รายละเอียดงานวิจัย

  1. การทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด
  2. Dormancy Breaking of Traveller\'s Palm Seed
  3. งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์
  4. 2556
  5. งานวิจัยปริญญาตรี
  6. ศักดิ์สิทธิ์ แปลงศรี
  7. สุจิตรา สืบนุการณ์
  8. เรื่อง                         การทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด

             Dormancy Breaking of Traveller\'s Palm Seed

    โดย                                      นายศักดิ์สิทธิ์ แปลงศรี

    ชื่อปริญญา            วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

    ปีการศึกษา             2556

    อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์

     

                        ศึกษาวิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัด โดยวางแผนการทดลองแบบCompletely Randomized Design (CRD) ) ประกอบด้วย 8 กลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองละ 4 ซ้ำๆละ 25 เมล็ด  เป็นระยะเวลา 26 วัน ผลการทดลอง พบว่าการแช่เมล็ดในกรดซัลฟิวริก 98เปอร์เซ็นต์ นาน 4 นาที มีประสิทธิภาพมากที่สุด เมล็ดมีอัตราในการงอกเร็วที่สุด 7 วัน มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงที่สุด 75 เปอร์เซ็นต์และมีความสูงเฉลี่ยของต้นกล้า (รวมราก) ปานกลาง ในขณะที่เปอร์เซ็นต์เมล็ดแข็ง และเมล็ดตาย มีค่าน้อยที่สุด รองลงมา ได้แก่ การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน การแช่เมล็ดในน้ำอุ่น50 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที และ การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 วัน ตามลำดับ ดังนั้น วิธีการทำลายการพักตัวของเมล็ดกล้วยพัดที่เหมาะสมที่สุด และเป็นอันตรายน้อยที่สุด สำหรับแนะนำให้ผู้ที่สนใจ หรือ เกษตรกรใช้ คือ การแช่เมล็ดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 7 วัน

     

  9. การพักตัว เมล็ดกล้วยพัด Dormancy Breaking
  10. ดาวน์โหลด


  11.     








เข้าสู่ระบบ