งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92936
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92877
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92289

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

ผลของการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น ต่อปริมาณการกินได้และกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน ของโครีดนม
ผู้วิจัย นายกฤษฎา พาดำเนิน และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88510 ครั้ง ดาวน์โหลด 36 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น ต่อปริมาณการกินได้และกระบวนการหมักในกระเพราะรูเมนสำหรับโครีดนม โดยใช้ทางใบปาล์มน้ำมันเอ็ดเม็ดผสมในสูตรอาหารข้นที่ระดับ 0, 25, 50, 75 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ใช้โครีดนมลูกผสมพันธุ์โฮสไตน์ฟรีเชี่ยนจำนวน 4 ตัว วางแผนการทดลองแบบ 4x4 จัตุรัสลาติน (4x4 Latin Square Design, LSD) ผลการทดลองพบว่า ปริมาณการกินได้ของอาหารข้น ปริมาณการกินได้ของอาหารหยาบ ปริมาณการกินได้ทั้งหมด อุณหภูมิ และค่าความเป็นกรด-ด่าง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) แต่เมื่อเพิ่มระดับการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นทำให้ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนเพิ่มขึ้น ที่เวลา 4 ชั่วโมง หลังการให้อาหาร และมีค่าสูงสุดเมื่อใช้ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้น 75 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) การเสริมทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นที่ระดับมากขึ้น อาจมีแนวโน้มทำให้ปริมาณการกินได้ลดน้อยลง ดังนั้น การเสริมทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ดในสูตรอาหารข้นที่เหมาะสมคือที่ระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ ทำให้โคมีปริมาณการกินได้ดีที่สุด

 

คำสำคัญ: ทางใบปาล์มน้ำมันอัดเม็ด, อาหารข้น, โครีดนม, ปริมาณการกินได้, กระบวนการหมักในกระเพาะ

              รูเมน

 

Abstract

 

This experiment was to study the effects of oil palm fronds pellet on feed intake  and rumen fermentation of lactating dairy cows. Four,Holstein-Friesian cross bred cows were randomly assigned according to a 4x4 Latin Square Design, to received oil palm fronds pellet in concentrate at 0, 25, 50 and 75%, respectively. It was found that concentrate intake, roughage intake, total dry matter intake, ruminal temperature, and ruminal pH were not significantly different among treatment (P<0.05). While, rumen ammonia-nitrogen (NH3-N) at 4 hours post feeding was increased when increasing level of oil palm fronds pellet in concentrate, which was highest in cow feed with 75% oil palm fronds pellet in concentrate (P<0.05) .Furthermore, increasing level of oil palm fronds pelletin concentrate resulted in a decrease dry matter intake. In conclusion, level of oil palm fronds pellet in concentrate for lactating dairy cows should not exceed 50%.

 

Key words:oil palm fronds pellet, concentrate, lactating dairy cows, feed intake, rumen     

                 fermentation



ผลของการพรางแสงและสีตาข่ายพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสลัดแก้ว
ผู้วิจัย ชฤทธิ์เดช แก่นจาปา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88808 ครั้ง ดาวน์โหลด 56 ครั้ง

ทดลองปลูกสลัดแก้วเพื่อศึกษาผลของการพรางแสงและสีตาข่ายพรางแสงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของสลัดแก้ว ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี ในระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2556 –มกราคม 2557 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 5 กลุ่มทดลองคือ ไม่คลุมตาข่ายพรางแสง คลุมตาข่ายพรางแสงสีดา 50% คลุมตาข่ายพรางแสงดา 60% คลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% และคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60% ผลการทดลองพบว่า ผักสลัดแก้วที่ปลูกโดยไม่คลุมตาข่ายพรางแสงให้ น้าหนักสดเฉลี่ยของผลผลิตรวมมากที่สุดคือ 41.33 กรัม ส่วนการปลูกสลัดแก้วโดยคลุมตาข่ายพรางแสงสีเขียว 50% มีแนวโน้มจะให้ความกว้างของทรงพุ่มและความสูงมากที่สุดเท่ากับ 21.67และ 27.50 เซนติเมตร ตามลาดับ รองลงมาคือตาข่ายพรางแสงสีเขียว 60%



ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1
ผู้วิจัย ศรายุทธ สาราญ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88512 ครั้ง ดาวน์โหลด 5 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1
Chemical and Organic Fertilizer on Growth and Yield of
Suphan Buri 1 Rice
โดย นายศรายุทธ สาราญ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 โดยทาการทดลองที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 11 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้า ผลการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จานวนรวงต่อต้น น้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยและน้าหนักเมล็ดดี 100 เมล็ดมากที่สุดคือ 93 เซนติเมตร 11.3 รวงต่อต้น 23.00 กรัมต่อต้น และ 3.67 กรัม ตามลาดับ ในขณะเดียวกันก็มี เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบน้อยที่สุดคือ 33.0 เปอร์เซ็นต์ และมีดัชนีการเก็บเกี่ยวปานกลางคือ 0.51 รองลงมา ได้แก่ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการฉีดพ่นปุ๋ยเคมีทางใบ (20-20-20) ความเข้มข้น 2% อัตรา 1:100 ทุกๆ 14 วัน มีความสูงเฉลี่ยของต้น จานวนรวงต่อต้น เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย และดัชนีการเก็บเกี่ยว ปานกลางคือ 91 เซนติเมตร 10.7 รวงต่อต้น 35.0 เปอร์เซ็นต์ 21.00 กรัมต่อต้น และ 0.51 ตามลาดับ ส่วนการใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหมักด้วยแหนแดง มีค่าดัชนีตัวชี้วัดปานกลาง แต่ในระยะยาวจะทาให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชอย่างยั่งยืน
คาสาคัญ ข้าว สุพรรณบุรี 1 ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยทางใบ


ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก



การเปรียบเทียบวิธีการผลิตชาใบย่านางผสมใบเตยแบบอบลมร้อนกับแบบดั้งเดิม
ผู้วิจัย ธนาภรณ์ ศรีเสมอ และ สุริวิมล ศรีโนนยาง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90603 ครั้ง ดาวน์โหลด 76 ครั้ง

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษารูปแบบอุณหภูมิและเวลาการอบแห้งด้วยวิธีอบลมร้อนชาใบย่านางผสมใบเตย ศึกษาความแตกต่างของปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ ศึกษาอายุการเก็บรักษาและศึกษาการยอมรับของผู้บริโภค ของชาใบย่านางผสมใบเตยที่ผลิตแบบวิธีดั้งเดิมและวิธีอบลมร้อน รูปแบบที่เหมาะสมในการผลิตชาใบย่านางผสมใบเตยด้วยวิธีอบลมร้อน พบว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ อุณหภูมิ 60 °C นาน 7 ชั่วโมง มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระทั้งหมด เท่ากับ 15.72 มิลลิกรัมสมมูลย์กรดแกลลิกต่อกรัม (น้ำหนักแห้ง) และ 86.96 % Inhibition ตามลำดับ ความแตกต่างของปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของชาใบย่านางผสมใบเตยที่ผลิตแบบดั้งเดิมกับการอบลม-ร้อน ระยะเวลาการเก็บรักษานาน 6 สัปดาห์ มีการเพิ่มของปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดถึงสัปดาห์ที่ 3 และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดลดลงในช่วงสัปดาห์ที่ 4 5 และ 6 กิจกรรมการ-ต้านอนุมูลอิสระในชาใบย่านางผสมใบเตยที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 40 °C และ 50 °C พบว่ากิจกรรม-การต้านอนุมูลอิสระแบบวิธีการอบลมร้อนมีกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระต่ำกว่าแบบดั้งเดิมที่ระยะเวลาการเก็บรักษา 6 สัปดาห์ การประเมินการยอมรับของผู้บริโภคต่อสี กลิ่น ความชอบ-โดยรวมผู้บริโภคให้การยอมรับแบบดั้งเดิมมากที่สุด และความชอบต่อรสชาติวิธีอบลมร้อนผู้บริโภคให้การยอมรับมากที่สุด โดยอายุการเก็บรักษาของวิธีแบบดั้งเดิมและวิธีอบลมร้อน ที่อุณหภูมิห้อง (25 °C) มีอายุการเก็บรักษา 5 สัปดาห์ และ 7 สัปดาห์ ตามลำดับ ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากความชื้นพบว่าชาใบย่านางผสมใบเตยที่ผลิตแบบดั้งเดิม ที่อุณหภูมิ 50 °C เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะมีการสูญเสียสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระ สูญเสียความชื้นน้อย ค่าสีเขียวยังคงอยู่มากกว่าและการยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุด


เข้าสู่ระบบ