งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นุชรัตน์ ปูกะธรรม | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88719 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิต
ข้าวขาวดอกมะลิ105ในพื้นที่อาเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
Effect of Chemical and Organic Fertilizer Utilization on
Growth and Yield of KDML 105 Rice in Khemmarat District
Ubonratchathani Province
โดย นางสาวนุชรัตน์ ปูกะธรรม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยทาการทดลองในแปลงเกษตรกรตาบลหนองสิม อาเภอเขมราฐจังหวัดอุบลราชธานีวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้า ผลการทดลองพบว่าการใส่ปุ๋ยคอกมูลวัว อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ร่วม กับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 14 กิโลกรัมต่อไร่และ สูตร 46-0-0 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ช่วงข้าวอายุ 25 วันหลังหว่าน และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกาเนิดช่อดอกให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าวเป็น 109 เซนติเมตร จานวนรวง 201 รวงต่อตารางเมตรน้าหนักผลผลิตเฉลี่ยของข้าว 269 กิโลกรัมต่อไร่ มีค่าสูงที่สุด และมีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.01) แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติ ในค่าน้าหนักเมล็ดข้าว 100 เมล็ด และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว รองลงมา คือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่แบ่งใส่ 2 ครั้งเท่ากัน และปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 14 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 46-0-0 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ ช่วงข้าวอายุ 25 วันหลังหว่านข้าว และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 7 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกาเนิดช่อดอก
คาสาคัญ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอกมูลวัว
ผู้วิจัย สุกัญญา คำศิริ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88831 ครั้ง ดาวน์โหลด 3 ครั้ง
การศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของ
ข้าวพันธุ์กข 33
A Study of Organic and Chemical Fertilizer on Growth and Yield of
RD33 Rice
โดย นางสาวสุกัญญา คำศิริ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์กข 33 (หอมอุบล 80)ได้ทำการทดลองที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบCRD มี 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กก./ไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยเคมีทางใบ (20-20-20) ความเข้มข้น 2% ทุกๆ7 วัน มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากให้จำนวนรวงต่อต้น น้ำหนักผลผลิต และน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด มากที่สุกคือ 11 รวงต่อต้น 24.33 กรัม/ต้น และ 3.33 กรัม ตามลำดับ ในขณะเดียวกันก็มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 36% และมีความสูงเฉลี่ยของต้นปานกลางคือ 136 ซม. รองลงมาได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กก./ไร่ มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 143 ซม. และ มีจำนวนรวงต่อต้น เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยและน้ำหนักเมล็ดดี 100 เมล็ด ปานกลางคือ 10.3 รวงต่อต้น 37.7% 21.67 กรัม/ต้น และ 3.13 กรัม ตามลำดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหมักด้วยแหนแดง มีค่าดัชนีตัวชี้วัดปานกลาง
ผู้วิจัย สมศักดิ์ ชอบด่านกลาง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88291 ครั้ง ดาวน์โหลด 13 ครั้ง
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อคุณภาพของ มะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
Comparison of Growth Regulators Efficiency on Quality of Tomato Fruit var. Seeda ‘phedchompoo F1’
โดย นายสมศักดิ์ ชอบด่านกลาง
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตต่อคุณภาพของมะเขือเทศพันธุ์ สีดาเพชรชมพู F1 และ เพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพของชนิดสารควบคุมการเจริญเติบโตจากธรรมชาติที่สามารถใช้ทดแทนสารควบคุมการเจริญเติบโตสังเคราะห์ ในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์ สีดาเพชรชมพู F1วางแผนการทดลองแบบ Randomized Completely Block Design (RCBD) 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า การใช้ไคตซาน มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุด (57.26 ซม.) มีน้ำหนักผลเฉลี่ย ขนาดของผลและความแน่นเนื้อ มากที่สุด คือ 19.05 กรัม 37.1 มิลลิเมตร และ 2.89 กก./ตร.ซม. และผลผลิตที่ได้จะมีขนาด 36 ถึง 40 มิลลิเมตร. (รหัสขนาด 2) ส่วนจำนวนผลผลิตและน้ำหนักผลผลิตรวมอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ การใช้น้ำหมักผลไม้ น้ำส้มควันไม้ และสปีดเวย์ ตามลำดับ ดังนั้นการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1 ที่เหมาะสมที่สุดคือ ไคโตซาน และเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ฉีดสารควบคุมการเจริญเติบโต พบว่า การฉีดสารควบคุมการเจริญเติบโตในทุกกลุ่มทดลองให้ผลดีกว่าในการปลูกมะเขือเทศพันธุ์สีดาเพชรชมพู F1
ผู้วิจัย มัจฉา วรรณเวช | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 92280 ครั้ง ดาวน์โหลด 345 ครั้ง
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูกในระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:3 เปรียบเทียบกับการใช้สารละลายมาตรฐาน อนินทรีย์เพียงอย่างเดีย โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 4 กลุ่มทดลองๆ ละ 4 ซํ้าๆ ละ 25 ต้น ผลการทดลองพบว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 มีผลทำให้การเจริญเติบโตของผักกาดหอมเรดโอ๊คเพิ่มขึ้นทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียว ทั้งในด้านความสูง ความกว้างทรงพุ่ม ความยาวราก นํ้าหนักสดต้น และนํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 ยังมีผลทำให้ผักกาดหอมเรดโอ๊ค มีคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวทัดเทียมกับการใช้สารละลายมาตรฐานอนินทรีย์พียงอย่างเดียวด้วย เช่น ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ ปริมาณคลอโรฟิลล์บี ปริมาณคลอโรฟิลล์รวมทั้งหมด แคโรทีนอยด์ วิตามินซี ปริมาณของแข็งที่ละลายนํ้าได้ และ การเปลี่ยนแปลงสีใบ จากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้นํ้าหมักชีวภาพจากมูลวัวเสริมอัตราส่วน 1:3 สามารถนำมาทดแทนสารละลายมาตรฐานอนินทรีย์เพียงอย่างเดียวได้