งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92925
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92874
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92285

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้ข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า
ผู้วิจัย สุธิดา วิชาพูล | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88841 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

การใช้ข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า

                             Using Chopped Corn Stalk to Substitute Sawdust for

                             Oyster    Mushroom (Pleurotus sajor-caju) Production                          

โดย                      นางสาวสุธิดา     วิชาพูล

ชื่อปริญญา          วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา          2556

อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

 

                  ศึกษาการใช้ลำต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)  แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุง ๆละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) พบว่า ระยะเวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดนานที่สุด คือ ในกลุ่มทดลองที่ 5  (ลำต้นข้าวโพดสับ 100%) รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 4(ขี้เลื่อย 25% ลำต้นข้าวโพดสับ 75%) กลุ่มทดลองที่ 3 (ขี้เลื่อย 50% ลำต้นข้าวโพดสับ 50%)  กลุ่มทดลองที่ 1(ขี้เลื่อย 100%) และ กลุ่มทดลองที่ 2 (ขี้เลื่อย 75% ลำต้นข้าวโพดสับ 25%) โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 28.93  22.9  22.06  21.53 และ 19.20 วัน ตามลำดับ จำนวนดอกที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 2  มีจำนวนดอกเฉลี่ย 5.69 ดอก/ถุง รองลงมาคือ  กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 4 และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจำนวนดอกเฉลี่ยที่คือ 4.28  4.18 4.16 และ 3.54 ดอก/ถุง   ตามลำดับ น้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดนางฟ้าสูงสุด คือ  กลุ่มทดลองที่ 2 ผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 46.20 กรัม/ถุง รองลงมา กลุ่มทดลองที่ 5 กลุ่มทดลองที่ 3  กลุ่มทดลองที่ 1 และ กลุ่มทดลองที่ 4 โดยมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 36.40 35.13  33.11 และ 32.26  กรัม/ถุง   ตามลำดับ ดังนั้นอัตราส่วนที่เหมาะสมของลำต้นข้าวโพดสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า คือการใช้ลำต้นข้าวโพดสับ 25% ผสม ขี้เลื่อย 75% สามารถชักนำให้มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเร็วที่สุด ให้จำนวนดอกและน้ำหนักสดเฉลี่ยมากที่สุด สามารถลดต้นทุนได้

 



การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของเกษตรกร ผู้ผลิตโคต้นน้ำ (ลูกโค)
ผู้วิจัย ผกาแก้ว ทาระเกต และคณะวิจัย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88540 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง



ประสิทธิภาพของสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้ง
ผู้วิจัย อิทธิพล สุขเกิด | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91406 ครั้ง ดาวน์โหลด 197 ครั้ง

ศึกษาประสิทธิภาพของสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้ง โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD มี 11 กลุ่มทดลอง จำนวน 5 ซํ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารจากพืชในการควบคุมมอดแป้งของสมุนไพรทั้งหมด 10 ชนิดได้แก่ เตยหอม มะกรูด พริกไทย อบเชย ขิง ตะไคร้ หนอนตายหยาก ขมิ้น ดีปลีและพริก ผลการทดลองพบว่า พริกไทยทำให้มอดแป้งตายได้ดีที่สุดคือ 100% รองลงมาคือดีปลี พริก ตะไคร้ ขิง ขมิ้น อบเชย ใบมะกรูด และเตยหอม ทำให้มอดแป้งตายได้เท่ากับ 98%, 92%, 30%, 28%, 22%, 18%, 14% และ 14% ตามลำดับ และหนอนตายหยากทำให้มอดแป้งตายน้อยที่สุดคือ 10% ดังนั้นพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมมอดแป้ง คือ พริกไทยซึ่งมีประสิทธิภาพควบคุมมอดแป้งได้ 100% และจะมีปฏิกิริยาในการตอบสนองต่อการตายของมอดแป้งในช่วงชั่วโมงที่ 96 ทำให้มีผลวัดค่าและเป็นตัวชี้วัดได้ว่าสามารถกำจัดมอดแป้งได้ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่น



ผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ
ผู้วิจัย พิลาวรรณ จันทะโคตร | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88323 ครั้ง ดาวน์โหลด 17 ครั้ง

เรื่อง                          ผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ  Effect of BA Combination with NAA on Shoot Multiplication of Musa (AAA group ) ‘Kluai Nak’ in vitro

โดย                          นางสาวพิลาวรรณ  จันทะโคตร

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา             2556

อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์

 

                    ศึกษาผลของ BA ร่วมกับ NAA ที่มีต่อ  การเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ โดยวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD แบ่งการทดลองออกเป็น 18 กลุ่มทดลอง เป็นระยะเวลา 84 วัน ผลการทดลอง พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่เร็วที่สุด คือ 14 วัน และมีการพัฒนาของชิ้นส่วนเป็นต้นกล้ากล้วยนากได้อย่างชัดเจน แต่จำนวนยอดใหม่ ความสูงของยอดใหม่ จำนวนราก ความยาวราก และเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตปานกลาง คือ 0.3 ยอด/ ชิ้นส่วน 3.75 เซนติเมตร 26 ราก/ ชิ้นส่วน 5.70 เซนติเมตรและ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่ สูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 9 mg/l ร่วมกับ NAA0.3mg/l มีจำนวนวันเกิดยอดใหม่ ปานกลาง คือ 35 วัน และสามารถเพิ่มปริมาณยอดของหน่อกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อมากที่สุด คือ 0.5 ยอด/ ชิ้นส่วน และมีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของเนื้อเยื่อ 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นหากต้องการเพิ่มปริมาณยอดของกล้วยนากในสภาพปลอดเชื้อ แนะนำให้ใช้สูตรอาหาร MS ที่เติม BA 9 mg/l ร่วมกับ NAA 0.3 mg/l แต่หากต้องการให้ชิ้นส่วนพัฒนาเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์ ควรเลือกใช้สูตร MS ที่เติม BA 1 mg/l ร่วมกับ NAA 0.1 mg/l


เข้าสู่ระบบ