งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92922
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92870
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92280

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อ การเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน
ผู้วิจัย ปิยะพร ทองจันทร์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88730 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on
Growth and Yield of Bottle Gourd White Baron
โดย นางสาวปิยะพร ทองจันทร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณทิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน โดยวางแผนการทดลอง
แบบ RCBD โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซ้่าๆ ละ 50 ต้น ขนาดแปลง กว้าง 1 เมตร ยาว 10 เมตร ดังนี้ กลุ่มทดลองที่ 1 ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 กลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลไก่ กลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลวัว กลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยหมักโบกาฉิร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลสุกร และ กลุ่มทดลองที่ 5 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักเปลือกผลไม้ ผลการทดลองพบว่าการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ให้ความสูงเฉลี่ยของต้น จ่านวนใบเฉลี่ย น้่าหนักผลผลิตเฉลี่ยต่อต้น น้่าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยต่อแปลง และเปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ยต่อแปลงมากที่สุด คือ 28.26 เซนติเมตร 12.84 ใบต่อต้น 358.76 กรัมต่อต้น 15.24 กิโลกรัมต่อแปลง และ 46.10 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ และมีความแตกต่างกันทางสถิติ นอกจากนี้มีแนวโน้มให้ เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกกะหล่่าเฉลี่ย และผลผลิตเกรด B มากที่สุดคือ 5.52 เซนติเมตร และ 48. 80 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ ส่วนผลผลิตตกเกรด อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 2 ปุ๋ยหมักโบกาฉิ ร่วมกับปุ๋ยน้่าหมักมูลไก่ มีความสูงเฉลี่ย 22.29 เซนติเมตร จ่านวนใบเฉลี่ย 10.79 ใบต่อต้น น้่าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ย 5.12 กิโลกรัมต่อแปลง เปอร์เซ็นต์การให้ดอกเฉลี่ยต่อแปลง 23.40 เปอร์เซ็นต์ และ มีแนวโน้มให้เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกกะหล่่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 3.45 เซนติเมตร
ค่าส่าคัญ กะหล่่าดอกลูกผสม ไวท์บารอน ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยโบกาฉิ ปุ๋ยน้่าหมักอินทรีย์



ผลของไคโตซานและปุ๋ยน้ำจากแหนแดง ต่อผลผลิตของผักขึ้นฉ่าย
ผู้วิจัย นริศรา ชาวนา | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88832 ครั้ง ดาวน์โหลด 95 ครั้ง

เรื่อง                             ผลของไคโตซานและปุ๋ยน้ำจากแหนแดงต่อผลผลิตของผักขึ้นฉ่าย

Effect of Chitosan and Azolla Aqueous Fertilizer on

Chinese Celery Yield

โดย                             นางสาวนริศรา   ชาวนา

ชื่อปริญญา                   วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา                   2556

อาจารย์ที่ปรึกษา          อาจารย์ ดร. สังวาล  สมบูรณ์

 

ศึกษาผลของสารไคโตซานและปุ๋ยน้ำแหนแดงต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของขึ้นฉ่ายโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block  Design (RCBD) แบ่งเป็น  4 กลุ่มทดลองๆ ละ3 ซ้ำ ได้แก่ การใช้สารไคโตซาน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตรการใช้ปุ๋ยน้ำแหนแดง อัตรา 1:100 การใช้ปุ๋ยเกร็ดเคมีสูตร 25-5-5 อัตรา 50กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตรและการใช้น้ำเปล่า หลังจากเก็บข้อมูลก่อนใช้สารและหลังใช้สารทุกๆ 7 วัน พบว่าการใช้สารไคโตซาน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีน้ำหนักผลผลิตสดต่อแปลง และต่อต้น รวมถึงจำนวนต้นต่อกอเฉลี่ยมากที่สุด คือ 7.9 กิโลกรัมต่อแปลง 320  กรัมต่อต้น และ 18.4 ต้นต่อกอ ตามลำดับ ส่วนความสูงเฉลี่ยของต้น มีค่าปานกลาง คือ 20.41 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ ปุ๋ยเกร็ดเคมีตราทุ่งเศรษฐี ในขณะที่การใช้ปุ๋ยน้ำแหนแดง มีค่าปานกลางในทุกดัชนีที่ใช้วัด และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ กับกลุ่มทดลองที่ไม่ใช้สาร

 



ผลของการใช้ไข่แดงในการเก็บรักษาน้ำเชื้อโค
ผู้วิจัย นางสาวขนิษฐา คูณตาแสง และคณะ | ปีที่พิมพ์ 2559 | อ่าน 88196 ครั้ง ดาวน์โหลด 26 ครั้ง

