งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | อ่าน | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด
ชื่อเรื่อง | ประเภทงานวิจัย | ปีที่พิมพ์ | ดาวน์โหลด | รายละเอียด |
---|---|---|---|---|
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง | งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร | 2555 | ||
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 | ||
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ | งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ | 2556 |
ผู้วิจัย ธวัชชัย อารีย์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89285 ครั้ง ดาวน์โหลด 159 ครั้ง
ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตมะเขือเทศพันธุ์สีดา โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Desing, CRD) ผลการทดลองพบว่า การใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยของมะเขือเทศพันธุ์สีดามากที่สุด คือ 56.13 ซม. ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว: ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้ความสูงเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 39.73 ซม. ในขณะที่การใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยสูงสุดคือ 7.58 ดอก และการใช้วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนดอกต่อช่อเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 5.91ดอก สำหรับจำนวนผลต่อช่อ พบว่า การใช้ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:2:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้จำนวนผลต่อช่อเฉลี่ยสูงที่สุด 5.91 ผล ส่วนการใช้วัสดุปลูก ขุยมะพร้าว:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:1:1 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 94.67 กรัม ในขณะที่การใช้ วัสดุปลูก แกลบดำ:ดินร่วน:แกลบดิบ อัตรา 1:3:2 โดยปริมาตร มีแนวโน้มให้นํ้าหนักผลผลิตรวมเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ 57.67 กรัม
ผู้วิจัย ชินวัฒน์ ชูรัตน์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88645 ครั้ง ดาวน์โหลด 16 ครั้ง
ผู้วิจัย ฐิติรัตน์ โกกะพันธ์ | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88643 ครั้ง ดาวน์โหลด 51 ครั้ง
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อ
การเจริญเติบโตและผลผลิตของมะระจีน
Comparison of Chemical and Organic Fertilizer Efficiency on Growth and Yield of Bitter Melon (Momordica charantia Linn.)
โดย นางสาวฐิติรัตน์ โกกะพันธ์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะระจีน โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD จานวน 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้าๆ ละ 20 ต้น โดยใช้ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ร่วมกับมูลโค มูลไก่ มูลสุกร และ มูลค้างคาว ผลการทดลองพบว่า ในกลุ่มทดลองที่ 3 คือ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลไก่ (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ มีความสูงเฉลี่ยเท่ากับ 201.09 เซนติเมตร จานวนดอกที่ติดผลเท่ากับ 40.07 ดอกต่อต้น จานวนผลผลิตรวมเฉลี่ยเท่ากับ 37.34 ผลต่อต้น น้าหนักสดเฉลี่ยเท่ากับ 23.3 กิโลกรัมต่อต้น ความยาวผลสดเฉลี่ยคือ 22.21 เซนติเมตร และมีแนวโน้มให้ผลผลิตเกรด A มากที่สุดคือ 40.20% รองลงมาคือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลสุกร (อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่) และที่ไม่แนะนาให้ใช้คือ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 (อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับมูลค้างคาว (อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่) เนื่องจาก ให้ความสูงเฉลี่ย จานวนดอกที่ติดผลเฉลี่ย จานวนผลผลิตรวมเฉลี่ย น้าหนักสดเฉลี่ย ความยาวผลสดเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 120.53 เซนติเมตร 35.67 ดอกต่อต้น 31.33 ผลต่อต้น 17.80 กิโลกรัมต่อต้น และ 16.65 เซนติเมตร ตามลาดับ และมีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p = 0.01)
คาสาคัญ มะระจีน ปุ๋ยเคมี มูลโค มูลไก่ มูลสุกร มูลค้างคาว
ผู้วิจัย สิทธิพร ศิริไทย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88213 ครั้ง ดาวน์โหลด 14 ครั้ง
ศึกษาผลของกรดซาลิไซลิกต่อการเจริญเติบโตและลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของข้าวเจ้าหอมนิล ในระยะต้นกล้าภายใต้สภาวะแห้งแล้ง แบ่งเป็น 6 กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับน้าปกติ กลุ่มแล้ง และกลุ่มที่ได้รับการพ่นสารละลายกรดซาลิไซลิก ความเข้มข้น 0.25, 0.5, 0.75 และ 1 มิลลิโมลาร์ ทาการเพาะเมล็ดและปลูกในกระถางบรรจุดินเป็นเวลา 14 วัน งดให้น้า 7 วัน ผลการทดลองพบว่าสภาวะแล้งส่งผลให้การเจริญเติบโตของต้นกล้าข้าวหอมนิลลดลง ยกเว้นความยาวราก ส่วนกรดซาลิไซลิกช่วยให้ต้นกล้าข้าวหอมนิลมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีขึ้นโดยทาให้ความยาวราก น้าหนักสดรากและลาต้น และน้าหนักแห้งลาต้นเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีผลต่อลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการของต้นกล้าข้าวหอมนิล ทั้งนี้จากการทดลองสามารถสรุป ได้ว่ากรดซาลิไซลิกความเข้มข้น 0.25 มิลลิโมลาร์ มีแนวโน้มทาให้ต้นกล้าข้าวหอมนิลมีความสามารถในการทนแล้งได้ดีที่สุด