งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92921
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92869
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92278

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อย ในการเพาะเห็ดนางฟ้า
ผู้วิจัย กันยา คิละลาย | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 88849 ครั้ง ดาวน์โหลด 50 ครั้ง

บทคัดย่อ

เรื่อง                       การใช้หญ้ากินนีเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้า
                              Using Guinea Grass (Panicum maximum) to Substitute Sawdust for

                              Phoenix Oyster  Mushroom (Pleurotus sajor-caju) Production

โดย                        นางสาวกันยา     คิละลาย

ชื่อปริญญา             วิทยาศาสตรบัณฑิต(เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา             2556

อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์ ดร. เสกสรร  ชินวัง

                 ศึกษาการใช้หญ้ากินนีทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้าโดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 5 ถุง ๆละ 320 กรัม (น้ำหนักแห้ง) พบว่า ระยะเวลาในการบ่มเชื้อของเห็ดสั้นที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% หญ้ากินนี 50%รองลงมากลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75% หญ้ากินนี25% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% หญ้ากินนี 75%  กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% และกลุ่มทดลองที่ 5 หญ้ากินนี 100% โดยมีระยะเวลาบ่มเชื้อเห็ด คือ 19.1 19.8 19.8 20.9 และ 23.5 วัน ตามลำดับ จำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยที่ออกต่อถุงมากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือ          กลุ่มทดลองที่ 2  กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 4  และกลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยที่คือ 6.6 2.9 2.0 1.9 และ1.3 ดอก/ถุง ตามลำดับ สำหรับน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยของเห็ดนางฟ้ามากที่สุด คือ กลุ่มทดลองที่ 1 รองลงมาคือ กลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 3 กลุ่มทดลองที่ 4 และ กลุ่มทดลองที่ 5 โดยมีน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยที่ 36 34.3 30.2 23.5 และ18.1 กรัม/ถุง ตามลำดับ ดังนั้นการใช้หญ้ากินนีทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดนางฟ้าอัตราส่วนของหญ้ากินนีในวัสดุเพาะที่เหมาะสมคือ ขี้เลื่อย 75%  หญ้ากินนี 25% เนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยรองจากการใช้ขี้เลื่อย 100% และระยะเวลาในการบ่มเชื้อปานกลาง

 

คำสำคัญ   เห็ดนางฟ้า หญ้ากินนี ขี้เลื่อยยางพารา ผลผลิต

 

 

 



ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแบ่งพันธุ์ลับแล
ผู้วิจัย พิสิฐ ศรีวะวงค์ | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89294 ครั้ง ดาวน์โหลด 60 ครั้ง

ประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต

หอมแบ่งพันธุ์ลับแล

Efficiency of Bio-compost Liquid Produced from Golden Apple Snail

on Multiply Onion Production

โดย    นายพิสิฐ  ศรีวะวงค์

ชื่อปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา2556

อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ประภัสสร น้อยทรง

 

ศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตหอมแบ่งพันธุ์ลับแล ที่ระยะเวลา 45วัน โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design(RCBD)แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลอง ประกอบด้วยกลุ่มทดลองที่ 1 ไม่ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ (control)กลุ่มทดลองที่ 2 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:250กลุ่มทดลองที่ 3 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:500กลุ่มทดลองที่ 4 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:1,000 และกลุ่มทดลองที่ 5 ใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในอัตราส่วน 1:2,000พบว่า หอมแบ่งพันธุ์ลับแลที่ปลูกร่วมกับการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่อัตรา 1:1,000 มีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านความสูง ความยาวราก การแตกกอ และน้ำหนักผลผลิตมากที่สุด คือ 34.4 ซม.7.26 ซม.4.26 กอ และ2.16กก.ตามลำดับรองลงมาคือ การใช้น้ำหมักชีวภาพอัตรา 1:500 1:2,000และ 1:250 ในขณะที่การไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพ มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ำที่สุด

 



