งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นายอิทธิพล นามห่อ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 87648 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง อัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี
Organic and Chemical Fertilizer Rates on Growth and Yield of KDML 105 Rice in That Sub-District, WarinChamrap District,
UbonRatchathani Province
โดย นายอิทธิพล นามห่อ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เกษตรศาสตร์ )
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดมหาญพิชิตวิทยา
ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 พื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 6 กลุ่มทดลอง 3ซ้ำผลการทดลองพบว่ากลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 9 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 0-0-60 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 46-0-0 อัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่หลังช่วงปักดำ (50%) ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา7กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกำเนิดช่อดอก (50%) ( เป็นอัตราปุ๋ยสั่งตัด )ให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าว จำนวนรวงต่อกอเฉลี่ย เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยและน้ำหนักเฉลี่ยเมล็ดดี 100 เมล็ด สูงที่สุดคือ 172 เซนติเมตร8 รวงต่อกอ10 เปอร์เซ็นต์414 กิโลกรัมต่อไร่และ2.57 กรัมตามลำดับรองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยคอกจากมูลวัวอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ในช่วงปักดำ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และ 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ (อัตราเกษตรกร) (กลุ่มทดลองที่ 6) มีค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดปานกลางเมื่อเทียบกับไม่ใส่ปุ๋ย ที่มีค่าดัชนีทุกตัวน้อยที่สุด ดังนั้นการวิเคราะห์หาค่าปริมาณคุณภาพ NPK ในพื้นที่เพาะปลูก จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการลดต้นทุนในการผลิต ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและส่งเสริมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105
ผู้วิจัย นายกิติพันธ์ โชติจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89028 ครั้ง ดาวน์โหลด 29 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวสีชมพู
ในสภาพปลอดเชื้อ
Effect of Cytokinins and Auxins on Growth of Curcuma sp. Roxb in
vitro.
โดย นายกิติพันธ์ โชติจันทร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สุจิตรา สืบนุการณ์
ผลของไซโตไคนินและออกซินต่อการเจริญเติบโตของกระเจียวสีชมพูในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ 7×4 Factorial in Completely Randomized Design (Factorial in CRD) มีปัจจัย A ได้แก่ a1=0 mg/l, a2=1 mg/l, a3=2 mg/l, a4=3 mg/l, a5=4 mg/l, a6=5 mg/l และ a7=6 mg/l และปัจจัย B ได้แก่ b1=0 mg/l, b2=0.05 mg/l, b3=0.5 mg/l และ b4=1 mg/l รวมทั้งหมด 28 กลุ่มทดลองๆ ละ 10 ซ้าๆ ละ 1 ขวด พบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงกระเจียวสีชมพูและสามารถพัฒนาไปเป็นต้นพืชที่สมบูรณ์ คือ อาหารสูตร MS ที่เติม BA 6 mg/l เนื้อเยื่อมีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้ต้นกล้ามีความสูงเฉลี่ยของต้น และจานวนยอด/หน่อ เฉลี่ยมากที่สุด คือ 1.30 เซนติเมตร และ 0.20 ยอด ตามลาดับ รองลงมาคือ สูตร MS ที่เติม BA 5 mg/l ร่วมกับ NAA 0.05 mg/l มีความสูงเฉลี่ยของต้น คือ 1.20 เซนติเมตร
คำสำคัญ ไซโตไคนิน ออกซิน กระเจียวสีชมพู สภาพปลอดเชื้อ
ผู้วิจัย ณัฐพงษ์ ชินทวัน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88886 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพด
พันธุ์เทียนลาย 52
Study of Split Chemical Fertilizer Application on Growth and Yield of Maize ( Zea mays cv.Tian-lai 52 )
