งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย กันตา นนทะศิลา และ พรนิภา หลวงเดช | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 91303 ครั้ง ดาวน์โหลด 71 ครั้ง
การศึกษาผลของอัตราส่วนแป้งข้าวเหนียวและแป้งมันสำปะหลังที่แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ Control 4:1 2.5:1 และ 1:1 ที่มีต่อ ความแข็ง ความใส และสีของแป้งสุก และการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อขนมต้มแช่เยือกแข็ง พบว่า การเพิ่มปริมาณแป้งมันสำปะหลังทำให้ค่า Hardness สูงขึ้น ตรงกันข้าม การเพิ่มปริมาณแป้งมันสำปะหลังทำให้ค่าความโปร่งใส (% Transparency) ของเนื้อแป้งลดลง ผลการวัดค่าสี พบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณแป้งมันสำปะหลัง ค่าสี L* และ b* ของแป้งสุก มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P≤0.05) โดยที่ค่าสี a* มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัจจัยที่มีผลต่อการทดสอบทางประสาทสัมผัส พบว่า อัตราส่วนของแป้ง ไม่มีผลต่อกลิ่น การแช่และไม่แช่เยือกแข็งไม่มีผลต่อสีและเนื้อสัมผัสของขนมต้มแช่เยือกแข็ง แต่อัตราส่วนของแป้งและการแช่และไม่แช่เยือกแข็ง มีผลร่วมต่อทุกคุณลักษณะของขนมต้มแช่เยือกแข็ง
ผู้วิจัย ณัฐพงษ์ ชินทวัน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88912 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพด
พันธุ์เทียนลาย 52
Study of Split Chemical Fertilizer Application on Growth and Yield of Maize ( Zea mays cv.Tian-lai 52 )
โดย นายณัฐพงษ์ ชินทวัน
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์โดม หาญพิชิตวิทยา
ศึกษาผลของการแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52
มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำกรมวิชาการเกษตรและอัตราปุ๋ยสั่งตัดต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 ทำการทดลองที่แปลงปลูกพืชทดลอง
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง 3 ซํ้า พบว่าการใส่ปุ๋ยอัตรา16-4-8 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ ซึ่งเป็นอัตราปุ๋ยสั่งตัด (แบ่งใส่ 4 ครั้ง) มีความสูงเฉลี่ยของต้นมากที่สุดคือ 35 61 81 114 และ 139 เซนติเมตร เมื่อทำการวัดความสูงที่ 14 21 35 และ 42 วันหลังงอก ตามลำดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05) ส่วนผลผลิตนํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกของการใส่ปุ๋ยอัตรา 30.5-7.5-7.5 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ (แบ่งใส่ 4ครั้ง) ให้ผลผลิตนํ้าหนักฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ยสูงสุดคือ 1060 กิโลกรัมต่อไร่ และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05) ในขณะที่ผลผลิตนํ้าหนักฝักสดปอกเปลือก การใส่ปุ๋ยอัตรา 16-4-8 กก.(N-P2O5-K2O) ต่อไร่ (แบ่งใส่ 2 ครั้ง)ให้ผลผลิตสูงสุด 682 กิโลกรัมต่อไร่และมีความแตกต่างทางสถิติ (P = 0.05)
ผู้วิจัย ธัญญา ยมมา และ พักตร์จิรา วงศ์ทอง | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89300 ครั้ง ดาวน์โหลด 31 ครั้ง
แนวโน้ม 5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้ามะพร้าวแห้งเพิ่มขึ้น เนื่องจากวัตถุดิบมะพร้าวที่ผลิตในประเทศมีแนวโน้มลดลง ผู้ผลิตจึงต้องนำเข้าเนื้อมะพร้าวแช่แข็งจากต่างประเทศ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการผลิตน้ำกะทิคืนรูปจากองค์ประกอบที่มีอยู่ ได้แก่ น้ำ น้ำมันมะพร้าว โปรตีน และน้ำตาล โดยศึกษาผลของโปรตีน 2 ชนิดคือโปรตีนนมและโปรตีนถั่วเหลือง รูปแบบการแปรรูป 3 ระดับ คือLow Temperature Long Time (LTLT, 63๐C นาน 30นาที) High Temperature Shot Time (HTST, 72๐C นาน 15 วินาที)และ Sterilize 121 ๐C นาน 15 นาที และอิมัลซิไฟเออร์คือ PolyoxyethyleneSorbitanMonostearate(Tween 60) จากนั้นทำการวิเคราะห์ด้านกายภาพ ได้แก่ การวัดค่าสี