งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92919
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92864
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92276

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011
ผู้วิจัย นายนพรัตน์ อมรสิน | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 92864 ครั้ง ดาวน์โหลด 570 ครั้ง

จากการศึกษาอิทธิพลการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยคอก 5 ชนิด ได้แก่ มูลเป็ด มูลไก่ มูลสุกร มูลโค และมูลกระบือต่อผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ทองเฉลิม 5011 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบว่าการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกชนิดใด จะสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ทองเฉลิม 5011 โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design : CRD แบ่งเป็น 6 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 3 ซํ้า ซํ้าละ 6 กระถาง คือ การใช้ ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลเป็ด อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม /ไร่ ร่วมมูลสุกร อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลโค อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ การใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลกระบือ อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการ 60-70 วัน ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการทดลองปรากฏว่า กลุ่มทดลองที่ 3 ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ร่วมกับมูลไก่ อัตรา 1,000 กิโลกรัม/ไร่ เมื่อการเก็บดอกดาวเรืองทั้งหมด 3 ครั้ง พบว่าให้เปอร์เซ็นต์การออกดอกเฉลี่ยมากที่สุด โดยแบ่งเกรดดอกได้ดังนี้ คือ ดอกเกรด A 31.00 ดอกต่อซํ้า ดอกเกรด B 30.00 ดอกต่อซํ้า และ ดอกเกรด C 23.66 ดอกต่อซํ้า และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ



การทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลโค มูลกระบือ และมูลสุกร
ผู้วิจัย สมพงษ์ วงศ์ชัยภูมิ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88254 ครั้ง ดาวน์โหลด 169 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลโค มูลกระบือ และมูลสุกร
Production of Rice Straw Mushroom Spawn from Cow Buffalo and Pig Manures
โดย นายสมพงษ์ วงศ์ชัยภูมิ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลโค มูลกระบือ และมูลสุกร เพื่อเปรียบเทียบกับเชื้อทางการค้า โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) มี 4 กลุ่มทดลองๆละ 3 ซ้าๆ ละ 5 ตะกร้า ผลการทดลอง พบว่า การเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดฟาง และระยะเวลาที่ใช้ในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนออกดอก ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 11.13 – 12.27 วัน และ 6 – 7 วัน ตามลาดับ ส่วนจานวนดอกเฉลี่ยที่ออกในแต่ละตะกร้า พบว่า เชื้อเห็ดจากมูลกระบือ มีจานวนดอกมากที่สุดคือ 16.66 ดอกต่อตะกร้า รองลงมาคือ เชื้อเห็ดทางการค้า เชื้อเห็ดจากมูลโค และ เชื้อเห็ดจากมูลสุกร โดยมีจานวนดอกเฉลี่ย 14.40 10.06 และ 9.86 ดอกต่อตะกร้า ตามลาดับ และมีความแตกต่างทางสถิติ (p=0.05) ในขณะที่น้าหนักผลผลิตของเห็ดฟางเฉลี่ยต่อ
ตะกร้า พบว่า เชื้อเห็ดทางการค้าให้น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยมากที่สุด คือ 272.07 กรัมต่อตะกร้า รองลงมา คือ เชื้อเห็ดจากมูลกระบือ เชื้อเห็ดจากมูลโค และเชื้อเห็ดจากมูลสุกร 213.60 141.07 และ 108.47 กรัมต่อตะกร้า แสดงให้เห็นว่าเห็ดฟางสามารถเจริญเติบโตได้จากเชื้อเห็ดจากมูลโค เชื้อเห็ดจากมูลกระบือ และเชื้อเห็ดจากมูลสุกรได้ดี แต่ขนาดของดอกเล็ก และทาให้ได้น้าหนักผลผลิตเฉลี่ยน้อยลง ส่วนเชื้อเห็ดทางการค้า (ชุดควบคุม) ขนาดดอกสม่าเสมอและได้น้าหนักดีกว่า หากต้องการใช้มูลสัตว์ทดแทน เชื้อเห็ดทางการค้า แนะนาให้ใช้การทาเชื้อเห็ดฟางจากมูลกระบือ เนื่องจากมีจานวนดอกเฉลี่ยมากที่สุด และมีน้าหนักผลผลิตเฉลี่ย ไม่แตกต่างจากเชื้อเห็ดทางการค้า
คาสาคัญ เห็ดฟาง เชื้อเห็ดทางการค้า มูลโค กระบือ สุกร


แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41



การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต ของผักกวางตุ้ง
ผู้วิจัย อัครพล สมดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89412 ครั้ง ดาวน์โหลด 60 ครั้ง

การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

                        ของผักกวางตุ้ง

                              Study on Efficiency of Bio-Fertilizer on Growth and Yield of

                              Chinese Cabbage

 โดย                      นายอัครพล สมดี

ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา            2556

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ประภัสสร น้อยทรง

               การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) จำนวน 4 กลุ่มทดลอง 3 ซ้ำ ประกอบด้วย การใช้สารสกัดชีวภาพจากเศษปลา สารสกัดชีวภาพจากหอยเชอรี่ สารสกัดชีวภาพจากเศษผัก และใช้น้ำธรรมดา เป็นระยะเวลา 50 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งมากที่สุด และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (P ≤ 0.01) โดยมีความสูงเฉลี่ย 39.20 เซนติเมตร ความกว้างใบเฉลี่ย 13.40 เซนติเมตร ความยาวใบเฉลี่ย 31.30 เซนติเมตร และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย 20.43 กิโลกรัม รองลงมา คือ การใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ และการใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษผักตามลำดับ ในขณะที่การใช้น้ำธรรมดา ส่งผลต่อการเจริญเติบโตน้อยที่สุด 



ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52
ผู้วิจัย ขจรศักดิ์ บัวขาว | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89439 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง

ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดพันธุ์เทียนลาย 52 โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง จานวน 3 ซ้า พบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 50% ตามคาแนะนาของกรมวิชาการเกษตรคือ15.25-3.75-3.75 กก. (N-P2O5-K2O) ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 500 กก./ไร่ แบ่งใส่ 3ครั้ง (กลุ่มทดลองที่ 4) มีความสูงเฉลี่ยมากที่สุดคือ 33, 56, 73, 101 และ 132 เซนติเมตร เมื่อวัดความสูงที่ 14, 21, 28, 35 และ 42 วันหลังงอก ตามลาดับ น้าหนักผลผลิตฝักสดปอกเปลือกเฉลี่ย 694 กิโลกรัมต่อไร่ และ และมีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสาคัญ (P=0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยสาหรับ น้าหนักผลผลิตฝักทั้งเปลือกพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีอัตรา 50% ตามคาแนะนาของกรมวิชาการเกษตรคือ15.25-3.75-3.75 กก. (N-P2O5-K2O) ร่วมกับปุ๋ยมูลไก่ อัตรา 500 กก./ไร่ แบ่งใส่ 3ครั้ง (กลุ่มทดลองที่ 4) มีแนวโน้มให้น้าหนักผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ยสูงที่สุดคือ 1130 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ไม่มีความแตกต่างทางสถิติดังกลุ่มทดลองต่างๆ


เข้าสู่ระบบ