โดย นายณัฐพงษ์ ชินทวัน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52
มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตรและอัตราปุ๋ยสั่งตัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ทำการทดลองที่แปลงปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง 3 ซํ้า พบว่าการใส่ปุ๋ยอัตรา16-4-8 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ ซึ่งเป็นอัตราปุ๋ยสั่งตัด (แบ่งใส่ 4 ครั้ง) มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 35 61 81 114 และ 139 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดความสูงที่ 14 21 35 และ 42 วันหลังงอก ตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05) ส่วนผลผลิตนํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกของการใส่ปุ๋ยอัตรา 30.5-7.5-7.5 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ (แบ่งใส่ 4ครั้ง) ให้ผลผลิตนํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ยสูงสุดคือ 1060 กิโลกรัมต่อไร่ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05) ในขณะที่ผลผลิตนํ้าหนักฝักสดปอกเปลือก การใส่ปุ๋ยอัตรา 16-4-8 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง)ให้ผลผลิตสูงสุด 682 กิโลกรัมต่อไร่และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05)
ผู้วิจัย นางสาวพิมประพา สวัสดิ์วงษ์ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 88338 ครั้ง ดาวน์โหลด 33 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหอมแบ่งพันธุ์ลับแล
Effect of Mulching on Growth and Yield of Laplae Multiply Onion
โดย นางสาวพิมประพา สวัสดิ์วงษ์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประภัสสร น้อยทรง
ศึกษาผลของวัสดุคลุมดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหอมแบ่งพันธุ์ลับแล วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Designs(RCBD) โดยแบ่งการทดลองออกเป็น4 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้ำๆ ละ 1 แปลง ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใช้วัสดุคลุมดิน กลุ่มทดลองที่ 2 คลุมดินด้วยแกลบดิบ กลุ่มทดลองที่ 3 คลุมดินด้วยฟางข้าว และกลุ่มทดลองที่ 4 คลุมดินด้วยผักตบชวา ผลการทดลองพบว่า ด้านการเจริญเติบโต การใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด คือ 26.71 เซนติเมตร และมีแนวโน้มให้ความยาวรากเฉลี่ยและอุณหภูมิภายใต้วัสดุปลูกช่วงเที่ยงและช่วงเย็นน้อยที่สุด คือ 7.00 เซนติเมตร และ 32.77 องศาเซลเซียส และ 31.48 องศาเซลเซียส ตามลำดับ รองลงมาคือ การใช้ฟางข้าว มีความสูงเฉลี่ยของ-ต้น ความยาวรากเฉลี่ย อุณหภูมิภายใต้วัสดุปลูกช่วงเที่ยงและช่วงเย็นปานกลาง คือ 25.15 เซนติเมตร 7.20 เซนติเมตร 33.98 องศาเซลเซียส และ 32.33 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ส่วนด้านการให้ผลผลิตพบว่า การใช้แกลบดิบเป็นวัสดุคลุมดินมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีแนวโน้มให้จำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยทั้งกิโลกรัมต่อแปลงและกิโลกรัมต่อไร่มากที่สุด คือ 4.29 กอต่อต้น 0.57 กิโลกรัมต่อแปลง และ 90.66 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ รองลงมาคือ การใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุคลุมดิน มีจำนวนการแตกกอเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยทั้งกิโลกรัมต่อแปลงและกิโลกรัมต่อไร่ เท่ากับ 4.10 กอต่อต้น 0.53 กิโลกรัมต่อแปลง และ 85.33 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ดังนั้นหากต้องการเลือกใช้วัสดุคลุมดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของหอมแบ่ง ถ้าดูในภาพรวม การเลือกใช้ผักตบชวาเป็นวัสดุคลุมดิน น่าจะมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือแกลบดิบ ถึงแม้ว่าบางดัชนีตัวชี้วัดของผักตบชวาจะมีค่าน้อยกว่าแกลบดิบ แต่ก็ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และการมีวัสดุคลุมดินช่วยลดอุณหภูมิของวัสดุปลูกได้ดีกว่าการไม่ใช้วัสดุคลุมดิน