รายละเอียดงานวิจัย

  1. การใช้มันสาปะหลังเป็นอาหารเสริมในการเพาะเห็ดนางฟ้า
  2. Using Cassava as a Supplement for the Production of Phoenix Oyster Mushroom ( Plerotus sajor-caju (fr.) Sing.)
  3. งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
  4. 2556
  5. งานวิจัยปริญญาตรี
  6. รุ่งอรุณ บุญแก้ว
  7. เสกสรร ชินวัง
  8. การใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารเสริมในการเพาะเห็ดนางฟ้า
                                   Using  Cassava  as  a Supplement  for  the  Production  of 
                                   Phoenix  Oyster Mushroom (Plerotus sajor-caju (fr.) Sing.)
    โดย                        นางสาวรุ่งอรุณ  บุญแก้ว
    ชื่อปริญญา             วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
    ปีการศึกษา              2556
    อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.เสกสรร  ชินวัง
               

      งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนมันสำปะหลังในวัสดุเพาะต่อระยะเวลาการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการชักนำดอก และผลผลิตของเห็ดนางฟ้า  โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ผลการทดลอง พบว่า การใช้ขี้เลื่อย 100%  มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเร็วที่สุด คือ 21 วัน รองลงมาได้แก่ ขี้เลื่อย 90% มันสำปะหลัง 10% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ด คือ 22วัน ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 60% มันสำปะหลัง 40% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุด คือ 31 วัน ส่วนจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยต่อถุง พบว่า การใช้ขี้เลื่อย 90% มันสำปะหลัง 10% ให้จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุดคือ 6.87 ดอกต่อถุง รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ขี้เลื่อย 80% มันสำปะหลัง 20% การใช้ขี้เลื่อย 60% มันสำปะหลัง 40% และ การใช้ขี้เลื่อย 70% มันสำปะหลัง 30% ให้จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยคือ 5.00 4.73 4.40 และ 3.71 ดอกต่อถุง ตามลำดับ  ในขณะที่น้ำหนักของเห็ดนางฟ้าต่อถุงการใช้ขี้เลื่อย 90% มันสำปะหลัง 10%  ให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 45.56กรัมต่อถุง รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ขี้เลื่อย 70% มันสำปะหลัง 30% การใช้ขี้เลื่อย 80% มันสำปะหลัง 20% และ การใช้ขี้เลื่อย 60% มันสำปะหลัง 40% ให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ  34.87 33.62 32.71 และ 31.39  กรัมต่อถุง ตามลำดับ  

  9. ดาวน์โหลด


  10.     








เข้าสู่ระบบ