งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย นุจรินทร์ ฉวีรักษ์และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88682 ครั้ง ดาวน์โหลด 6 ครั้ง
ผู้วิจัย รุ่งอรุณ บุญแก้ว | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88296 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง
การใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารเสริมในการเพาะเห็ดนางฟ้า
Using Cassava as a Supplement for the Production of
Phoenix Oyster Mushroom (Plerotus sajor-caju (fr.) Sing.)
โดย นางสาวรุ่งอรุณ บุญแก้ว
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนมันสำปะหลังในวัสดุเพาะต่อระยะเวลาการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการชักนำดอก และผลผลิตของเห็ดนางฟ้า โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ถุง ผลการทดลอง พบว่า การใช้ขี้เลื่อย 100% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดเร็วที่สุด คือ 21 วัน รองลงมาได้แก่ ขี้เลื่อย 90% มันสำปะหลัง 10% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ด คือ 22วัน ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 60% มันสำปะหลัง 40% มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดนานที่สุด คือ 31 วัน ส่วนจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยต่อถุง พบว่า การใช้ขี้เลื่อย 90% มันสำปะหลัง 10% ให้จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุดคือ 6.87 ดอกต่อถุง รองลงมา คือ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ขี้เลื่อย 80% มันสำปะหลัง 20% การใช้ขี้เลื่อย 60% มันสำปะหลัง 40% และ การใช้ขี้เลื่อย 70% มันสำปะหลัง 30% ให้จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยคือ 5.00 4.73 4.40 และ 3.71 ดอกต่อถุง ตามลำดับ ในขณะที่น้ำหนักของเห็ดนางฟ้าต่อถุงการใช้ขี้เลื่อย 90% มันสำปะหลัง 10% ให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 45.56กรัมต่อถุง รองลงมาคือ การใช้ขี้เลื่อย 100% การใช้ขี้เลื่อย 70% มันสำปะหลัง 30% การใช้ขี้เลื่อย 80% มันสำปะหลัง 20% และ การใช้ขี้เลื่อย 60% มันสำปะหลัง 40% ให้น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเท่ากับ 34.87 33.62 32.71 และ 31.39 กรัมต่อถุง ตามลำดับ
ผู้วิจัย นายภูรีภัทร์ บุญฉิม | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 87913 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและ
ผลผลิตหอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ: กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
Effects of Golden Apple Snail Bio-Extract on Growth and Yield of
Shallot cv. Srisaket: A Case Study of Nam Yeun District,
Ubon Ratchathani Province
โดย นายภูรีภัทร์ บุญฉิม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. สังวาล สมบูรณ์
ศึกษาประสิทธิภาพการใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ กรณีศึกษา อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ อัตรา 1: 250 ซีซี มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากมีความสูงเฉลี่ยของต้น น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย และน้ำหนักผลผลิตแห้งเฉลี่ย มากที่สุด คือ 28.26 เซนติเมตร 47.15 กรัมต่อกอ (1,886 กิโลกรัมต่อไร่) และ 40.48 กรัมต่อกอ (1,619.20 กิโลกรัมต่อไร่) ตามลำดับ ส่วนจำนวนใบต่อต้น อัตราการแตกกอเฉลี่ย เส้นผ่าศูนย์กลางของหัวและความยาวราก มีค่าไม่แตกต่างทางสถิติกับกลุ่มทดลองอื่นๆ รองลงมา ได้แก่ การใช้อัตรา 1 : 500 ซีซี มีความสูงเฉลี่ย 27.16 เซนติเมตร น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย 41.15 กรัมต่อกอ (1,646 กิโลกรัมต่อไร่) และน้ำหนักผลผลิตแห้งเฉลี่ย 37.82 กรัมต่อกอ (1,512.80 กิโลกรัมต่อไร่) ในขณะที่การใช้น้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ อัตรา 1 : 2000 ซีซี มีความสูงเฉลี่ยของต้น และน้ำหนักผลผลิตแห้งเฉลี่ย น้อยที่สุดในกลุ่มของน้ำหมักชีวภาพ แต่มากกว่าการใช้น้ำธรรมดา (control) โดยมีค่าเท่ากับ 26.36 เซนติเมตร และ 31.92 กรัมต่อกอ (1,276.8 กิโลกรัมต่อไร่) แต่มีแนวโน้มให้เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยของหัวมากที่สุด คือ 1.38 เซนติเมตร ดังนั้นหากเกษตรกรต้องการใช้น้ำหมักชีวภาพในการส่งเสริมการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของหอมแดงพันธุ์ศรีสะเกษ แนะนำให้ใช้ อัตรา 1: 250 ซีซี
ผู้วิจัย ยุภา คำลือไชย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 87851 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบอาหารเพาะเชื้อเห็ดนางรมบริสุทธิ์จากพืชท้องถิ่น กับอาหารวุ้น มาตรฐาน
Comparison of Oyster Mushroom Mycelium Culture Media from Local Plants and Standard Agar Media
โดย นางสาวยุภา คำลือไชย
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการเปรียบเทียบอาหารเพาะเชื้อเห็ดนางรมบริสุทธิ์จากพืชท้องถิ่น กับอาหารวุ้นมาตรฐานโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 10 ชิ้น พบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 (อาหารเลี้ยงเชื้อจากผงวุ้น 15 กรัม) เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด จำนวนช่อดอก จำนวนดอก น้ำหนักผลผลิตสดและขนาดเส้นผ่าศูนย์ของดอกเฉลี่ยมากที่สุด คือ 1.89 เซนติเมตรต่อวัน 2 ช่อ
ต่อถุง 31.49 ดอกต่อถุง 218.02 กรัมต่อถุง และ 2.88 เซนติเมตรต่อถุง แต่หากต้องการใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนผงวุ้น พบว่า กลุ่มทดลองที่ 5 (อาหารเลี้ยงเชื้อจากแป้งข้าวโพด 150 กรัม) มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจาก ทุกดัชนีตัวชี้วัดมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง รองจากกลุ่มทดลองที่ 1และให้ผลผลิตเกรด A ไม่แตกต่างทางสถิติ จากกลุ่มทดลองทื่ 1 ในขณะที่ กลุ่มทดลองที่ 4 (อาหารเลี้ยงเชื้อจากแป้งข้าวเจ้า 150 กรัม) ไม่ควรนำมาใช้ทดแทนผงวุ้นในการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดนางรม เนื่องจากทุกดัชนีตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
คำสำคัญ อาหารเพาะเชื้อเห็ด เห็ดนางรมพืชท้องถิ่น