งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นางสาวรัตญาก้อนคำบา และ นางสาวอภิญญา ดวงไข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89714 ครั้ง ดาวน์โหลด 84 ครั้ง
บทคัดย่อ
หัวข้อปัญหาพิเศษ ผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์
ที่มีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้ง
นักศึกษา นางสาวรัตญา ก้อนคำบา
นางสาวอภิญญา ดวงไข
สาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ กิตติพร สุพรรณผิว
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของสภาวะในการอบแห้งและชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งโดยใช้สภาวะในการอบแห้งที่แตกต่างกัน 3วิธี คือ1.) อบที่ 60 องศาเซลเซียสนาน 7 ชั่วโมง 2.) อบที่ 70 องศาเซลเซียสนาน 6 ชั่วโมง และ3.) อบที่ 80 องศาเซลเซียสนาน 5 ชั่วโมงนำมาวัดค่าสีและค่าความชื้น จากนั้นนำผลิตภัณฑ์บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกัน2 ชนิด คือ ถุงอลูมิเนียมฟอยล์และเมทัลไลท์ฟอยล์ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ค่าความแข็งและปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด พบว่าผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่อบที่สภาวะ3มีค่าสี L* a* b*สูงที่สุด เท่ากับ 42.69 -5.41 และ 23.09 ตามลำดับ และมีปริมาณความชื้นต่ำที่สุดคือ ร้อยละ 4.42 ด้านความแข็งของผลิตภัณฑ์เริ่มต้นไม่แตกต่างกัน (P>0.05)แต่เมื่อทำการเก็บรักษาเป็นเวลา 4 สัปดาห์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่สภาวะที่3 และบรรจุในถุงเมทัลไลท์-ฟอยล์ให้ค่าความแข็งต่ำที่สุด(P≤0.05) คือ 0.67 นิวตัน อีกทั้งยังมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดต่ำที่สุด คือ 1×102 cfu/g ทั้งนี้พบว่ากระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งที่สภาวะที่ 2 และ สภาวะที่ 3มีปริมาณจุลินทรีย์อยู่ระหว่าง 1.00-3.33×102 cfu/gซึ่งไม่เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนสาหร่ายทะเลอบ (มผช. 515/2547)จากการทดลองนี้กล่าวได้ว่าในการอบแห้งที่สภาวะที่3 และบรรจุในถุงเมทัลไลท์-ฟอยล์เหมาะสมต่อการผลิตผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบเขียวแผ่นอบแห้งมากที่สุด เนื่องจากยังคงมีคุณภาพด้านความกรอบและมีการเจริญของจุลินทรีย์ต่ำอีกทั้งมีค่าสีเขียวและค่าความสว่างมากที่สุด
คำสำคัญกระเจี๊ยบเขียว การอบแห้งบรรจุภัณฑ์
ผู้วิจัย ธนารัตน์ คำสุข | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88427 ครั้ง ดาวน์โหลด 59 ครั้ง
ศึกษาผลของปุ๋ยสั่งตัดและปุ๋ยอินทรีย์ ในข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ในแปลงเกษตรกร พื้นที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม (Randomized Complete Block Designs, RCBD) มีจำนวน 6 กลุ่มทดลอง3 ซ้ำ พบว่า ใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 15.3-3.8-3.8 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ 1000 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ความสูงเฉลี่ยของข้าวโพดสูงที่สุดคือ37 92 179 และ 184 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดความสูงที่ 15 30 45 และ 60 วันตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.01) ส่วนน้ำหนักฝักสดปอกเปลือก พบว่า มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 8.3-0.7-4.6 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1000 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 30.5-7.5-7.5 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่และการใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 19.5-8-4 กิโลกรัม N-P2O5-K2O ต่อไร่ และปุ๋ยมูลไก่อัตรา 1000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นการใส่ปุ๋ยแบบเกษตรกรในพื้นที่ให้น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกของข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 มีค่าสูงที่สุด ในขณะที่การไม่ใส่ปุ๋ยมีน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกน้อยที่สุด คือ 228 กิโลกรัมต่อไร่
ผู้วิจัย นายประพันธ์ ทิมา | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88417 ครั้ง ดาวน์โหลด 43 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของชนิดบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกวางตุ้งโชว์จีน ที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์
