ไพรบึง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88660 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง
การศึกษาผลของปุ๋ยสั่งตัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2ในแปลงเกษตรกร พื้นที่อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม (Randomized Complete Block Designs, RCBD) มีจำนวน 6 กลุ่มทดลอง 3 ซํ้า ผลการทดลองพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลอง การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 15.3-3.8-3.8 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 1000 กิโลกรัมต่อไร่ (กลุ่มทดลองที่ 5) มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น นํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกและปอกเปลือก นํ้าหนักลำต้นและความยาวฝักมากที่สุด คือ มีค่าเท่ากับ 177 ซม. 1993 กก./ไร่ 1325 กก./ไร่ 2868 กก./ไร่ และ 17 ซม. ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อนำมาคัดเกรดฝักข้าวโพดตามมาตรฐานสินค้าเกษตร พบว่า ข้าวโพดพันธุ์อินทรี 2 ที่ได้รับปุ๋ยทุกกลุ่มทดลอง ผลผลิตจัดอยู่ในเกรด B ในขณะที่ กลุ่มทดลองที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย ผลผลิตฝักข้าวโพดจัดอยู่ในกลุ่ม C และมีความแตกต่างกันทางสถิติ (P = 0.01)
ผู้วิจัย ศิรินันท์ ศิริยา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 90638 ครั้ง ดาวน์โหลด 101 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ฟางข้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
Using Rice Straw to Substitute Sawdust for Spilt Gill Mushroom
(Schizophyllum commune) Production
โดย นางสาวศิรินันท์ ศิริยา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ฟางข้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้า ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% (Control) กลุ่มทดลองที่
2 ขี้เลื่อย 75% ฟางข้าว 25% กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% ฟางข้าว 50% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% ฟางข้าว 75% และ กลุ่มทดลองที่ 5 ฟางข้าว 100% พบว่าการใช้ฟางข้าว 100% เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทนขี้เลื่อยเป็นอย่างดี เนื่องจาก มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเร็วที่สุด มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 15.1 วัน 79 ดอกต่อถุง และ 20.5 กรัม ตามลาดับ รองลงมา ได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 25% ฟางข้าว 75% มีระยะการบ่มตัวของเชื้อ และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง คือ 16.1 วัน และ 18.7 กรัม ตามลาดับ แต่ให้จานวนดอกเฉลี่ยไม่แตกต่างทางสถิติกับ ฟางข้าว 100% คือมีจานวนดอกเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 78.5 ดอกต่อถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% เป็นวัสดุเพาะไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดแครง เนื่องจาก ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดช้าที่สุด (21 วัน) และมีปริมาณดอกเห็ดเฉลี่ยและน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 57.1 ดอก/ถุง และ 15.2 กรัม/ถุง และเมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนของฟางข้าวในวัสดุเพาะ พบว่าการเพิ่มฟางข้าวให้มากขึ้นส่งผลให้มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกเร็วขึ้น จานวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นตามลาดับ
คาสาคัญ เห็ดแครง ฟางข้าว และผลผลิต
สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938