การใช้ฟางข้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
ผู้วิจัย ศิรินันท์ ศิริยา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 90644 ครั้ง ดาวน์โหลด 101 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง การใช้ฟางข้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง
Using Rice Straw to Substitute Sawdust for Spilt Gill Mushroom
(Schizophyllum commune) Production
โดย นางสาวศิรินันท์ ศิริยา
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2557
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. เสกสรร ชินวัง
ศึกษาการใช้ฟางข้าวเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดแครง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ( RCBD ) แบ่งการทดลองออกเป็น 5 กลุ่มทดลอง ๆ ละ 3 ซ้า ๆ ละ 5 ถุง ๆ ละ 320 กรัม โดยให้ กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100% (Control) กลุ่มทดลองที่
2 ขี้เลื่อย 75% ฟางข้าว 25% กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50% ฟางข้าว 50% กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25% ฟางข้าว 75% และ กลุ่มทดลองที่ 5 ฟางข้าว 100% พบว่าการใช้ฟางข้าว 100% เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมมากที่สุดและสามารถใช้ทดแทนขี้เลื่อยเป็นอย่างดี เนื่องจาก มีระยะเวลาในการบ่มเชื้อเร็วที่สุด มีจานวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 15.1 วัน 79 ดอกต่อถุง และ 20.5 กรัม ตามลาดับ รองลงมา ได้แก่ การใช้ขี้เลื่อย 25% ฟางข้าว 75% มีระยะการบ่มตัวของเชื้อ และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยปานกลาง คือ 16.1 วัน และ 18.7 กรัม ตามลาดับ แต่ให้จานวนดอกเฉลี่ยไม่แตกต่างทางสถิติกับ ฟางข้าว 100% คือมีจานวนดอกเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 78.5 ดอกต่อถุง ในขณะที่การใช้ขี้เลื่อย 100% เป็นวัสดุเพาะไม่แนะนาให้ใช้ในการเพาะเห็ดแครง เนื่องจาก ระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดช้าที่สุด (21 วัน) และมีปริมาณดอกเห็ดเฉลี่ยและน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 57.1 ดอก/ถุง และ 15.2 กรัม/ถุง และเมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วนของฟางข้าวในวัสดุเพาะ พบว่าการเพิ่มฟางข้าวให้มากขึ้นส่งผลให้มีระยะเวลาในการบ่มตัวของเชื้อเห็ดก่อนการออกดอกเร็วขึ้น จานวนดอกเห็ดเฉลี่ย และน้าหนักผลผลิตสดเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นตามลาดับ
คาสาคัญ เห็ดแครง ฟางข้าว และผลผลิต


สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938



การใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว
ผู้วิจัย เกศศิริ วงษ์ลา | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 87947 ครั้ง ดาวน์โหลด 8 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

 

เรื่อง                การใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว

                      Using Eucalyptus Branch to Substitute Sawdust for Lentinus

                      Squarrosulus Production

โดย                 นางสาวเกศศิริ  วงษ์ลา

ชื่อปริญญา         วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา         2557

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.เสกสรร  ชินวัง

                     

    ศึกษาการใช้กิ่งยูคาลิปตัสสับเพื่อทดแทนขี้เลื่อยในการเพาะเห็ดขอนขาว โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 5

กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำๆ ละ 1 ถุง  โดยให้กลุ่มทดลองที่ 1 ขี้เลื่อย 100 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 2 ขี้เลื่อย 75   เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 3 ขี้เลื่อย 50   เปอร์เซ็นต์

กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์กลุ่มทดลองที่ 4 ขี้เลื่อย 25   เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 75 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มทดลองที่ 5 กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลอง พบว่า อัตราส่วน

ที่เหมาะสม คือ ขี้เลื่อย 75 เปอร์เซ็นต์ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 25 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีจำนวนดอกเห็ดเฉลี่ยและน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 4.23 ดอกต่อถุง และ 50.33 กรัมต่อถุง ตามลำดับ

แต่มีระยะเวลาในการบ่มของเชื้อปานกลาง (23.66) วัน รองลงมาได้แก่ ขี้เลื่อย 50 เปอร์เซ็นต์

กิ่งยูคาลิปตัสสับ 50 เปอร์เซ็นต์ และอัตราส่วนที่ไม่แนะนำให้ใช้ คือ กิ่งยูคาลิปตัสสับ 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากให้จำนวนดอกเห็ดและน้ำหนักผลผลิตสดต่ำที่สุด นอกจากนี้เมื่อศึกษาผลกระทบของอัตราส่วน กิ่งยูคาลิปตัสสับ ที่เพิ่มสูงขึ้นในวัสดุเพาะ พบว่า จำนวนดอกเห็ด และน้ำหนักผลผลิตสดเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงตามอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น

 

คำสำคัญ เห็ดขอนขาว กิ่งยูคาลิปตัสสับ ขี้เลื่อยยางพารา ผลผลิต


เข้าสู่ระบบ