บทคัดย่อ

          การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ไข่แดงไก่ไข่ ไข่แดงไก่พื้นเมือง ไข่แดงนกกระทา และไข่แดงเป็ด ในสูตรสารละลายเจือจางน้ำเชื้อโค โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (RCBD) โดยมี 4 ทรีตเมนต์ คือ ไข่แดงไกไข่ ไข่แดงไก่พื้นเมือง ไข่แดงนกกระทา และไข่แดงเป็ด และมี 4 บล็อก 4 สัปดาห์ การเจือจางน้ำเชื้อใช้สูตร Egg Yolk Tris ใช้ไข่แดง 25% ของสารเจือจางน้ำเชื้อ ใช้พ่อพันธุ์โคชาร์โรเล่ส์ จำนวน 1 ตัว รีดน้ำเชื้อทุกสัปดาห์ น้ำเชื้อที่รีดได้แบ่งเป็น 4 ส่วน แล้วเจือจางด้วยสารเจือจางน้ำเชื้อ 4 ชนิด ที่มีส่วนประกอบของไข่แดงในแต่ล่ะสูตรร้อยละ 25 ของสารเจือจางน้ำเชื้อ นำน้ำเชื้อที่เจือจางไว้ไปเก็บในกระติกน้ำแข็งที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส และทำการตรวจ การเคลื่อนที่ของอสุจิ ตรวจหาอสุจิที่มีชีวิต และตรวจหาอสุจิที่ปกติทุกๆ 24 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าการเคลื่อนที่ของอสุจิ ตรวจหาอสุจิที่มีชีวิต และตรวจหาอสุจิที่ปกติ ในทุกชั่วโมงของการตรวจไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

คำสำคัญ : ไข่แดงไก่ไข, ไข่แดงไก่พื้นเมือง, ไข่แดงนกกระทา, ไข่แดงเป็ด, น้ำเชื้ออสุจิ

 

Abstract

          The purpose of this study was to investigate the effect of different types of egg yolk (layers, native hens, quails and duck) in bull semen diluter. Experimental design was conducted using Randomized Complete Block Design (RCBD) with 4 types of egg yolks as the treatments and 4 periods of week as blocks. Semen dilution was based on Egg Yolk Tris formula. With 25% of egg yolk. Semen was collected from one Charolais bull each week and divided into 4 ports for each treatment. Semen was stored in ice box at 5 . motility, viability, normality were analyzed at 24 hours interval. The result found that there was on significant different among treatment. on motility, viability and normality

Keywords: egg yolk, layers, native hens, quails and duck, sperm, diluter

 



อัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย นายอิทธิพล นามห่อ | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 87640 ครั้ง ดาวน์โหลด 12 ครั้ง

 

บทคัดย่อ

 

เรื่อง                        อัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี

                             Organic and Chemical Fertilizer Rates on Growth and Yield of KDML 105 Rice in That  Sub-District, WarinChamrap District,

                             UbonRatchathani Province

โดย                         นายอิทธิพล  นามห่อ

ชื่อปริญญา                วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เกษตรศาสตร์ )

ปีการศึกษา                2558

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดมหาญพิชิตวิทยา

ศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 พื้นที่ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 6 กลุ่มทดลอง 3ซ้ำผลการทดลองพบว่ากลุ่มทดลองที่ 3 ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 9 กิโลกรัมต่อไร่ สูตร 0-0-60 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อไร่ และสูตร 46-0-0 อัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่หลังช่วงปักดำ (50%) ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0  อัตรา7กิโลกรัมต่อไร่ ระยะกำเนิดช่อดอก (50%) ( เป็นอัตราปุ๋ยสั่งตัด )ให้ความสูงเฉลี่ยของต้นข้าว จำนวนรวงต่อกอเฉลี่ย เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ น้ำหนักผลผลิตเฉลี่ยและน้ำหนักเฉลี่ยเมล็ดดี 100 เมล็ด สูงที่สุดคือ 172 เซนติเมตร8 รวงต่อกอ10 เปอร์เซ็นต์414 กิโลกรัมต่อไร่และ2.57 กรัมตามลำดับรองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 4 ปุ๋ยคอกจากมูลวัวอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ในช่วงปักดำ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15  อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ และ 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ (อัตราเกษตรกร) (กลุ่มทดลองที่ 6) มีค่าดัชนีทุกตัวชี้วัดปานกลางเมื่อเทียบกับไม่ใส่ปุ๋ย ที่มีค่าดัชนีทุกตัวน้อยที่สุด ดังนั้นการวิเคราะห์หาค่าปริมาณคุณภาพ NPK ในพื้นที่เพาะปลูก จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการลดต้นทุนในการผลิต ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีและส่งเสริมการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 


เข้าสู่ระบบ