งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นางสาวพิมพ์จันทร์ กุลพันธ์ และ นางสาวมุทิตา นามทอง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 90519 ครั้ง ดาวน์โหลด 107 ครั้ง
หัวข้อปัญหาพิเศษ การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำตาลผงกึ่งสำเร็จรูปโดยใช้วิธีการทำแห้งแบบตู้อบลมร้อน
นักศึกษา นางสาวพิมพ์จันทร์ กุลพันธ์
นางสาวมุทิตา นามทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิราศ กิ่งวาที
การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทำตาลผงกึ่งสำเร็จรูปโดยใช้วิธีการทำแห้งแบบตู้อบลมร้อน (Hot air oven) โดยนำลูกตาลสุกมาสกัดเอาเนื้อตาล แล้วนำเนื้อลูกตาลสุกที่ได้ไปทำแห้งด้วยวิธีการอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 55 60 และ 65 องศาเซลเซียส วัดค่าความชื้นทุก 2 ชั่วโมง พบว่า การทำแห้งที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการทำแห้ง 8 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการทำแห้ง 6 ชั่วโมง และที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการทำแห้ง 4 ชั่วโมง ให้ค่าความชื้นใกล้เคียงกัน เท่ากับ 2.20 2.17 และ 2.16 ตามลำดับ ดังนั้นจึงทำตาลผงที่สภาวะดังกล่าวทั้ง 3 สภาวะ นำมาวิเคราะห์ค่าสี ความสามารถในการละลาย และทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัส พบว่า การทำแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง เป็นอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมที่สุด คือ ได้ตาลผงที่ค่าสี L* a* และb* มีค่าเท่ากับ 73.397.12และ 29.98 ตามลำดับ มีค่าความชื้นร้อยละ2.17 และความสามารถในการละลายดีที่สุดเท่ากับร้อยละ 15.71เมื่อนำตาลผงที่ได้จากการทำแห้งมาทำผลิตภัณฑ์ขนมตาลเพื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ขนมตาลจากเนื้อตาลสด นำมาทดสอบทางด้านประสาทสัมผัสคุณลักษณะด้านสี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบรวม พบว่า ผลิตภัณฑ์ขนมตาลที่ทำจากตาลผงทำแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 6 ชั่วโมง มีความชอบรวมของผู้บริโภคสูงที่สุด
ผู้วิจัย อิทธิพล สุขเกิด | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91410 ครั้ง ดาวน์โหลด 197 ครั้ง
ศึกษาประสิทธิภาพของสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 11 กลุ่มทดลอง จำนวน 5 ซํ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้งของสมุนไพรทั้งหมด 10 ชนิดได้แก่ เตยหอม มะกรูด พริกไทย อบเชย ขิง ตะไคร้ หนอนตายหยาก ขมิ้น ดีปลีและพริก ผลการทดลองพบว่า พริกไทยทำให้มอดแป้งตายได้ดีที่สุดคือ 100% รองลงมาคือดีปลี พริก ตะไคร้ ขิง ขมิ้น อบเชย ใบมะกรูด และเตยหอม ทำให้มอดแป้งตายได้เท่ากับ 98%, 92%, 30%, 28%, 22%, 18%, 14% และ 14% ตามลำดับ และหนอนตายหยากทำให้มอดแป้งตายน้อยที่สุดคือ 10% ดังนั้นพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ พริกไทยซึ่งมีประสิทธิภาพควบคุมมอดแป้งได้ 100% และจะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อการตายของมอดแป้งในช่วงชั่วโมงที่ 96 ทำให้มีผลวัดค่าและเป็นตัวชี้วัดได้ว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่น
ผู้วิจัย กันยา คิละลาย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88861 ครั้ง ดาวน์โหลด 50 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า
Using Guinea Grass (Panicum maximum) to Substitute Sawdust for
Phoenix Oyster Mushroom (Pleurotus sajor-caju) Production
โดย นางสาวกันยา คิละลาย
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้หญ้ากินนีทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุง ๆละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) พบว่า ระยะเวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดสั้นที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% หญ้ากินนี 50%รองลงมากลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% หญ้ากินนี25% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% หญ้ากินนี 75% กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% และกลุ่มทดลองที่ 5 หญ้ากินนี 100% โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 19.1 19.8 19.8 20.9 และ 23.5 วัน ตามลำดับ จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 4 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยที่คือ 6.6 2.9 2.0 1.9 และ1.3 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดนางฟ้ามากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 4 และ กลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 36 34.3 30.2 23.5 และ18.1 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นการใช้หญ้ากินนีทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้าอัตราส่วนของหญ้ากินนีในวัสดุเพาะที่เหมาะสมคือ ขี้เลื่อย 75% หญ้ากินนี 25% เนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยรองจากการใช้ขี้เลื่อย 100% และระยะเวลาในการบ่มเชื้อปานกลาง
คำสำคัญ เห็ดนางฟ้า หญ้ากินนี ขี้เลื่อยยางพารา ผลผลิต
ผู้วิจัย นางสาวศิรินภา มหิศยา และ นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 89837 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง
บทคัดย่อ
หัวข้อปัญหาพิเศษ การเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริมโพรไบโอติก
นักศึกษา นางสาวศิรินภา มหิศยา
นางสาวสุรีเรียม สมบัติวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิราศ กิ่งวาที
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกในกล้วยน้ำว้าแช่อิ่มอบแห้ง
ว่าในกระบวนการแช่อิ่ม อบแห้ง และอุณหภูมิในการเก็บรักษา จะมีผลต่อการเหลือรอดของ
เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกหรือไม่ โดยการแช่อิ่มกล้วยด้วยสารละลายน้ำตาล 30 °Brix ที่มีเชื้อจุลินทรีย์
L. acidophilus เริ่มต้น 8 log cfu/ml แช่อิ่มเป็นระยะเวลา 12 และ 24 ชั่วโมง พบว่าที่ 24 ชั่วโมง
มีการเหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.19 log cfu/g จากนั้นศึกษาอุณหภูมิใน
การอบว่า มีผลต่อการเหลือรอดของจุลินทรีย์ โดยใช้ตัวอย่างจากการแช่อิ่ม 2 ตัวอย่าง อบที่อุณหภูมิ
37 และ 55 °C พบว่าตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 37 °C มีการเหลือรอดของเชื้อจุลินทรีย์
โพรไบโอติกมากที่สุด มีเชื้อ 8.11 log cfu/g ส่วนในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 24 ชั่วโมง อบที่ 55 °C มีการ
เหลือรอดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกน้อยที่สุด มีเชื้อ 5.42 log cfu/g ตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่
37 °C มีค่า aW สูง และศึกษาการเหลือรอดในระหว่างการเก็บรักษาของกล้วยแช่อิ่มอบแห้งเสริม
โพรไบโอติก บรรจุแบบสุญญากาศ เก็บในอุณหภูมิที่แตกต่างกันคือ อุณหภูมิ 25 °C และอุณหภูมิ
4 °C พบว่าในตัวอย่างที่แช่อิ่ม 12 ชั่วโมง อบที่ 37 °C เก็บรักษาในอุณหภูมิ 25 °C มีการเหลือรอด
ของเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกมากที่สุด