Effect of Packaging on Postharvest Quality of Chinese Cabbage-
PAI TSAI (Brassica pekinensis L.) in HydroponicsSystem
โดย นายประพันธ์ ทิมา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. วิรญา ครองยุติ
การศึกษาผลของชนิดบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกวางตุ้งโชว์จีนที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยนำผักกวางตุ้งโชว์จีนที่มีอายุการเก็บเกี่ยว 35 วัน มาบรรจุในบรรจุภัณฑ์ ชนิดต่างๆ ได้แก่ ถุงพลาสติกชนิดโพลีเอทธิลีน (Polyethylene; PE) เจาะ 2 รู ถุงพลาสติก โพลีเอทธิลีนผสมสารเติมแต่งบางชนิด (ถุง Active) ไม่เจาะรู ถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีนผสมสารเติมแต่งบางชนิดเจาะ 2 รู และเปรียบเทียบกับถุงพลาสติกชนิดโพลีเอทธิลีนไม่เจาะรู (ชุดควบคุม) เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90 เปอร์เซ็นต์ ทำการวิเคราะห์ผลทุกๆ วัน จนหมดอายุการเก็บรักษา โดยวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด การเปลี่ยนแปลงสีใบ คะแนนการเปลี่ยนแปลงสภาพภายนอก ปริมาณวิตามินซี ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวม และอายุการเก็บรักษา ซึ่งผลที่ได้พบว่าผักกวางตุ้งโชว์จีนที่บรรจุในถุงพลาสติกชนิด PE ผสมสารเติมแต่งบางชนิด ไม่เจาะรู สามารถลดการสูญเสียน้ำหนักสด ปริมาณวิตามินซี ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์ บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมทั้งหมด และมีคะแนนสภาพภายนอกทีดี อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาอายุการเก็บรักษา พบว่าผักกวางตุ้งโชว์จีนที่บรรจุในถุง PE ผสมสารเติมแต่งบางชนิด ไม่เจาะรู สามารถเก็บรักษาได้ 15 วัน ซึ่งให้ค่าไม่แตกต่างกันทางสถิติกับชุดควบคุมที่มีอายุการเก็บรักษา 14.33 วัน นั่นคือ การบรรจุในบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ ไม่มีผลในการยืดอายุการเก็บรักษาผักกวางตุ้งโชว์จีน
ผู้วิจัย ณัฐวุฒิ กรงาม | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88318 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกต่อการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด
Concentration of Sulfuric Acid on Dormancy Breaking of
Traveller’s Palm Seed
โดย นายณัฐวุฒิ กรงาม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกต่อการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด โดยวางแผนการทดลองแบบ 3X5 Factorial in Completely Randomized Design ประกอบด้วย 15 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 2 ซ้ำๆ ละ 50 เมล็ด เปรียบเทียบกับชุดควบคุม เป็นระยะเวลา 30 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 75% นาน 6 นาที มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด 70 เปอร์เซ็นต์ อัตราเร็วเฉลี่ยในการงอก 7 วัน เมล็ดมีพัฒนาการเป็นต้นกล้ารวดเร็วกว่ากลุ่มทดลองอื่นๆ มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็ง และเมล็ดตายเท่ากับ 13 และ 17% ตามลำดับ ในขณะที่ความยาวราก ความสูงต้นกล้า และความสูงต้นกล้ารวมรากเฉลี่ย มีค่าปานกลาง คือ 4.55 4.45 และ 8.95 เซนติเมตร ตามลำดับ รองลงมา คือ การใช้กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 75% นาน 8 นาที มีอัตราเร็วเฉลี่ยในการงอก 7 วัน เปอร์เซ็นต์การงอก เปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็งและเปอร์เซ็นต์เมล็ดตายเฉลี่ยปานกลาง คือ มีค่าเท่ากับ 61 9 และ 30% ตามลำดับ ความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า และความสูงเฉลี่ยของต้นกล้ารวมราก ไม่แตกต่างทางสถิติกับการแช่กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 75% นาน 6 นาที คือ มีค่าเท่ากับ 4.70 และ 9.40 เซนติเมตร ส่วนความยาวรากเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 4.70 เซนติเมตร สำหรับความเข้มข้นและระยะเวลาในการแช่กรดซัลฟิวริกในการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัดที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 50% นาน 2 นาที เนื่องจากไม่เกิดการงอกของเมล็ดตลอดระยะเวลาทำการทดลอง