L*a*b* ค่าความหนืดและการแยกชั้นครีม พบว่า ตัวอย่างที่มีการเติมโปรตีนนมมีค่าสี L* และ b*มากกว่าตัวอย่างควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) แต่ค่าสี b*น้อยกว่าตัวอย่างที่เติมโปรตีนถั่วเหลืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ตัวอย่างที่เติมโปรตีนนมและโปรตีนถั่วเหลืองมีค่าความหนืดน้อยกว่าตัวอย่างควบคุม คือ 89.29 89.71 และ 136.24 cPตามลำดับ ตัวอย่างที่เติมโปรตีนถั่วเหลืองเกิดการแยกชั้นครีมช้ากว่าโปรตีนนม การให้ความร้อนอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าสี L* ลดลง และค่า b*เพิ่มขึ้นในทุกๆตัวอย่าง เนื่องจากในกะทิคืนรูปมีส่วนผสมของน้ำตาลเมื่อได้รับความร้อนจึงเกิดปฏิกิริยาเมลลาร์ดและโปรตีนถั่วเหลืองมีสีครีม อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อค่าความหนืด และอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของตัวอย่างที่เติมโปรตีนนมกับโปรตีนถั่วเหลืองมีผลทำให้เกิดการแยกชั้นครีมเร็ว การเติมอิมัลซิไฟเออร์Tween 60 เป็นอิมัลซิไฟเออร์ที่มีค่า HLB =14.9 เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำ พบว่าตัวอย่างที่เติม Tween 60 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าสี L* แต่ค่าสี b* เพิ่มขึ้นเมื่อให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 121 ๐C นาน 15 นาที ตัวอย่างที่เติม Tween 60 อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นไม่มีผลต่อค่าความหนืด ส่วนตัวอย่างที่เติม Tween 60 เกิดการแยกชั้นครีมช้ากว่าตัวอย่างที่ไม่เติม Tween 60
ผู้วิจัย ศิรินันท์ ศิริยา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 90673 ครั้ง ดาวน์โหลด 101 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ฟางข้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
Using Rice Straw to Substitute Sawdust for Spilt Gill Mushroom
(Schizophyllum commune) Production
โดย นางสาวศิรินันท์ ศิริยา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ฟางข้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้า ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% (Control) กลุ่มทดลองที่
2 ขี้เลื่อย 75% ฟางข้าว 25% กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% ฟางข้าว 50% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% ฟางข้าว 75% และ กลุ่มทดลองที่ 5 ฟางข้าว 100% พบว่าการใช้ฟางข้าว 100% เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทนขี้เลื่อยเป็นอย่างดี เนื่องจาก มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเร็วที่สุด มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 15.1 วัน 79 ดอกต่อถุง และ 20.5 กรัม ตามลาดับ รองลงมา ได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 25% ฟางข้าว 75% มีระยะการบ่มตัวของเชื้อ และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง คือ 16.1 วัน และ 18.7 กรัม ตามลาดับ แต่ให้จานวนดอกเฉลี่ยไม่แตกต่างทางสถิติกับ ฟางข้าว 100% คือมีจานวนดอกเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 78.5 ดอกต่อถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% เป็นวัสดุเพาะไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดแครง เนื่องจาก ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดช้าที่สุด (21 วัน) และมีปริมาณดอกเห็ดเฉลี่ยและน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 57.1 ดอก/ถุง และ 15.2 กรัม/ถุง และเมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนของฟางข้าวในวัสดุเพาะ พบว่าการเพิ่มฟางข้าวให้มากขึ้นส่งผลให้มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกเร็วขึ้น จานวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นตามลาดับ
คาสาคัญ เห็ดแครง ฟางข้าว และผลผลิต
สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938