งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย อัครพล สมดี | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89416 ครั้ง ดาวน์โหลด 60 ครั้ง
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต
ของผักกวางตุ้ง
Study on Efficiency of Bio-Fertilizer on Growth and Yield of
Chinese Cabbage
โดย นายอัครพล สมดี
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประภัสสร น้อยทรง
การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้ง โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) จำนวน 4 กลุ่มทดลอง 3 ซ้ำ ประกอบด้วย การใช้สารสกัดชีวภาพจากเศษปลา สารสกัดชีวภาพจากหอยเชอรี่ สารสกัดชีวภาพจากเศษผัก และใช้น้ำธรรมดา เป็นระยะเวลา 50 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งมากที่สุด และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (P ≤ 0.01) โดยมีความสูงเฉลี่ย 39.20 เซนติเมตร ความกว้างใบเฉลี่ย 13.40 เซนติเมตร ความยาวใบเฉลี่ย 31.30 เซนติเมตร และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ย 20.43 กิโลกรัม รองลงมา คือ การใช้น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ และการใช้น้ำหมักชีวภาพจากเศษผักตามลำดับ ในขณะที่การใช้น้ำธรรมดา ส่งผลต่อการเจริญเติบโตน้อยที่สุด
ผู้วิจัย ผกาแก้ว ทาระเกต และคณะวิจัย | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88539 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง
ผู้วิจัย นางสาวพรสวรรค์ แปลงศรี | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89177 ครั้ง ดาวน์โหลด 29 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่องอิทธิพลของ Heiterและน้ำมะนาวสำเร็จรูป ต่อการยืดอายุการปักแจกัน
ของเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ
Effect of Heiter and Lemonade on Vase Life of White
Chrysanthemum (cv. Yuko)
โดยนางสาวพรสวรรค์ แปลงศรี
ชื่อปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2558
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.สุจิตรา สืบนุการณ์
ศึกษาอิทธิพลของ Heiterและน้ำมะนาวสำเร็จรูป ต่อการยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ โดยวางแผนการทดลองแบบ6x 5Factorial in Completely Randomized Design เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำประปา) รวมทั้งหมด 31 กลุ่มทดลอง แต่ละกลุ่มทดลองมี 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ก้าน เป็นเวลา 28 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลาย Heiterความเข้มข้น 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 5 mlมีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานที่สุด คือ 23.40 วัน และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดปานกลาง คือ -18.69% รองลงมาได้แก่ การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 15 ml มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 22.80 วัน และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด เท่ากับ -12.42% มีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01) นอกจากนี้จากการทดลองพบว่า การใช้สารละลาย Heiter 0.7-0.9% ร่วมกับ น้ำมะนาวสำเร็จรูป ในความเข้มข้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่า pH ของสารละลายมีความเป็นด่างมากขึ้น อายุการปักแจกันมีแนวโน้มสั้นลง และดอกเบญจมาศมีอัตราการดูดน้ำผิดปกติ ดังนั้นหากต้องการยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ ควรใช้ความเข้มข้นของสารละลาย Heiterเท่ากับ 0.1% และไม่เกิน 0.3% ร่วมกับการแปรผันความเข้มข้นของน้ำมะนาวสำเร็จรูประหว่าง 5-20 ml และควรปรับ pH ของสารละลายให้มีสภาพเป็นกรด จึงทำให้สามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานกว่าชุดควบคุม (น้ำประปา) ที่มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 15.60 วัน
ผู้วิจัย ณรงค์ฤทธิ์ อุ่นใจ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88528 ครั้ง ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์ 852 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง Effect of Seed Priming with Salicylic Acid on Seed Germination and Seedling Growth of Waxy Corn (Zea may cv.Big White 852 Hybrid) Under Drought Stress
โดย นายณรงค์ฤทธิ์ อุ่นใจ
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. วิรญา ครองยุติ
ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของ ต้นกล้าข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์ 852 ภายใต้สภาวะแห้งแล้ง การทดลองนี้แบ่งเป็น 2 การทดลองคือ การทดลองที่ 1) ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในกรดซาลิไซลิกต่อการงอกของเมล็ดและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะที่ความเข้มข้น 0 0.25 0.5 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ พบว่าเมล็ดที่แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีผลทาให้เมล็ดข้าวโพดมีการงอกและความยาวรากของเมล็ดหลังเพาะสูงที่สุด และการทดลองที่ 2) ศึกษาผลของการแช่เมล็ดในสารละลายกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้า โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่ 1 แช่ในน้ากลั่นแล้วได้รับน้าตามปกติ กลุ่มที่ 2 แช่น้ากลั่นแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง และกลุ่มที่ 3 แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกแล้วอยู่ในสภาวะแล้ง นาไปปลูกในเรือนเพาะชา โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับน้าปกติ กลุ่มที่ 2 และ 3 ทาให้อยู่ในสภาวะแล้งโดยงดรดน้าเป็นเวลา 7 วัน เมื่อปลูกครบ 2 สัปดาห์พบว่าเมล็ดที่แช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีความยาวรากสด น้าหนักสดราก และน้าหนักแห้งรากเพิ่มขึ้น และมีอัตราส่วนรากต่อลาต้นสดเท่ากับ 0.48 จากผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเมล็ดที่ผ่านการแช่ในสารละลายกรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.75 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทาให้ต้นกล้าข้าวโพดมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด
คาสาคัญ : กรดซาลิไซลิก ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมบิ๊กไวท์ 852 สภาวะแห้งแล้ง